Page 82 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ประจำปี 2558
P. 82

รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี ๒๕๕๘



                   (๘)  การไม่ก�าหนดให้มีโทษประหารชีวิตไว้ในกฎหมาย ในกรณีที่จะมีการตรากฎหมายขึ้นใหม่

                   (๙)  การแก้ไขกฎหมายยกเลิกโทษประหารชีวิตทุกฐานความผิดเมื่อสังคมมีความเข้าใจและความพร้อมในการยกเลิกโทษประหาร
              ชีวิตต่อไป เพื่อให้สอดคล้องกับสิทธิในการด�ารงชีวิตอันเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน เป็นต้น
              อย่างไรก็ตาม กระทรวงยุติธรรมได้พิจารณาข้อเสนอแนะฯ ของ กสม. แล้วมีความเห็นและเสนอต่อส�านักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
              ว่ากระทรวงยุติธรรมควรด�าเนินการใน ๓ ด้าน คือ (๑) การศึกษาวิจัย ควรมีการด�าเนินกระบวนการศึกษาวิจัยที่ชัดเจนเป็นระบบ
              เพื่อทบทวนกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับโทษประหารชีวิตทั้งหมดว่ามีความเหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบันหรือไม่ รวมทั้ง
              ผลของโทษประหารชีวิตในแง่ของการป้องปรามยับยั้งการกระท�าความผิดนั้นมีมากน้อยเพียงใด (๒) การจัดท�าประชามติ ควรด�าเนินการ
              จัดท�าประชามติ หลังจากที่มีการสร้างความรับรู้ ความเข้าใจให้แก่ประชาชนอย่างชัดเจนเกี่ยวกับประเด็นสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้อง
              กับโทษประหารชีวิตและผลการวิจัยข้างต้น และ (๓) การเตรียมความพร้อมเเละ การพัฒนามาตรการทดแทน กรณีมีการยกเลิก
              โทษประหารชีวิตสืบเนื่องจากการด�าเนินการด้านการศึกษาวิจัยและด้านการจัดท�าประชามติ กระทรวงยุติธรรมควรมีการด�าเนิน
              การจัดท�าแผนปฏิบัติการ โดยประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน/องค์กรที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมความพร้อมในการยกเลิก
              โทษประหารชีวิต เช่น การทบทวนบทบัญญัติของกฎหมายในปัจจุบันว่ามีฐานความผิดใดที่มีโทษประหารชีวิตเพียงอย่างเดียว
              และด�าเนินการแก้ไขกฎหมายเพื่อให้ทางเลือกเพิ่มเติมนอกเหนือจากโทษประหารชีวิต เป็นการจ�าคุกตลอดชีวิต เป็นต้น การพัฒนามาตรการ
              ทดแทนกรณีมีการยกเลิกโทษประหารชีวิต เช่น เรือนจ�าต้องมีความมั่นคง ปลอดภัย เพียงพอที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนได้
              มาตรการทางเลือกในการลงโทษ เช่น การควบคุมผู้กระท�าความผิดด้วยอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ กลไกการบ�าบัด ฟื้นฟู และพัฒนาพฤตินิสัย
              ผู้ต้องขังระหว่างอยู่ในเรือนจ�าที่มีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่สังคมได้ว่า ผู้พ้นโทษที่ผ่านกระบวนการดังกล่าวจะไม่หวนกลับไป
              กระท�าผิดซ�้าอีก รวมทั้งส�ารวจทัศนคติและความรู้สึกของประชาชนเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง เกี่ยวกับการด�าเนินการที่เกี่ยวข้องกับ
              โทษประหารชีวิต และความเชื่อมั่นต่อการด�าเนินภารกิจของกระทรวงยุติธรรมในการสร้างสังคมแห่งความปลอดภัย ๗๒



               ๓    สถานการณ์ในปี ๒๕๕๘                                                                               บทที่ ๓ สถานการณ์สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง

             สถานการณ์โทษประหารในปี ๒๕๕๘ พิจารณาจากสถิตินักโทษ
             ประหารชีวิต ความเห็นของสาธารณชนทั่วไป ค�าพิพากษาของคดี
             ที่อยู่ในความสนใจของประชาชน การออกกฎหมายที่มีการก�าหนด
             โทษประหารชีวิต และการก�าหนดข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการเกี่ยว
             กับโทษประหารชีวิตในแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ ๓ (พ.ศ.
             ๒๕๕๗ - ๒๕๖๑)

             ๓.๑  สถิตินักโทษประหารชีวิต

             จ�านวนนักโทษเด็ดขาดประหารชีวิตเป็นชาย จ�านวน ๘๑ คน เป็นหญิง
             จ�านวน ๕ คน รวมจ�านวนนักโทษประหารชีวิตในปีนี้มีจ�านวนทั้งสิ้น
             ๘๖ คน แต่ในทางปฏิบัติไม่มีผู้ที่ถูกลงโทษประหารชีวิตแต่อย่างใด


             ๓.๒  ความเห็นของสาธารณชนทั่วไปเมื่อเกิดคดีอาญาร้ายแรง
             ความคิดของคนในสังคมไทยแม้ยังมีความแตกต่างเป็นสองแนวทางว่า ควรยกเลิกโทษประหารชีวิตในแนวทางหนึ่ง และอีกแนวทางหนึ่ง
             ให้ยังคงมีโทษประหารชีวิตต่อไป แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่สะเทือนขวัญต่อความรู้สึกของประชาชนความคิดที่ต้องการ
             ให้โทษประหารยังคงมีอยู่ต่อไปก็มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นและในบางกรณีก็มีการรณรงค์ให้มีการเพิ่มโทษประหารชีวิตในบางฐานความผิด ๗๓










              ๗๒   หนังสือกระทรวงยุติธรรม ด่วนมาก ที่ ยธ ๐๙๐๔/๓๐๙๓ ลงวันที่  ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๘ เรื่อง ข้อเสนอแนะนโยบายและการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับโทษประหารชีวิต
              ๗๓   ดูรายละเอียดได้ที่ <http://women.kapook.com/view92695.html> (เข้าดู ณ วันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๕๙)

                                                                                                           52
   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87