Page 79 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ประจำปี 2558
P. 79

รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี ๒๕๕๘



        ๓.๒.๓  โทษประหารชีวิต


          ๑    หลักการด้านสิทธิมนุษยชน

        สิทธิในชีวิต/สิทธิของการมีชีวิตอยู่ได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ
        แห่งราชอาณาจักรไทยหลายฉบับ รวมทั้งมาตรฐานและพันธกรณีระหว่างประเทศ
        ด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
        พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๒ ก�าหนดว่า บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิต
        และร่างกาย  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗
        มาตรา ๔ ก�าหนดว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค
        บรรดาที่ชนชาวไทยเคยได้รับความคุ้มครองตามประเพณีการปกครอง
        ประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
        และตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีอยู่แล้ว  ย่อมได้รับ
        การคุ้มครอง ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ ๓ ก�าหนดว่า คนทุกคน
        มีสิทธิที่จะมีชีวิต  และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและ
        สิทธิทางการเมือง ข้อ ๖ ข้อย่อยที่ ๒ ก�าหนดให้ประเทศที่ยังมิได้ยกเลิก
        โทษประหารชีวิตอาจลงโทษประหารชีวิตได้เฉพาะคดีอุกฉกรรจ์ที่สุด
        (The most serious crime) ตามกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะกระท�าความผิด
        ข้อย่อยที่ ๔ บุคคลใดต้องค�าพิพากษาประหารชีวิต ย่อมมีสิทธิขออภัยโทษ
        หรือลดหย่อนผ่อนโทษตามค�าพิพากษา และข้อย่อยที่ ๕ บุคคลอายุต�่ากว่า
        สิบแปดปีที่กระท�าความผิดจะถูกพิพากษาประหารชีวิตไม่ได้ และจะด�าเนินการ
        ประหารชีวิตสตรีขณะมีครรภ์ไม่ได้


          ๒    สถานการณ์ทั่วไป


        สถานการณ์โทษประหารชีวิตในประเทศไทยสามารถพิจารณาจากความคิดเห็นของสังคมต่อโทษประหารชีวิต  กฎหมายที่ก�าหนดโทษประหาร
        ชีวิต แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และสถิติโทษประหารชีวิตในประเทศไทย ดังนี้


        ๒.๑  ความคิดเห็นของสังคมต่อโทษประหารชีวิต

        การประหารชีวิตผู้กระท�าผิดในอดีตมักเกิดจากแนวคิดของวัตถุประสงค์ในการลงโทษที่เน้นการแก้แค้นทดแทนเป็นส�าคัญ อันส่งผลให้
        การประหารชีวิตมีรูปแบบที่โหดร้ายทารุณ เนื่องจากต้องการให้ผู้กระท�าผิดได้รับโทษที่สาสมกับโทษทัณฑ์ที่ได้กระท�าไว้กับเหยื่ออาชญากรรม
        หากแต่เมื่อสังคมพัฒนามากขึ้นแนวคิดของการใช้โทษประหารชีวิตเพื่อแก้แค้นทดแทนได้ลดน้อยลง โดยการใช้โทษประหารชีวิตมีวัตถุประสงค์
        ที่ส�าคัญนอกเหนือจากการแก้แค้นทดแทน คือ การป้องปรามสังคมไม่ให้เกิดอาชญากรรม การข่มขวัญยับยั้งผู้ที่คิดจะกระท�าผิด ซึ่งเป็น
        ทั้งการข่มขวัญยับยั้งเฉพาะบุคคล และการข่มขวัญยับยั้งทั่วไป ท�าให้สังคมเกิดความเกรงกลัวต่อการกระท�าผิด หรือการประกอบอาชญากรรม
        นอกจากนี้ วัตถุประสงค์ที่ส�าคัญอีกประการหนึ่งของการใช้โทษประหารชีวิต คือ การตัดโอกาสผู้กระท�าผิดออกจากสังคม อันเป็น
        การท�าให้อาชญากรหรือผู้กระท�าผิดไม่มีโอกาสที่จะกระท�าผิดในสังคมได้อีกต่อไป แต่ปัจจุบันแนวคิดในการปฏิบัติต่อผู้กระท�าผิดที่ส�าคัญ คือ
        การแก้ไขฟื้นฟูผู้กระท�าผิด เนื่องจากมีความเชื่อต่อสาเหตุในการกระท�าผิดตามหลักปฏิฐานนิยม (Positive School) ที่เชื่อว่าทุกคนเกิดมาเปรียบ
        เสมือนผ้าขาวที่บริสุทธิ์หากแต่ต้องกระท�าผิดเพราะสภาพแวดล้อมบีบบังคับให้ต้องกระท�าผิด อันน�าไปสู่แนวทางในการปฏิบัติต่อผู้กระท�าผิด
        ที่เน้นการแก้ไขฟื้นฟู เพราะเห็นว่าผู้ที่กระท�าผิดไม่ได้เป็นผู้ที่เป็นอาชญากรโดยก�าเนิด หากแต่ต้องเป็นอาชญากรหรือกระท�าผิดเนื่องจาก
        การถูกสภาพแวดล้อมรอบตัวที่บีบบังคับ หรือหล่อหลอมให้ต้องประกอบอาชญากรรม ดังนั้น ผู้กระท�าผิดจึงควรได้รับโอกาสในการบ�าบัด
        แก้ไขฟื้นฟู เพื่อให้สามารถกลับเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าต่อสังคมต่อไป ๖๒




        ๖๒   รายงานการศึกษา เรื่อง โทษประหารชีวิตในประเทศไทย ส�านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ๒๕๕๗ น. ๑๕๒ – ๑๕๓

         49
   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84