Page 87 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ประจำปี 2558
P. 87
รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี ๒๕๕๘
๔ การประเมินสถานการณ์
เมื่อพิจารณาสถานการณ์ในรอบปีที่ผ่านมา เห็นได้ว่ารัฐบาลยังมี
การด�าเนินการบังคับใช้กฎหมายที่จ�ากัดสิทธิและเสรีภาพในการ
แสดงความเห็นทางการเมืองอย่างเข้มข้น หลายกรณีพบว่าเป็นการ
บังคับใช้กฎหมายในลักษณะป้องปรามก่อนที่จะมีการกระท�าผิด
ในบางกรณี เจ้าหน้าที่ของรัฐได้เชื่อมโยงการตรวจสอบการกระท�า
ของเจ้าหน้าที่รัฐที่ประชาชนสงสัยว่าอาจมีการทุจริตคอร์รัปชัน
กับการเคลื่อนไหวทางการเมือง ดังกรณีกิจกรรม “นั่งรถไฟไป
อุทยานราชภักดิ์ ส่องแสงหากลโกง” ซึ่งจัดโดยกลุ่มประชาธิปไตย
ศึกษา ในการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์เรียกร้องให้ตรวจสอบ
ข้อสงสัยเกี่ยวกับการทุจริตในการก่อสร้างโครงการ และถูกแจ้ง
ข้อหาผู้จัดกิจกรรมดังกล่าว จ�านวน ๖ คน ฐานขัดค�าสั่งของ
คสช. ร่วมกันชุมนุมทางการเมืองเกิน ๕ คนขึ้นไป นอกจากนี้
การจ�ากัดเสรีภาพในการแสดงความเห็นและการแสดงออก
ยังกระทบถึงการแสดงออกของบุคคลและชุมชนที่ได้รับ
ความเดือดร้อนจากนโยบาย มาตรการและโครงการต่าง ๆ
ทั้งของรัฐและของเอกชน เช่น การห้ามการประชุมของชาวบ้าน
เรื่องที่ดิน การห้ามการประชุม เรื่อง “ผลกระทบจากโรงไฟฟ้า
ถ่านหิน ต่อชุมชนและทรัพยากรธรรมชาติในเขตพะลึน” จัดโดย
มูลนิธิสิทธิมนุษยชนแห่งแดนมอญ (Human Rights Foundation
of Mon Land – HURFOM) และมูลนิธิฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ
(FER/TERRA) และการจับกุมการชุมนุมของกลุ่มผู้ค้าลอตเตอรี่
รายย่อย อ�าเภอวังสะพุง จังหวัดเลย โดยเจ้าหน้าที่อ้างว่าขัดค�าสั่ง
คสช. (กรณีจัดกิจกรรม) หรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการ คณะกรรมการประจ�ากติกา ICCPR ให้ความส�าคัญต่อเสรีภาพ
ชุมนุมสาธารณะ (กรณีชุมนุม) แต่ในบางกรณี ยังมีการชุมนุมของ ในการแสดงความเห็นและการแสดงออกว่ามีความจ�าเป็นต่อความ
บางกลุ่มเกิดขึ้นได้บ้าง อาทิ การชุมนุมของกลุ่มเกษตรกรและการ โปร่งใสและการตรวจสอบได้ของรัฐ และจ�าเป็นต่อการประกัน
ชุมนุมชาวประมงหลังมีมาตรการห้ามเรือท�าประมงผิดกฎหมาย สิทธิต่าง ๆ ในกติกา ICCPR และได้วางแนวทางการรอนสิทธิ
จึงเห็นได้ว่า หลายกรณี มีการจ�ากัดสิทธิและเสรีภาพในการ ในเสรีภาพในการแสดงความเห็นและการแสดงออกว่า การรอนสิทธิ
แสดงออกค่อนข้างกว้างขวาง และเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่ใช้ ด้วยเหตุแห่งความมั่นคงของชาติหรือความสงบเรียบร้อยของ
ดุลพินิจที่มีผลให้เกิดการปฏิบัติที่แตกต่างกันในเรื่องต่าง ๆ สาธารณะ (ordre public) หรือด้วยเหตุแห่งสาธารณสุขและ
ศีลธรรม นั้น รัฐจ�าเป็นต้องด�าเนินการด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่ง
และจ�าเป็นต่อวัตถุประสงค์อันชอบธรรม การจ�ากัดสิทธิด้วยเหตุ
ดังกล่าวต้องเป็นไปตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด (strict requirements)
ได้สัดส่วน มีความจ�าเพาะของกรณีที่จะส่งผลกระทบต่อเหตุเช่นว่า
(in specific and individualized fashion the precise
nature of the threat) มีความเชื่อมโยงโดยตรงและส่งผล
ชัดเจนจากการใช้สิทธินั้น (a direct and immediate
connectionbetween the expression and the threat)
และต้องมั่นใจว่าไม่เป็นการจ�ากัดข้อมูลสู่สาธารณะของสื่อ
นักวิชาการนักสิ่งแวดล้อม หรือนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นไป
เพื่อประโยชน์ของสาธารณะอย่างชอบธรรม
57