Page 77 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ประจำปี 2558
P. 77

รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี ๒๕๕๘



          กรณีผู้ต้องหาเจ็บป่วยมีการให้การรักษาเบื้องต้นด้วยยาสามัญ ในส่วนของการตรวจเยี่ยมเรือนจ�าพบว่าเรือนจ�าส่วนใหญ่มีสภาพแออัด
                                                                                        ๕๔
          เรือนจ�าบางแห่งมีสภาพเก่าและคับแคบ ไม่สามารถแยกผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีออกจากนักโทษเด็ดขาด ด้านสภาพความแออัดอาจ
          พิจารณาได้จากจ�านวนผู้ต้องขังในปัจจุบันที่อยู่ในความควบคุมซึ่งมีประมาณ ๒๕๗,๘๔๗ คน เป็นชาย ๒๒๐,๖๓๙ คน เป็นหญิง ๓๗,๒๐๘
          คน  ในขณะที่ความจุมาตรฐานของเรือนจ�าทั่วประเทศมี ๑๐๙,๔๓๐  คน  ท�าให้มีผู้ต้องขังเกินความจุอยู่จ�านวน ๑๔๘,๔๑๗ คน ๕๖
                                                           ๕๕


          ๓   สถานการณ์ปี ๒๕๕๘

                                                             ๕๗
        กสม. ได้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการทรมานบุคคล จ�านวน ๗ ค�าร้อง   ในจ�านวนนี้เป็นเรื่องที่กระท�าโดยเจ้าหน้าที่ในพื้นที่จังหวัด
        ชายแดนภาคใต้ ๕ เรื่อง และโดยเจ้าหน้าที่ต�ารวจ จ�านวน ๒ เรื่อง ปี ๒๕๕๗ กสม. ได้รับค�าร้องเรียนเรื่องนี้ ๑๐ ค�าร้อง เป็นค�าร้องที่เกิดขึ้น
                                                             ๕๘
        ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้จ�านวน ๕ เรื่อง ที่เกิดขึ้นในพื้นที่อื่น ๕ เรื่อง  และระหว่างปี ๒๕๔๗ – ๒๕๕๖ (ณ วันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๖)
        ได้รับค�าร้องเรียน จ�านวน ๘๘ ค�าร้อง เป็นค�าร้องที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จ�านวน ๖๘ ค�าร้อง เป็นค�าร้องที่เกิดขึ้นในพื้นที่อื่น
                 ๕๙
        ๒๐ ค�าร้อง  จากการพิจารณาเรื่องร้องเรียน พบว่ามีการกล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่ทหาร และเจ้าหน้าที่ต�ารวจ กระท�าทรมานและมีการ
        ปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่ไร้มนุษยธรรมต่อผู้ต้องสงสัยหรือผู้ต้องขังในขั้นตอนต่าง ๆ เช่น ขั้นตอนการปิดล้อม ตรวจค้น การจับกุมตัวและ
                                                    ๖๐
        การเชิญตัว การควบคุมตัว และการสอบสวนหรือการซักถาม  เป็นต้น
        นอกจากนี้ ในด้านการติดตามค้นหาบุคคลที่ถูกบังคับให้สูญหาย เช่น
        กรณีนายพอละจี (บิลลี่) รักจงเจริญ และนายสมชาย นีละไพจิตร
        ซึ่งสูญหายไปโดยไม่ทราบชะตากรรมและอาจมีความเกี่ยวข้อง
        กับการใช้อ�านาจของเจ้าหน้าที่รัฐ ก็ยังไม่มีความคืบหน้าที่ชัดเจน
        แต่อย่างใด อนึ่ง เมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๙ คณะรัฐมนตรี
        ได้มีมติให้ประเทศไทยให้สัตยาบันอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครอง
        บุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ (ICPPED) และมีมติ
        เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมาน
        และการบังคับบุคคลให้สูญหาย พ.ศ. ....  โดยร่างฉบับนี้จะต้อง
        น�าเข้าเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อพิจารณา
        และให้การรับรอง ก่อนที่จะประกาศใช้เป็นกฎหมาย โดยร่าง
        พระราชบัญญัติฉบับนี้ เป็นความพยายามในการจัดท�าร่าง และผลักดันการออกกฎหมาย โดยการริเริ่มของภาคประชาชน ภาคประชาสังคม
        นักวิชาการ และรัฐบาล (โดยกรมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม) ตั้งแต่ปี ๒๕๕๗ โดยก�าหนดให้มีการร่างกฎหมายเฉพาะที่ก�าหนด
        ให้ทั้งการทรมานและการอุ้มหายเป็นความผิดทางอาญาที่มีบทลงโทษที่เหมาะสมต่อความร้ายแรงของการกระท�าความผิด โดยการทรมาน
        และการบังคับให้สูญหายเป็นการกระท�าโดยเจ้าหน้าที่รัฐหรือบุคคลอื่นที่ยุยง ยินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจโดยเจ้าหน้าที่รัฐ


        ๕๔  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, เอกสารถอดบทเรียนโครงการตรวจเยี่ยมสถานที่เสี่ยงต่อการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน สถานีต�ารวจและเรือนจ�า ประจ�าปีงบประมาณ ๒๕๕๔ – ๒๕๕๙
        หน้า ๑๕ – ๑๖
        ๕๕  สถิติผู้ต้องขังราชทัณฑ์ทั่วประเทศ, กรมราชทัณฑ์, ข้อมูล ณ วันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
        ๕๖  ส่วนมาตรการควบคุมผู้ต้องขัง ส�านักทัณฑวิทยา กรมราชทัณฑ์ ข้อมูล ณ วันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๒ อ้างถึงใน ธานี วรภัทร์, วิกฤติราชทัณฑ์ วิกฤตกระบวนการยุติธรรมทางอาญา, ๒๕๕๔, หน้า ๑๕
        ๕๗  ส�านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, ระบบสารสนเทศเพื่อการรวบรวมและบริการสารสนเทศด้านสิทธิมนุษยชน: ฐานข้อมูลเรื่องร้องเรียน ดูรายละเอียดได้ที่ <http://hris.nhrc.
        or.th/> (เข้าดู ณ วันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๙)
        ๕๘  เรื่องเดียวกัน
        ๕๙  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม
        ๑ ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗, เรื่อง การอนุวัติกฎหมายไทยตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือที่ย�่ายีศักดิ์ศรี, หน้า
        ๑๐๕
        ๖๐  ๑) ค�าร้องที่ ๑๔/๒๕๕๒ ตามค�าร้องสรุปว่า เมื่อวันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๕๒ เจ้าหน้าที่ทหารและต�ารวจ สถานีต�ารวจภูธรหนองจิก ได้ตรวจค้นบ้านหลังหนึ่งในต�าบลโปโละปุโย อ�าเภอหนองจิก
        จังหวัดปัตตานี และจับกุมผู้เสียหายกับพวกรวมสามคนไปควบคุมและสอบสวนที่ค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี เจ้าหน้าที่สอบสวนได้บังคับให้ดื่มน�้าคล้ายน�้ามัน ท�าให้เกิดอาการปวดท้อง
        อย่างรุนแรง ต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลศูนย์ยะลา ต่อมา ถูกสอบสวนอีกครั้งตั้งแต่เวลา ๑๗.๐๐ ถึง ๐๓.๐ น. รวมเป็นเวลา ๑๐ ชั่วโมง โดยไม่ได้พัก
          ๒) ค�าร้องที่ ๒๑๔/๒๕๕๓ ตามค�าร้องสรุปว่า เมื่อวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๕๓ ผู้เสียหายถูกเจ้าหน้าที่ทหารจับและควบคุมตัวไปไว้ที่ค่ายอิงคยุทธบริหาร ได้ถูกเจ้าหน้าที่ท�าการสอบสวนในห้องที่
        มีอุณหภูมิเย็น และเจ้าหน้าที่ได้ใช้กระดาษม้วนแล้วฟาดที่ศีรษะ มีรอยฟกช�้าที่บริเวณข้อมือ และถูกเจ้าหน้าที่ข่มขู่ว่าหากไม่รับสารภาพว่าเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความไม่สงบจะถูกท�าร้ายร่างกาย
          ๓) ค�าร้องที่ ๒๓๖/๒๕๕๘ ตามค�าร้องสรุปว่า ผู้เสียหายผู้ต้องขังคดีระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และได้ร้องเรียนต่อ กสม. ผ่านเรือนจ�าซึ่งตนถูกคุมขัง
        เมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๕๘ ว่า ก่อนถูกด�าเนินคดี ถูกเจ้าหน้าที่ต�ารวจจับกุมตัวในที่สาธารณะ และถูกน�าตัวไปยังสถานที่แห่งหนึ่งและถูกซ้อมทรมานร่างกายโดยการใช้เครื่องช็อตไฟฟ้าตาม
        ร่างกาย ใช้ถุงด�าคลุมศีรษะและรัดที่ล�าคอเพื่อให้ผู้เสียหายขาดอากาศหายใจ รวมทั้งถูกบังคับข่มขู่ให้ผู้เสียหายท�าแผนประกอบค�ารับสารภาพในความผิดที่ถูกจับกุม
          ๔) ค�าร้องที่ ๔๖๑/๒๕๕๘ ตามค�าร้องสรุปว่า เมื่อวันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๕ ผู้เสียหายถูกเจ้าหน้าที่ต�ารวจจับกุมตัวเพื่อด�าเนินคดีเกี่ยวกับยาเสพติด ซึ่งในการจับกุมผู้เสียหายไม่ได้ขัดขืนแต่
        อย่างใด อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ชุดจับกุมได้น�าตัวผู้เสียหายไปยังที่ท�าการ และร่วมกันท�าร้ายร่างกายผู้เสียหายด้วยการเตะบริเวณล�าตัวหลายครั้ง และใช้ไฟฟ้าช็อตตามร่างกาย
         47
   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82