Page 81 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ประจำปี 2558
P. 81

รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี ๒๕๕๘



            สถิตินักโทษเด็ดขาดประหารชีวิต

                ปี            ชาย        หญิง         รวม       บังคับโทษ             หมายเหตุ
              ๒๕๔๗           ๒๖           ๓           ๒๙            -
              ๒๕๔๘           ๓๘           ๓           ๔๑            -
              ๒๕๔๙           ๗๒           ๓           ๗๕            -
              ๒๕๕๐           ๓๙           ๒           ๔๑            -
              ๒๕๕๑           ๔๕           ๓           ๔๘            -
              ๒๕๕๒           ๕๘           ๙           ๖๗           ๒          ได้รับบังคับโทษโดยการประหารชีวิต
              ๒๕๕๓           ๔๗           ๒           ๔๙            -
              ๒๕๕๔           ๒๘           ๑           ๒๙            -
              ๒๕๕๕           ๓๒           ๒           ๓๔            -
              ๒๕๕๖          ๑๓๕          ๑๒          ๑๔๗            -
              ๒๕๕๗          ๑๒๖          ๑๐          ๑๓๖            -
              ๒๕๕๘           ๘๑           ๕           ๘๖            -
              รวม            ๗๒๗          ๕๕          ๗๘๒           ๒

        ที่มา: กรมราชทัณฑ์ (มีนาคม ๒๕๕๙)


            จากสถิติข้างต้น พบว่ามีนักโทษเด็ดขาดถูกประหารชีวิตเพียง ๒ ราย ซึ่งคดีถูกยกฎีกาและถูกประหารชีวิตด้วยการฉีดยา เมื่อวันที่
        ๒๔  สิงหาคม ๒๕๕๒   ส่วนนักโทษประหารชีวิตอื่นแม้ศาลพิพากษาลงโทษประหารชีวิตก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติไม่ได้ถูกลงโทษประหารชีวิต
                       ๗๐

        ๒.๖  ความเห็นของ กสม. ต่อโทษประหารชีวิต
        กสม. ได้จัดท�ารายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย เรื่อง โทษประหารชีวิตและ
        หลักสิทธิมนุษยชน  เสนอต่อคณะรัฐมนตรี กระทรวงยุติธรรม กระทรวงสาธารณสุข และส�านักงานต�ารวจแห่งชาติ โดยมีข้อเสนอแนะ
                      ๗๑
        ดังต่อไปนี้

              (๑)  การรณรงค์ให้ความรู้และความเข้าใจแก่สังคมไทยเกี่ยวกับโทษประหารชีวิตว่าไม่ได้ช่วยลดหรือป้องปรามการก่ออาชญากรรม
        ในทุกกรณี

              (๒)  การปรับปรุงระบบยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ถูกต้อง ใช้ระยะเวลาด�าเนินการแต่ละคดีไม่นานนัก
              (๓)  การพิจารณาเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับฉบับที่สองของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
        ซึ่งมุ่งยกเลิกโทษประหารชีวิตภายในปี  ๒๕๖๑

              (๔)  การลงมติ “เห็นชอบ”การสนับสนุนข้อมติเกี่ยวกับการพักการใช้โทษประหารชีวิตในการประชุมสหประชาชาติที่เกี่ยวข้อง

              (๕)  การเร่งปฏิรูประบบเรือนจ�าให้สามารถรองรับนักโทษประหารชีวิต หากมีการเปลี่ยนโทษประหารชีวิตเป็นโทษจ�าคุกตลอดชีวิต

              (๖)  การมีมาตรการและเงื่อนไขทดแทนเมื่อมีการยกเลิกโทษประหารชีวิต ซึ่งมาตรการทดแทนดังกล่าวอาจเป็นการเปลี่ยนโทษประหาร
        ชีวิตเป็นโทษจ�าคุกตลอดชีวิตโดยให้มีระยะเวลาการจ�าคุกไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าถึงสามสิบปี และนักโทษเหล่านี้มีสิทธิยื่นถวายฎีกาขอพระราชทาน
        อภัยโทษได้ตามกลไกที่กฎหมายก�าหนด
              (๗)  การพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาบางมาตราที่มีโทษประหารชีวิตบางฐานความผิดก่อน โดยเฉพาะฐานความ
        ผิดที่ผู้กระท�าความผิดไม่ได้มุ่งประสงค์ต่อชีวิตของผู้เสียหายหรือไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตของบุคคลอื่น เช่น มาตรา ๑๔๘ มาตรา ๑๔๙
        มาตรา ๒๐๑ มาตรา ๒๐๒ มาตรา ๒๑๘ มาตรา ๒๒๐ มาตรา ๒๒๒ มาตรา ๓๑๓ และมาตรา ๓๑๔ เป็นต้น



        ๗๐   ผู้จัดการ (ออนไลน์),  ๓๐ กันยายน ๒๕๕๗ ดูรายละเอียดได้ที่ <www.manager.co.th/crime/ViewNews.aspx?NewsID= 952000107174>  (เข้าดู ณ วันที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๕๙)
        ๗๑   รายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย ที่ ๑๒๙/๒๕๕๘ เรื่อง โทษประหารชีวิตและหลักสิทธิมนุษยชน ลงวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๘


         51
   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86