Page 74 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ประจำปี 2558
P. 74

รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี ๒๕๕๘





              สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อ ๗ ดังนี้  ในการอธิบายขั้นตอน
              การคุ้มครองการกระท�าที่ต้องห้ามกระท�าตามข้อ ๗ รัฐภาคีควรให้
              ข้อมูลข่าวสารในรายละเอียดเกี่ยวกับมาตรการปกป้อง (Safeguard)
              เพื่อคุ้มครองเป็นพิเศษแก่ผู้ที่ด้อยโอกาส กฎ/ระเบียบสอบสวน
              อย่างเป็นระบบ ค�าสั่ง วิธีการ แนวปฏิบัติ การจัดการสถานคุมขัง
              และการปฏิบัติต่อผู้ถูกจับกุม  คุมขัง  หรือจ�าคุก  เป็นวิธีที่มี
              ประสิทธิภาพในการป้องกันการทรมาน การปฏิบัติที่ทารุณ การประกัน
              การคุ้มครองผู้ถูกคุมขังอย่างมีประสิทธิภาพ ควรคุมขังผู้ถูกคุมขัง
              ในสถานที่ที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการว่าเป็นสถานคุมขัง
              และแจ้งให้ผู้นั้นทราบถึงชื่อและสถานที่ใช้คุมขัง ชื่อเจ้าหน้าที่ที่
              รับผิดชอบ มีการบันทึกในทะเบียนที่ให้ผู้เกี่ยวข้อง รวมถึงญาติ
             และเพื่อนของผู้ถูกคุมขัง สามารถเข้าถึงได้ มีการบันทึกเวลาและสถานที่สอบสวนและชื่อของคนทุกคนในการสอบสวนนั้น
             อันสามารถน�ามาใช้ในกระบวนการพิจารณาคดีและการบริหารจัดการ ไม่ควรคุมขังในสถานที่ไม่สามารถติดต่อกับผู้อื่นได้
             รัฐภาคีควรประกันว่าสถานที่คุมขังใด ๆ ก็ตามจะไม่มีเครื่องมือที่ใช้การทรมานที่เป็นการลงโทษหรือการปฏิบัติที่ทารุณ
             จ�าเป็นต้องพร้อมให้แพทย์และทนายความเข้าถึงผู้ถูกคุมขังได้และเป็นประจ�าภายใต้การควบคุมอย่างเหมาะสมขณะที่ด�าเนินการ
                                                   ๔๕
             สอบสวน และควรให้สมาชิกของครอบครัวเข้าถึงได้  และข้อ ๑๔ การได้รับการสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าศาล
             จะมีค�าพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระท�าความผิด และหากเป็นกรณีที่ยังไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหาใด ๆ แก่บุคคลที่เจ้าพนักงาน
             รักษาความสงบเรียบร้อยเรียกตัวเพื่อมาสอบถามข้อมูลหรือให้ถ้อยค�าที่เป็นประโยชน์ และใช้อ�านาจควบคุมตัวได้ไม่เกินเจ็ดวัน
             บุคคลดังกล่าวควรที่จะได้รับการปฏิบัติและคุ้มครองจากเจ้าหน้าที่รัฐเป็นอย่างยิ่ง


             อนึ่ง ประเด็นความเหลื่อมล�้าในกระบวนการยุติธรรมยังคงเป็นปัญหาที่มีอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกับบุคคลที่มีฐานะ   บทที่ ๓ สถานการณ์สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
             ทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน จะมีโอกาสในการเข้าถึงความยุติธรรมที่อาจจะแตกต่างกัน เช่น ในเรื่องการประกันตัว การจ้าง
             ทนายความ การได้รับโทษปรับ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ท�าให้รัฐมีความพยายามที่จะลดปัญหาที่เกิดจากความเหลื่อมล�้า
             และให้ความช่วยเหลือบุคคลที่มีฐานะทางเศรษฐกิจที่ไม่ดี และยังให้ความส�าคัญกับบุคคลที่ได้รับความเสียหายจาก
             ความบกพร่องของกระบวนการยุติธรรมให้ได้รับการเยียวยาความเสียหาย เพื่อให้บุคคลทุกคนสามารถเข้าถึงกระบวนการ
             ยุติธรรมและความยุติธรรมได้อย่างเท่าเทียมกัน โดยในปี ๒๕๕๘ รัฐได้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย
             และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จ�าเลยในคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๔๔ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเยียวยาผู้เสียหายจากการกระท�าความผิด
             อาญาและจ�าเลยที่ได้รับความเสียหายจากความผิดพลาดในกระบวนการยุติธรรม โดยมีการแก้ไขเพื่อให้คณะอนุกรรมการ
             ในระดับจังหวัดสามารถพิจารณาอนุมัติค�าขอได้ รวมทั้งขอให้สถานีต�ารวจเป็นจุดด�าเนินการพิจารณาให้ความช่วยเหลือเยียวยา
             แก่ประชาชน และได้จัดตั้งศูนย์ยุติธรรมชุมชนในทุกต�าบล และยังได้มีการปรับปรุงกฎหมายต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนสามารถ
             ที่จะเข้าถึงกระบวนความยุติธรรม มีความสะดวก รวดเร็ว ได้แก่ พระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๕๘ เพื่อให้การช่วย
             เหลือทางด้านการเงินแก่ประชาชนเพื่อใช้จ่ายในการจ้างทนาย การประกันตัว การได้รับการเยียวยาความเสียหายที่เกิดจาก
             การกระท�าผิดอาญาหรือการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน และพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
             (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งก�าหนดให้น�าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้กับการขอปล่อยตัวชั่วคราวได้ และมีการร่างพระราชบัญญัติ
             แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่..) พ.ศ. .... การบังคับโทษปรับและการรอการลงโทษซึ่งเพิ่มกรณีการรอ
             การลงโทษมาใช้กับโทษปรับ เพื่อให้ประชาชนที่มีฐานะยากจนไม่ต้องถูกกักขังแทนค่าปรับซึ่งเป็นการกระทบสิทธิของประชาชน
             มากเกินกว่าวัตถุประสงค์ของการลงโทษปรับ จะเห็นได้ว่ารัฐมีความพยายามที่จะช่วยเหลือประชาชนในการเข้าถึงความยุติธรรม
             และลดความเหลื่อมล�้าในกระบวนการยุติธรรม



              ๔๕   Human Rights Committee, General Comment 20, Article ๗ (Forty-fourth session, 1992), Compilation of General Comments and General Recommendations
              Adopted by Human Rights Treaty Bodies, U.N. Doc. HRI/GEN/1/Rev.1 at 30 (1994).




                                                                                                           44
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79