Page 75 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ประจำปี 2558
P. 75

รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี ๒๕๕๘



        ๓.๒.๒  การซ้อมทรมาน และการสูญหายโดยถูกบังคับ



          ๑    หลักการด้านสิทธิมนุษยชน

        สิทธิที่จะไม่ถูกกระท�าทรมานเป็นสิทธิและเสรีภาพในชีวิต
        และร่างกายซึ่งได้รับการรับรองตามหลักการในรัฐธรรมนูญ
        แห่งราชอาณาจักรไทย รวมทั้งพันธกรณีระหว่างประเทศด้าน
        สิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี  โดยรัฐธรรมนูญแห่ง
        ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๒ ได้ก�าหนด
        หลักการว่าบุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย และ
        บุคคลมีสิทธิที่จะไม่ถูกกระท�าทรมาน กติกา ICCPR ข้อ ๗ รับรองว่า
        บุคคลจะถูกทรมาน  หรือได้รับการปฏิบัติ  หรือการลงโทษ
        ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือต�่าช้ามิได้ และข้อ ๑๐ ข้อย่อยที่ ๑
        ก�าหนดให้บุคคลทั้งปวงที่ถูกลิดรอนเสรีภาพต้องได้รับการปฏิบัติ
        ด้วยความมีมนุษยธรรม และเคารพในศักดิ์ศรีแต่ก�าเนิดของ
        ความเป็นมนุษย์ อนุสัญญา CAT ข้อ ๒ ก�าหนดว่า ห้ามไม่ให้มีการ
        ทรมานในรัฐภาคีในทุกสถานการณ์ ข้อ ๔ ก�าหนดว่ารัฐต้องด�าเนิน
        การให้การกระท�าทั้งหลายที่เป็นการทรมานเป็นความผิดภายใต้
        กฎหมายอาญา นอกจากนี้ คณะกรรมการประจ�ากติกา ICCPR
        ได้มีความเห็นทั่วไปฉบับที่ ๒๑ เกี่ยวกับข้อ ๑๐ แห่งกติกานี้ว่า
        เมื่อรัฐท�าให้บุคคลเสียอิสรภาพจึงมีหน้าที่ดูแลสภาพความเป็นอยู่
        และสวัสดิภาพของบุคคลเหล่านั้น ผู้ถูกคุมขังต้องไม่ถูกท�าให้มี
        ความยากล�าบากอื่นใดมากกว่าการถูกจ�ากัดอิสรภาพ และอนุสัญญา
        ระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหาย
                       ๔๖
        สาบสูญโดยถูกบังคับ  ข้อ ๗ ข้อย่อยที่ ๑ ก�าหนดให้รัฐภาคีแต่ละ
        รัฐต้องก�าหนดให้การกระท�าให้บุคคลหายสาบสูญโดยถูกบังคับ
        เป็นความผิดที่ลงโทษได้ โดยมีบทลงโทษที่เหมาะสม และโดยค�านึง
        ถึงความร้ายแรงอย่างยิ่งของความผิดดังกล่าว



          ๒   สถานการณ์ทั่วไป

        ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีในอนุสัญญา CAT ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ ในการผลักดันให้มีการปฏิบัติ
        ตามอนุสัญญาดังกล่าว กระทรวงยุติธรรมได้มีการด�าเนินการ ดังนี้ ยกร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับ
        บุคคลให้สูญหาย พ.ศ. .... ซึ่งในระหว่างเดือนมกราคม ๒๕๕๙ ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี จัดอบรมและหลักสูตรการฝึก
        อบรมตามอนุสัญญาฉบับนี้ น�าหลักการเกี่ยวกับการป้องกันการทรมานมาไว้ในแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๕๗ – ๒๕๖๑)
        ที่อยู่ในส่วนแผนสิทธิมนุษยชนด้านกระบวนการยุติธรรม โดยให้มีกิจกรรม เช่น เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
        ต่อบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมและประชาชน สอบสวนข้อกล่าวหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยทุกฝ่ายในจังหวัดชายแดนภาคใต้
        และด�าเนินการเพื่อปรับปรุงสถานการณ์ภาคใต้เพื่อน�าไปสู่การยกเลิกการใช้กฎหมายพิเศษด้านความมั่นคง ก�าหนดนิยามของ “การทรมาน”
        ในประมวลกฎหมายอาญา ออกกฎหมายให้การทรมานเป็นความผิดอาญา แก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งหมดให้สอดคล้องกับอนุสัญญา
        CAT ปรับปรุงกลไกการตรวจสอบร้องเรียนเรื่องการทรมานภายในประเทศให้เป็นกลางและเป็นอิสระภายในปี ๒๕๖๑  นอกจากนี้
                                                                                                 ๔๗


         ๔๖   UN Human Rights Committee (HRC), CCPR General Comment No.21 Article10 (Humane Treatment of Persons Deprived of Their Liberty), 10 เมษายน ๒๕๓๕ ดูราย
         ละเอียดได้ที่ <www.refworld.org/docid/453883fb11.html> (เข้าดู ณ วันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๕๙)
         ๔๗   กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ๒๕๕๖, แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ ๓ (๒๕๕๗-๒๕๖๑) หน้า ๓๗-๓๘


         45
   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80