Page 73 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ประจำปี 2558
P. 73

รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี ๒๕๕๘




                                                             ส�าหรับกรณีประกาศ คสช. ฉบับที่ ๓๗/๒๕๕๗ เรื่อง
                                                             ความผิดที่อยู่ในอ�านาจพิจารณาพิพากษาคดีของศาลทหาร ประกาศ
                                                             คสช. ฉบับที่ ๓๘/๒๕๕๗ เรื่อง คดีที่ประกอบด้วยการกระท�า
                                                             หลายอย่างเกี่ยวโยงกันให้อยู่ในอ�านาจศาลทหารและประกาศ
                                                             คสช. ฉบับที่ ๕๐/๒๕๕๗ เรื่อง ให้ศาลทหารมีอ�านาจพิจารณาพิพากษา
                                                             คดีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิด ที่ใช้เฉพาะแต่
                                                             การสงคราม ให้พลเรือนอยู่ในอ�านาจการพิจารณาของศาลทหารใน
                                                             การกระท�าความผิดตามประกาศข้างต้นนั้น กติการะหว่างประเทศ
                                                             ว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อ ๑๔ วรรค ๑ ได้บัญญัติ
                                                             รับรองว่าบุคคลทุกคนย่อมมีสิทธิได้รับการพิจารณาอย่างเปิดเผย
                    และเป็นธรรม โดยคณะตุลาการซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย มีอ�านาจ มีความอิสระ และเป็นกลาง แต่โดยโครงสร้างของศาลทหาร
                    ได้ก�าหนดให้ศาลทหารสังกัดกระทรวงกลาโหม จ�านวน คุณสมบัติ พื้นความรู้ของตุลาการพระธรรมนูญ อัยการทหาร ก็เป็นไป
                                                    ๔๑
                                          ๔๒
                    ตามที่กระทรวงกลาโหมก�าหนด ศาลทหารที่พิจารณาคดีพลเรือนจะใช้ตุลาการทหารเป็นองค์คณะเท่านั้น ไม่มีผู้บังคับบัญชา
                                       ๔๓
                    ทหารเข้าร่วมเป็นองค์คณะ   การแต่งตั้งตุลาการก็ก�าหนดให้กระท�าโดยผู้มีอ�านาจบังคับบัญชา หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
                    กลาโหม  การที่องค์กรตุลาการมีความเชื่อมโยงกับทหารดังที่กล่าวมา อาจจะไม่สอดคล้องกับหลักความเป็นอิสระและ
                          ๔๔
                    เป็นกลาง โดยเฉพาะเมื่อ คสช. ได้ประกาศให้คดีบางประเภทอยู่ภายใต้การพิจารณาของศาลทหาร มีผลให้พลเรือน
                    ต้องถูกพิจารณาในศาลทหาร ซึ่งหากไม่มีประกาศ คสช. การกระท�าความผิดดังกล่าวจะอยู่ในอ�านาจพิจารณา
                    ของศาลยุติธรรมที่เป็นอิสระและไม่เกี่ยวข้องกับฝ่ายบริหาร ประกอบกับ คสช. ได้ประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร
                    ตั้งแต่วันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ถึง ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๘ ส่งผลให้การพิจารณาของศาลทหารในช่วงระยะเวลาดังกล่าว
                    เป็นศาลทหารในเวลาไม่ปกติ จึงไม่สามารถที่จะอุทธรณ์หรือฎีกาค�าพิพากษาได้ แม้ว่าต่อมาได้มีการประกาศยกเลิก
                    กฎอัยการศึกไปแล้ว แต่คดีที่เกิดขึ้นในช่วงที่มีการประกาศกฎอัยการศึก แล้วการพิจารณาคดียังไม่สิ้นสุด ถือเป็นคดีที่เกิดในเวลา
                    ไม่ปกติ ยังคงต้องห้ามอุทธรณ์หรือฎีกา ซึ่งขัดกับหลักการในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
                    ข้อ ๑๔ วรรค ๕ ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีและมีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตาม



                    นอกจากนี้ ค�าสั่งหัวหน้า คสช. ที่ ๓/๒๕๕๘ ที่ให้อ�านาจเจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อยมีอ�านาจเรียกตัวบุคคล
                    เพื่อมาสอบถามข้อมูลหรือให้ถ้อยค�าที่เป็นประโยชน์ และมีอ�านาจควบคุมตัวได้ไม่เกินเจ็ดวัน แต่การควบคุมตัวดังกล่าว
                    ต้องควบคุมไว้ในสถานที่อื่นที่มิใช่สถานีต�ารวจ ที่คุมขัง ทัณฑสถานหรือเรือนจ�า และจะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นในลักษณะที่เป็น
                    ผู้ต้องหามิได้ ซึ่งผลจากค�าสั่งฉบับดังกล่าวท�าให้มีการควบคุมตัวบุคคลที่ถูกกล่าวหาว่ากระท�าความผิดตามที่ระบุในค�าสั่ง
                    ฉบับดังกล่าว โดยลักษณะการควบคุมหลายกรณีจะไม่สามารถทราบสถานที่ควบคุมตัวว่าคือที่ใด ไม่สามารถติดต่อญาติหรือ
                    ผู้ที่ไว้วางใจได้ และสามารถควบคุมตัวไปได้นานถึง ๗ วัน จึงท�าให้การควบคุมในช่วงระยะเวลาดังกล่าวไม่สามารถที่จะทราบ
                    ชะตากรรมของผู้ถูกควบคุมตัวได้ เป็นการเสี่ยงที่จะถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนประการอื่น และยังเป็นการกระท�าที่ไม่เป็นไปตาม
                    หลักการในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๗/๑ ที่ได้คุ้มครองสิทธิของผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาซึ่งถูกควบคุม
                    ตัวหรือขังมีสิทธิในการขอให้เจ้าพนักงานแจ้งให้ญาติหรือผู้ซึ่งถูกจับหรือผู้ต้องหาไว้วางใจทราบถึงการจับกุมและสถานที่
                    ที่ถูกควบคุมในโอกาสแรก สิทธิในการพบและปรึกษาทนาย สิทธิได้รับการเยี่ยมหรือติดต่อกับญาติ เป็นต้น ซึ่งสิทธิ
                    ดังกล่าวเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคลที่จะได้รับการรับรองและคุ้มครองจากรัฐ และหลักการในกติการะหว่างประเทศว่าด้วย
                    สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อ ๗ ได้ก�าหนดว่า บุคคลจะถูกทรมาน หรือได้รับการปฏิบัติ หรือการลงโทษที่
                    โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือต�่าช้ามิได้ โดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ได้มีความเห็นทั่วไปที่ ๒๐ เกี่ยวกับ





         ๔๑   พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๕
         ๔๒   พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๑๑
         ๔๓   พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๒๖ – ๒๙
         ๔๔   พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๓๐

         43
   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78