Page 49 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ประจำปี 2558
P. 49
รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี ๒๕๕๘
กลุ่มเด็ก
กสม. พบว่า รัฐบาลมีมาตรการในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเด็กเพิ่มมากขึ้นโดย (๑) การจัดท�าโครงการอุดหนุน
เด็กแรกเกิด ๔๐๐ บาท/เดือน เป็นเวลา ๑๒ เดือน เพื่อเป็นสวัสดิการขั้นพื้นฐานในการสร้างระบบการคุ้มครอง
ทางสังคม และเป็นหลักประกันสิทธิขั้นพื้นฐานให้เด็กแรกเกิดได้รับการเลี้ยงดูที่มีคุณภาพ รวมทั้งสร้างแรงจูงใจ
ให้บิดา-มารดา ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก น�าเด็กเข้ารับบริการทางสาธารณสุขที่มีคุณภาพอย่างเป็นระบบ (๒) การดูแล
คุ้มครอง และเยียวยาเด็กที่ได้รับความรุนแรงผ่านมาตรการต่าง ๆ อาทิ การตรวจสอบประวัติของครูที่เคย
กระท�าความผิดต่อนักเรียนเพื่อลดและป้องกันการกระท�าความผิดของครู การตั้งศูนย์เพื่อให้ความช่วยเหลือเด็ก
ที่กระท�าความรุนแรง การแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องทางเพศ ตลอดจนสื่อลามกอนาจาร
(๓) การแก้ไขปัญหาการใช้แรงงานเด็ก รวมทั้งการแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว
และการค้ามนุษย์ การออกกฎกระทรวงแรงงานก�าหนดอายุขั้นต�่าของแรงงานในภาคเกษตร จากอายุ ๑๓ ปี เป็น ๑๕ ปี
และการท�างานในเรือประมงจากอายุ ๑๖ ปี เป็น ๑๘ ปี การจัดสรรงบประมาณของรัฐบาลเพื่อยุติการใช้แรงงานเด็ก
การตรวจสอบแรงงานเชิงรุกในรูปแบบสหวิชาชีพ การปฏิบัติ และติดตามแผนระดับชาติเพื่อขจัดการใช้แรงงานเด็ก
ในรูปแบบที่เลวร้าย ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๕๒ - ๒๕๕๙) และฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๕๘ - ๒๕๖๓) เป็นต้น
ทั้งนี้ กสม. ประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิเด็ก พบว่า มีเด็กอายุระหว่าง ๕-๑๗ ปี ที่ท�างานซึ่งไม่เป็นอันตราย หรือท�างานที่รับรายได้มากกว่า
๔๘ ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ทั้งสิ้น ๖๙๒,๘๑๙ คน หรือคิดเป็นร้อยละ ๖.๔ และยังมีปรากฏการณ์ของเด็กที่อยู่ในสถานการณ์เสี่ยง ทั้งในส่วนที่
เผชิญกับความรุนแรง โดยพบว่า ในปี ๒๕๕๘ มีเด็กที่ถูกกระท�ารุนแรงจ�านวน ๑๐,๗๑๒ คน ซึ่งเพิ่มจากปี ๒๕๕๗ (๖,๓๓๓ ราย) โดยในจ�านวนนี้
เป็นเด็กหญิงร้อยละ ๙๐ และมีอายุระหว่าง ๑๐-๑๕ ปี โดยมีลักษณะของการกระท�าความรุนแรง การถูกล่วงละเมิดทางเพศ ข่มขืน
และกระท�าช�าเราสูงเป็นอันดับที่หนึ่ง นอกจากนั้น ยังพบสถานการณ์ความรุนแรงต่อเด็กในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เเละมิติ
ด้านสุขภาพของเด็กในจังหวัดปัตตานี นราธิวาส และยะลา ที่มีเด็กแรกเกิดถึง ๑๒ ปีเต็ม ไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคครบตามตาราง
สร้างภูมิคุ้มกันโรคสูงเป็นสามอันดับแรกของประเทศไทย กสม. จึงมีข้อเสนอให้รัฐจัดหามาตรการและ/หรือแนวทางในการสนับสนุน เพื่อให้
เด็กสามารถเข้าถึงสวัสดิการด้านสุขภาพได้อย่างเท่าเทียม ในขณะที่สถานการณ์เด็กข้ามชาติ กสม. พบว่า มีแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของประชากร
เด็กข้ามชาติสูงขึ้นจากเดิมประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ - ๔๐๐,๐๐๐ คน จึงมีข้อเสนอให้รัฐจัดท�าฐานข้อมูลเชิงสถิติของเด็กข้ามชาติในประเทศไทย
ที่สมบูรณ์ในทุกมิติ รวมถึงด�าเนินการตามมาตรการในการจัดท�าหนังสือรับรองการเกิด สูติบัตร และเอกสารพิสูจน์ตนของเด็กข้ามชาติอย่าง
มีประสิทธิภาพ
19