Page 46 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ประจำปี 2558
P. 46

รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี ๒๕๕๘






















              สิทธิด้านสุขภาพ รัฐได้จัดให้มีการบริการด้านสุขภาพให้กับประชาชน ๓ ประเภท ได้แก่ ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ระบบประกัน
                                                                                                   ๑๖
              สังคม และระบบสวัสดิการข้าราชการ รวมถึงสิทธิในการเข้ารับการบริการในกรณีอุบัติเหตุและฉุกเฉินโดยไม่ต้องถูกซักถาม  และรัฐยังให้
              ความส�าคัญกับสิทธิด้านสุขภาพตามที่ได้แถลงนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๗
              โดยก�าหนดให้มีการยกระดับคุณภาพการให้บริการด้านสาธารณสุข และสุขภาพของประชาชน ที่เน้นการวางรากฐาน การพัฒนา และการ
              เสริมความเข้มแข็งในการบริการอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ ๑๗   และจากสถานการณ์ที่ประเทศไทยก�าลังเข้าสู่สภาวะคนสูงวัยเพิ่มมากขึ้นนั้น
              ท�าให้เกิดแนวโน้มความเสี่ยงในการบริหารจัดการระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าทั้ง ๓ ระบบ ซึ่งได้แก่ ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
              ระบบประกันสังคม และระบบสวัสดิการข้าราชการ ดังนั้น ในอนาคตรัฐบาลจึงมีแนวคิดในการหาแนวทางใหม่ในการบริหารจัดการสิทธิ
              ในการเข้ารับบริการด้านสุขภาพ ในรูปแบบการท�าประกันสุขภาพ โดยอาจให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ


              ด้านการเข้าถึงการบริการด้านสุขภาพนั้น  เป็นสิทธิของทุกคนในประเทศไทย  โดยมติคณะรัฐมนตรี  เมื่อวันที่  ๒๐  เมษายน  ๒๕๕๘
              ได้คืนสิทธิขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขให้กับชนกลุ่มน้อยและบุตรที่อพยพเข้ามาในประเทศไทย และกลุ่มบุคคลที่มีปัญหาด้านสถานะ
              และสิทธิบุคคล แต่อย่างไรก็ดี การเข้าถึงระบบการรักษาพยาบาล โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่อยู่ห่างไกล กลุ่มเปราะบาง เช่น คนพิการ
              แรงงานข้ามชาติและผู้ติดตาม กลุ่มที่อยู่นอกระบบ ตลอดจนคุณภาพ ความพอเพียงของการให้บริการ รวมทั้งความเหลื่อมล�้า
              ในการได้รับสิทธิที่แตกต่างกันของระบบหลักประกันสุขภาพทั้ง ๓ ระบบ ยังคงเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขและพัฒนาให้ดีขึ้นต่อไป




                                                                  สิทธิในการท�างาน รัฐได้น�าข้อเสนอแนะของประเทศ
                                                                  สมาชิกตามกลไก Universal Periodic Review (UPR)
                                                                  มาด�าเนินการในเรื่องการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิ    บทที่ ๒ ภาพรวมสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี ๒๕๕๘
                                                                  ด้านการท�างานให้ได้มาตรฐาน อาทิ การประกันค่าแรงขั้นต�่า
                                                                  ความปลอดภัยในการท�างาน และการประกันการเข้าถึงบริการ
                                                                  ด้านสุขภาพ โดยเฉพาะกับกลุ่มเปราะบาง เช่น แรงงานเด็ก
                                                                  สตรีและคนพิการ และรัฐได้พยายามอย่างต่อเนื่องในการ
                                                                  ขจัดปัญหาการค้ามนุษย์ อีกทั้งได้ให้ค�ามั่นโดยสมัครใจ
                                                                  (Pledge) ต่อที่ประชุม UPR ในการที่จะเข้าเป็นภาคี
                                                                  อนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๘๗ และ
                                                                  ๙๘ รวมทั้งจะพัฒนาการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของแรงงาน
                                                                  การป้องกันการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเพิ่ม
                                                                  ประสิทธิภาพของระบบตรวจสอบแรงงานทั้งระบบโดย
                                                                  สถานการณ์ทั่วไปของแรงงานของไทย ปรากฏดังนี้




             ๑๖    แผนสิทธิมนุษยชนด้านสาธารณสุข แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๕๗-๒๕๖๑) กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม, น. ๑๘
             ๑๗   นโยบายข้อ ๕ การยกระดับคุณภาพบริการด้านสาธารณสุขและสุขภาพของประชาชน รายงานผลการด�าเนินงานของรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ครบรอบ
             ๑ ปี (๑๒ กันยายน ๒๕๕๗ - ๑๒ กันยายน ๒๕๕๘), น. ๑๖๔

                                                                                                           16
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51