Page 50 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ประจำปี 2558
P. 50
รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี ๒๕๕๘
กลุ่มผู้หญิงและความเสมอภาคระหว่างเพศ
กสม. พบว่า รัฐบาลมีความพยายามในการดูแลส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ โดยการประกาศใช้พระราชบัญญัติความเท่าเทียม
ระหว่างเพศ พ.ศ. ๒๕๕๘ มีการจัดท�าแผนงานที่เกี่ยวกับการพัฒนามิติหญิงชาย ทั้งแผนพัฒนาสตรีในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๕๕ - ๒๕๕๙) และแผนพัฒนาสถิติหญิงและชาย ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๕๗ - ๒๕๕๘) รวมถึง
การท�ารายงานสถานการณ์สตรี ปี ๒๕๕๘ แสดงสถานการณ์ ๑๒ ด้าน ตามข้อก�าหนดในปฏิญญาและแผนปฏิบัติการปักกิ่งเพื่อความ
ก้าวหน้าของสตรี โดยส�ารวจข้อมูลจากประชากรเพศหญิงในประเทศไทย ทั้งหมด ๓๓.๑ ล้านคน (จากประชากรโดยรวม ๖๕.๑๐ ล้านคน)
ซึ่งแสดงความแตกต่างระหว่างหญิงและชายในประเด็นที่น่าห่วงใยหลายประเด็น อาทิ การเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ ผู้หญิงมีจ�านวนมากกว่า
ผู้ชาย (๕.๑ > ๔.๐ ล้านคน) คิดเป็น ร้อยละ ๕๖.๐๔ ผู้ด้อยโอกาสทางสังคม ผู้หญิงมีจ�านวนมากกว่าผู้ชาย (๖.๔๐ > ๔.๙ หมื่นคน)
คิดเป็น ร้อยละ ๕๖.๖๔ จ�านวนผู้หญิงที่มีงานท�า มีจ�านวนน้อยกว่าผู้ชาย (๑๗.๕ < ๒๐.๙ ล้านคน) คิดเป็น ร้อยละ ๔๕.๕๗ นอกจากนั้น
ผู้หญิงยังเป็นผู้อยู่นอกก�าลังแรงงานจ�านวนมากกว่าผู้ชาย (๑๐.๖ > ๕.๕ ล้านคน) คิดเป็น ร้อยละ ๖๕.๘๔ โดยในเรื่องการท�างานบ้าน
๒๑
ซึ่งเป็นการท�างานที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ผู้หญิงก็มีจ�านวนมากกว่าผู้ชาย (๔.๖ > ๐.๒ ล้านคน) คิดเป็น ร้อยละ ๙๕.๘๓ ซึ่งตัวเลขสถิติ
ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงสถานการณ์ความเหลื่อมล�้าระหว่างหญิงและชายที่ยังมีอยู่ในประเทศไทย
ทั้งนี้ กสม. ประเมินสถานการณ์ด้านกลุ่มผู้หญิงและความเสมอภาค
ทางเพศ โดยพบว่า แม้ว่าในภาพรวมจะแสดงถึงความไม่เท่าเทียม
ระหว่างหญิงและชายที่ลดต�่าลง แต่เมื่อพิจารณารายละเอียดตาม
ตัวชี้วัดแล้ว พบว่า ยังมีความไม่เท่าเทียมระหว่างหญิงและชาย
ในด้านตลาดแรงงานค่อนข้างมาก (ชาย = ๘๐.๗ และหญิง =
๖๔.๓) ในขณะที่มีสัดส่วนของผู้หญิงที่ด�ารงต�าแหน่งในรัฐสภา
น้อยมาก โดยคิดเป็นล�าดับที่ ๑๗๒ จากทั้งหมด ๑๘๕ ประเทศ
และในระหว่างปี ๒๕๕๗-๒๕๕๘ มีค่าสัดส่วนของผู้หญิงที่ด�ารง
ต�าแหน่งในรัฐสภา น้อยที่สุดในรอบ ๑๐ ปี (๒๕๔๙ - ๒๕๕๘)
อีกทั้งยังพบปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิง (กรณีที่ผู้หญิงถูก
กระท�า) ในทุกประเภทของความรุนแรง ในจ�านวนที่สูงขึ้นกว่า
ปี ๒๕๕๗ ด้วย กสม. จึงเสนอว่า รัฐซึ่งมีหน้าที่ในการเคารพ บทที่ ๒ ภาพรวมสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี ๒๕๕๘
(Obligation to Respect) หน้าที่ในการคุ้มครอง (Obligation to
Protect) และหน้าที่ในการท�าให้สิทธิเกิดผลในทางปฏิบัติ
ในการจัดท�าหรืออ�านวยการให้เกิดขึ้นจริง (Obligation to Fulfill)
จึงควรด�าเนินการส่งเสริมให้เกิดความเสมอภาคระหว่างเพศ
ด้วยการออกมาตรการที่เหมาะสมและมาตรการพิเศษชั่วคราว
การเสริมสร้างการมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้หญิง เช่น
การกระตุ้นให้พรรคการเมืองใช้ระบบสัดส่วน จัดการฝึกอบรม
และสร้างความตระหนักเกี่ยวกับความส�าคัญของผู้หญิงในการ
ตัดสินใจทุกระดับ และในเวทีนานาชาติ การส่งเสริมการออก
นโยบายและก�าหนดกลไกและมาตรการในการแก้ไขปัญหา
ที่มีประสิทธิภาพที่จะท�าให้ผู้หญิงที่ถูกละเมิดสามารถเข้าถึง
ความเป็นธรรมได้
๒๑ หมายถึง รายได้ประจ�าเฉลี่ยต่อคนต่อเดือน ประกอบด้วย ค่าจ้างและเงินเดือน, ก�าไรสุทธิจากการประกอบธุรกิจ, รายได้จากทรัพย์สิน, รายได้ที่ไม่เป็นตัวเงิน เช่น เงินได้รับเป็น
การช่วยเหลือ มูลค่าสินค้าและบริการ เป็นต้น. (ส�านักงานสถิติแห่งชาติ. แผนที่ความยากจน. www.nso.go.th)
20