Page 43 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ประจำปี 2558
P. 43
รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี ๒๕๕๘
เหมืองแร่ ปี ๒๕๕๘ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) ได้ออกประกาศนโยบายการส�ารวจและท�าเหมืองแร่ทองค�า
ในพื้นที่ ๑๒ จังหวัด ได้แก่ พิจิตร พิษณุโลก ลพบุรี เลย สตูล สระแก้ว สุราษฎร์ธานี จันทบุรี ระยอง สระบุรี นครสวรรค์ และเพชรบูรณ์
เพื่อเตรียมขยายพื้นที่ให้เอกชนเข้าส�ารวจ ท�าให้เกิดการคัดค้านจากประชาชนในพื้นที่อย่างมาก เนื่องจากตลอดระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา
ประเทศไทยประสบปัญหาจากนโยบายการท�าเหมืองแร่อย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งจากสถิติข้อมูล
๑๑
เรื่องร้องเรียนต่อ กสม. พบว่า มีปัญหาหลัก ๕ ประเด็น ได้แก่ (๑) ปัญหาการมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจเชิงนโยบายเกี่ยวกับ
โครงการท�าเหมืองแร่ขนาดใหญ่ของประชาชนและชุมชน (๒) การพิจารณาอนุญาตของหน่วยงานรัฐ (๓) กรณีการได้รับผลกระทบ
จากกิจการการท�าเหมืองแร่ที่ได้รับสัมปทานจากหน่วยงานรัฐไปแล้ว (๔) กรณีการฟื้นฟูเหมือง รวมถึงการแย่งสิทธิในพื้นที่หลังการท�าเหมือง
(๕) กรณีการข่มขู่ คุกคามอันเป็นผลจากการคัดค้านการท�าเหมืองแร่
๑๒
นอกจากนี้ กรณีการผลักดัน (ร่าง) พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. .... ซึ่งเป็นการยกเลิกพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๑๐ และพระราชบัญญัติ
พิกัดอัตราค่าภาคหลวงแร่ พ.ศ. ๒๕๐๙ และน�ามารวมไว้เป็นฉบับเดียวกัน เพื่อแก้ปัญหาข้อกฎหมายที่ล้าสมัย ไม่ทันต่อเหตุการณ์นั้น
ยังมีความเห็นจากนักวิชาการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียว่า บทบัญญัติบางประการตามร่างฉบับดังกล่าว ยังขาดความเหมาะสมกับบริบททาง
เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งยังไม่อาจป้องกันและแก้ไขปัญหาข้อพิพาทที่เกิดขึ้นหรืออาจจะเกิดขึ้นได้
การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ที่ดินและป่าไม้ ช่วงปี ๒๕๕๗-๒๕๕๘ มีชุมชนจ�านวนมากที่ได้รับผลกระทบจากค�าสั่ง คสช.
ที่ ๖๔/๒๕๕๗ เรื่อง “การปราบปรามและหยุดยั้งการบุกรุกท�าลายทรัพยากรป่าไม้” และค�าสั่ง คสช. ที่ ๖๖/๒๕๕๗ เรื่อง “เพิ่มเติม
หน่วยงานส�าหรับการปราบปราม หยุดยั้งการบุกรุกท�าลายทรัพยากรป่าไม้ และนโยบายการปฏิบัติงานเป็นการชั่วคราวในสภาวการณ์
ปัจจุบัน เพื่อปราบปรามและหยุดยั้งการบุกรุกท�าลายทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่ต่าง ๆ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ” ซึ่งค�าสั่งดังกล่าว
ได้น�าไปสู่การที่เจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปด�าเนินการขับไล่ และรื้อท�าลายทรัพย์สินของประชาชนที่อยู่อาศัยและท�ากินในพื้นที่ป่า ส่วนหนึ่ง
ยังขาดกระบวนการและขั้นตอนการด�าเนินงานที่ใช้ความรอบคอบและระมัดระวังมากพอ อาทิ มีการใช้หลักเกณฑ์ในการทวงผืนป่า
โดยใช้แผนที่ภาพถ่ายทางอากาศเป็นเกณฑ์ส�าคัญในการตรวจสอบ โดยไม่ให้ความส�าคัญกับการพิจารณาข้อมูลประกอบอื่น ๆ เช่น
วัตถุพยาน พยานบุคคล หลักฐานทางราชการและประวัติศาสตร์ เป็นต้น ประกอบการพิจารณา ในขณะที่ลักษณะการใช้ประโยชน์
ที่ดินก็เปลี่ยนแปลงไปตามนโยบายของรัฐบาลแต่ละช่วง ท�าให้ประชาชนผู้เคยถือครองท�าประโยชน์ที่ดินมาก่อนโดยส่วนใหญ่เป็น
ผู้ยากไร้ไม่มีที่ดินท�ากิน ถูกข่มขู่ บังคับ จับกุม ไล่รื้อที่อยู่อาศัยและท�าลายที่ท�ากิน ซึ่งขัดกับลักษณะเงื่อนไขตามค�าสั่ง คสช. ที่ ๖๖/๒๕๕๗
๑๑ นายประทีป มีคติธรรม เลขานุการกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, เมษายน ๒๕๕๙
๑๒ ปัจจุบันคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเสนอร่างพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. .... เป็นเรื่องด่วนต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๙ ซึ่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้รับหลักการใน
วาระที่ ๑ เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๕๙
13