Page 42 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ประจำปี 2558
P. 42
รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี ๒๕๕๘
สถานการณ์สิทธิมนุษยชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในปี ๒๕๕๘ มีเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัด
๑๐
ชายแดนภาคใต้เกิดขึ้น จ�านวน ๖๗๔ ครั้ง ซึ่งมีจ�านวนลดลงเมื่อเทียบกับปี ๒๕๕๗ เเละเป็นปีที่มีจ�านวนเหตุการณ์ความรุนแรง จ�านวน
ผู้เสียชีวิต ผู้ได้รับบาดเจ็บน้อยที่สุดในรอบ ๑๒ ปี จากเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต ๒๔๖ คน และ ผู้ได้รับบาดเจ็บ
๕๔๔ คน นอกจากสถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นในพื้นที่ อันส่งผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายของประชาชนแล้ว
ประเด็นเรื่องสิทธิในกระบวนการยุติธรรม สิทธิเด็ก และสิทธิสตรีในพื้นที่ ยังเป็นที่น่าห่วงกังวล โดยปรากฏเหตุการณ์ที่อาจสุ่มเสี่ยง
ต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน อาทิ การควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยในคดีความมั่นคงไปซักถาม การตรวจค้นสถานที่ที่ต้องสงสัย
ว่าเป็นที่ซ่อนตัวของผู้ต้องสงสัยในคดีความมั่นคง การเสียชีวิตของผู้ต้องสงสัยในคดีความมั่นคงระหว่างถูกควบคุมตัว การตรวจตัวอย่าง
สารพันธุกรรม (DNA) จากเด็กที่มีความเกี่ยวพันกับผู้ต้องสงสัยในคดีความมั่นคง และผลกระทบต่าง ๆ ต่อเด็กเเละสตรีในพื้นที่ เป็นต้น
๒.๒ สถานการณ์สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
๑. สถานการณ์สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
ในมิติการประเมินสถานการณ์สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม จะเกี่ยวข้องกับเนื้อหาหลักในกติการะหว่างประเทศ
ด้านสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (ICESCR) เป็นส�าคัญ โดยมีแนวทางในการประเมินสถานการณ์พิจารณา
ตามหลักการว่าด้วยการท�าให้สิทธิซึ่งรับรองไว้ในกติกา ICESCR เป็นจริง โดยบัญญัติไว้ในข้อ ๒ ให้รัฐภาคีแต่ละรัฐรับด�าเนินการ
โดยเอกเทศและโดยความร่วมมือและความช่วยเหลือระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทางเศรษฐกิจและวิชาการ โดยใช้ประโยชน์
สูงสุดจากทรัพยากรที่มีอยู่ เพื่อให้สัมฤทธิ์ผลในการท�าให้สิทธิซึ่งรับรองไว้ในกติกานี้เป็นจริงอย่างบริบูรณ์โดยล�าดับด้วย
วิธีทั้งปวงที่เหมาะสม รวมทั้งการก�าหนดมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วย ซึ่งปี ๒๕๕๘ กสม. ประเมินสถานการณ์สิทธิทาง
เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ใน ๕ ประเด็นหลัก ได้แก่ (๑) การบริหารจัดการพลังงาน เหมืองแร่ ทรัพยากรธรรมชาติ ที่ดิน
และป่าไม้ และการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ (๒) สิทธิทางการศึกษา (๓) สิทธิด้านสุขภาพ (๔) สิทธิในการท�างาน และ (๕) สถานการณ์
การค้ามนุษย์ โดยสรุปในแต่ละประเด็น ดังนี้
การบริหารจัดการพลังงาน เหมืองแร่ ทรัพยากรธรรมชาติ ที่ดินและป่าไม้ และการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ
สถานการณ์ปัญหาด้านสิทธิชุมชนส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นนั้นเป็นผลอันเนื่องมาจากนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐ ที่มุ่งเน้นการขยายตัว
ตามระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม จึงส่งผลให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล�้าในด้านต่าง ๆ ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม โดยส่วนหนึ่งของปัญหา
มาจากการที่รัฐจัดให้มีแผนงานโครงการขนาดใหญ่โดยด�าเนินการแบบรวมศูนย์ ขาดกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน และขาดการ
ค�านึงถึงผลกระทบด้านต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นต่อชุมชน จึงน�ามาสู่ปรากฏการณ์ต่อสู้เพื่อปกป้องสิทธิชุมชนขึ้นในหลายรูปแบบ เช่น การยื่น
ข้อร้องเรียนต่อหน่วยงานรัฐ การออกแถลงการณ์ทั้งในนามของชุมชนหรือร่วมกับนักวิชาการและเครือข่ายภาคประชาสังคม บทที่ ๒ ภาพรวมสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี ๒๕๕๘
เพื่อแสดงเจตนารมณ์ในการเรียกร้องสิทธิตามที่กฎหมายให้การรับรอง ตลอดจนการรวมตัวกันเพื่อฟ้องร้องหน่วยงานรัฐหรือผู้ประกอบการ
การบริหารจัดการพลังงาน รัฐมีนโยบายในการผลักดันให้ชุมชนหรือเอกชนลงทุนท�าโรงไฟฟ้าชีวมวลเพิ่มเติม โดยใช้เป็นทางเลือก
ในการผลิตพลังงานทดแทน เนื่องจากมีต้นทุนด้านวัตถุดิบที่น�ามาใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้าต�่า แต่หากไม่มีการบริหาร
จัดการกับปริมาณก๊าซเสียที่ออกมาจากโรงงานได้ก็อาจท�าให้เกิดมลพิษ ทั้งนี้ มีผู้ได้รับผลกระทบในหลายพื้นที่ รวมตัวกันเพื่อคัดค้าน
การตั้งโรงไฟฟ้าดังกล่าว โดยมีสาเหตุส�าคัญ อาทิ ความเหมาะสมของพื้นที่ซึ่งจะก่อสร้างโรงไฟฟ้า อาจตั้งอยู่ใกล้กับชุมชนมากเกินไป
ความกังวลเกี่ยวกับการสร้างมลพิษทางอากาศและทางน�้าในพื้นที่ การหลีกเลี่ยงกฎหมายของผู้ประกอบการ การขาดกระบวนการมีส่วนร่วม
ของชาวบ้านในพื้นที่ อีกทั้ง ยังมีมติที่ประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ และประกาศกระทรวง
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ฉบับที่ ๗ ยกเว้นให้โครงการโรงไฟฟ้าขยะมูลฝอยทุกขนาดก�าลังการผลิตไม่ต้องจัดท�ารายงาน EIA
จากเดิมก�าหนดให้ก�าลังการผลิตไฟฟ้าตั้งแต่ ๑๐ เมกะวัตต์ขึ้นไปต้องจัดท�ารายงาน EIA โดยให้ด�าเนินการตามประมวลหลักการปฏิบัติ
(Code of Practice: CoP) แทน ซึ่งในเรื่องนี้ นักวิชาการ เครือข่ายภาคประชาชน เห็นว่าการก�าหนดให้โครงการโรงไฟฟ้าขยะมูลฝอย
ด�าเนินการตามประมวลหลักการปฏิบัติ (CoP) ไม่สามารถทดแทนการท�ารายงาน EIA และมีการรวมตัวกันฟ้องร้องเป็นคดีต่อศาล
เพื่อขอให้เพิกถอนประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติดังกล่าว
๑๐ โรงเรียนนักข่าวชายแดนภาคใต้, “การวิเคราะห์ข้อมูลเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ในรอบปี ๒๕๕๘”, www. deepsouthwatch.org/node/7942 (สืบค้น
เมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๙)
12