Page 38 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ประจำปี 2558
P. 38
รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี ๒๕๕๘
ในปี ๒๕๕๘ สถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยที่
กสม. ได้รวบรวม ประมวล ทั้งจากบันทึกข้อเท็จจริง
เหตุการณ์ รายงานการติดตามตรวจสอบกรณีร้องเรียน
สถิติข้อมูลของหน่วยงาน/องค์กรวิชาชีพเฉพาะ ตลอดจน
รายงานสถานการณ์ที่จัดท�าโดยกลุ่มองค์กรที่ปฏิบัติงาน
ด้านส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนหลาย ๆ แห่ง สะท้อน
ให้เห็นทั้งความก้าวหน้า ความตั้งใจของรัฐบาลที่จะแก้ไขปัญหา
ที่มีความยุ่งยาก ซับซ้อน ที่ผ่านมา และในขณะเดียวกัน ข้อมูล
ก็ยังได้สะท้อนข้อเท็จจริงที่สอดคล้องกัน ถึงปัญหาความ
รุนแรงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในหลายประเด็น และมีผลกระทบ
ต่อการพัฒนาสภาวะสิทธิมนุษยชนโดยรวมของประเทศ
ซึ่ง กสม. เห็นสมควรที่จะต้องน�าเสนอให้รัฐบาลพิจารณาแก้ไข
ปัญหาอย่างจริงจังหรือเร่งด่วนต่อไป โดยประกอบด้วย
สิทธิด้านกระบวนการยุติธรรม สิทธิทางการเมืองและสิทธิ
พลเมือง ความมั่นคงและความรุนแรงในจังหวัดชายเเดนภาคใต้
สิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็น เสรีภาพ
ในการสื่อสารและเสรีภาพของสื่อมวลชน สิทธิทางเศรษฐกิจ
สังคม และวัฒนธรรม โดยเฉพาะสิทธิชุมชน ทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม สิทธิทางการศึกษา และสุขภาพ สิทธิในการ บทที่ ๒ ภาพรวมสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี ๒๕๕๘
ประกอบอาชีพและการท�างาน นอกจากนั้น รายงานเห็น
ควรหยิบยกสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มบุคคล
ที่มีความเปราะบางที่เสี่ยงต่อการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนและ
ถูกละเมิดซ�้าซ้อน (Multiple Discrimination) ใน ๖ กลุ่มหลัก
ได้แก่ เด็กและเยาวชน ผู้หญิงและประเด็นความเสมอภาค
ระหว่างเพศ บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ คนพิการ
ผู้สูงอายุ และกลุ่มชาติพันธุ์ ชนเผ่าเเละชนพิ้นเมือง
8