Page 188 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ประจำปี 2558
P. 188

รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี ๒๕๕๘





                          ประเภทแรงงาน                                       ลักษณะ

               กลุ่มแรงงานข้ามชาติ           เป็นกลุ่มที่ผ่านกระบวนการพิสูจน์สัญชาติ เจ้าหน้าที่ไม่สามารถจับกุมหรือส่งกลับ
               ที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติ      และสามารถเดินทางได้ทั่วประเทศไทย นอกจากนี้ ยังสามารถเดินทางกลับประเทศ
                                             ของตนได้ แต่ถ้าต้องการเดินทางกลับเข้ามาประเทศไทย ต้องยื่นค�าร้องขอกับเจ้าหน้าที่
                                             กองตรวจคนเข้าเมืองหลังจากที่กลับออกไปแล้ว แต่แรงงานกลุ่มนี้ต้องรายงานตัว
                                             ต่อส�านักงานตรวจคนเข้าเมืองทุก ๙๐ วัน และสามารถขออนุญาตท�างานได้เพียง ๔ ปี
                                             เท่านั้น (ครั้งละ ๒ ปี และต่อได้ ๒ ครั้ง) หลังจากนั้นจะต้องกลับไปประเทศตนเอง
                                             นาน ๓ ปี จึงจะสามารถขอกลับเข้ามาท�างานในประเทศได้อีกครั้ง การพิสูจน์สัญชาติ
                                             เพื่อให้มีสถานะเป็นแรงงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย และเข้าสู่ระบบประกันสังคม
                                             แต่กลุ่มที่ท�างานในกิจการที่ได้รับการยกเว้นจากประกันสังคม จะใช้ระบบประกันสุขภาพ

                                             แรงงานต่างด้าวที่ต้องซื้อประกันสุขภาพเป็นรายปีแทน มีจ�านวน ๑,๐๔๒,๖๗๔ คน
               กลุ่มแรงงานข้ามชาติเข้าประเทศ   กลุ่มแรงงานข้ามชาติเข้าประเทศผ่านบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างรัฐบาล
               ผ่านบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ   ไทยกับประเทศเพื่อนบ้านทั้ง ๓ ประเทศ (เมียนมา กัมพูชา และลาว) ในปี ๒๕๔๕ และ
               (MOU)                         ๒๕๔๖ โดยได้จัดท�ากรอบการท�างานส�าหรับแรงงานข้ามชาติไร้ฝีมือที่จะเข้ามาและท�างาน  บทที่ ๕ สถานการณ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเปราะบาง
                                             ในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ๒๕๐   และสามารถขอรับสวัสดิการสังคม
                                             สิทธิในการได้รับการรักษาพยาบาล และสิทธิประโยชน์อื่น ๆ เช่นเดียวกับแรงงานไทย

                                             และแรงงานข้ามชาติที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติ มีจ�านวน ๒๘๑,๓๑๕ คน







              อนึ่ง ข้อมูลจากการส�ารวจติดตามการได้รับบริการของแรงงาน และ
              คนข้ามชาติของเครือข่ายปฏิบัติการเพื่อแรงงานข้ามชาติ พบว่า
              ปี ๒๕๕๘ มีผู้ที่ซื้อประกันสุขภาพ จ�านวน ๑,๘๓๓,๙๐๕ คน เป็นบุคคล
              สัญชาติเมียนมา ๙๖๓,๐๗๗ คน กัมพูชา ๖๖๘,๑๐๒ คน ลาว
              ๒๐๐,๗๖๔ คน และอื่น ๆ ๑,๙๐๘ คน และข้อมูลจากมูลนิธิอารมณ์
              พงศ์พงัน ระบุว่า ปัจจุบันมีจ�านวนผู้ประกันตนต่างชาติในระบบ
              ประกันสังคมทั้งหมด ๔๙๒,๒๔๐ คน ประกอบด้วย บุคคลสัญชาติ
              เมียนมา ๓๐๕,๑๘๑ คน กัมพูชา ๙๐,๖๔๓ คน ลาว ๑๒,๕๐๑ คน

              และอื่นๆ ๘๓,๙๑๕ คน ซึ่งในจ�านวนนี้คิดเป็นสัดส่วนไม่ถึงครึ่ง
              ของแรงงานที่ควรได้รับสิทธิประกันสังคม อีกทั้งสิทธิประโยชน์
                                                                                                   ๒๕๑
              ของประกันสังคมยังไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของแรงงานข้ามชาติ ทั้งเรื่องเงินชราภาพ และเงินสงเคราะห์การคลอดบุตร  นอกจากนี้

              ยังมีกลุ่มแรงงานข้ามชาติที่ไม่ได้จดทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมายซึ่งมักอยู่ด้วยความหวาดระแวงที่จะถูกจับกุม ถูกข่มขู่ และถูกส่งกลับ
              จึงไม่มีตัวเลขของแรงงานกลุ่มนี้ที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม มีการคาดการณ์กันว่าน่าจะมีอยู่ประมาณ ๒ - ๓ ล้านคน






              ๒๕๐   บันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการประสานเพื่อการจ้างงาน ลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานของไทยและรัฐมนตรีกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมของลาว เมื่อวันที่
              ๑๘ ตุลาคม ๒๕๔๕; ลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานของไทยและรัฐมนตรีกิจการสังคม  แรงงาน การฝึกอาชีพ และการฟื้นฟูเยาวชนของกัมพูชา เมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๔๖;
              และลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานของไทยและรัฐมนตรีสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา เมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๔๖
              ๒๕๑   คอลัมน์ เครือข่ายท�างานประชากรข้ามชาติ ห่วงใช้แรงงานทาสในธุรกิจประมง ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๘ ดูรายละเอียดได้ที่ <www.prachatai.org/ journal/2015/12/63058



                                                                                                          158
   183   184   185   186   187   188   189   190   191   192   193