Page 187 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ประจำปี 2558
P. 187
รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี ๒๕๕๘
๒ สถานการณ์ทั่วไป
องค์การสหประชาติได้ให้นิยามของ “แรงงานข้ามชาติ” ไว้ในอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของแรงงานข้ามชาติและสมาชิกในครอบครัว
ว่าหมายถึง “บุคคลซึ่งจะถูกว่าจ้างให้ท�างาน ก�าลังถูกว่าจ้าง หรือเคยถูกว่าจ้างท�างาน โดยไม่รับค่าตอบแทนในรัฐที่ตนไม่ได้เป็น
คนของชาตินั้น” โดยส�าหรับประเทศไทย ความหมายของ “คนต่างด้าว” ตามพระราชบัญญัติการท�างานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑
หมายถึง “บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย” และก�าหนดไว้ว่าคนต่างด้าวจะท�างานได้เมื่อได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมการจัดหางานหรือ
เจ้าพนักงานซึ่งอธิบดีมอบหมายเท่านั้น
ทั้งนี้ ข้อมูลจากกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน เมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ ระบุว่า ประเทศไทยมีแรงงานข้ามชาติที่มาจาก
ประเทศเมียนมา ลาว กัมพูชาที่ถูกกฎหมาย รวมทั้งสิ้น ๒,๓๘๘,๗๘๒ คน โดยแบ่งเป็นแรงงานสัญชาติเมียนมา ๑,๔๙๙,๖๗๙ คน สัญชาติ
ลาว ๒๐๔,๓๓๕ คน และสัญชาติกัมพูชา ๖๘๔,๗๖๘ คน ๒๔๙ โดยจ�าแนกสถานะได้ ๓ ประเภท คือ
ประเภทแรงงาน ลักษณะ
กลุ่มแรงงานข้ามชาติ เป็นกลุ่มผ่อนผันและได้รับการจดทะเบียนเพื่อให้สิทธิอาศัยอยู่ชั่วคราว (ทร.๓๘/๑)
ที่จดทะเบียน และได้รับหมายเลขประจ�าตัว ๑๓ หลักจากกระทรวงมหาดไทย โดยเริ่มที่หมายเลข
๐๐ ซึ่งจะต้องผ่านการตรวจสุขภาพก่อน จึงจะได้รับใบอนุญาตให้ท�างานจาก
กระทรวงแรงงานได้ โดยได้รับหลักฐานจากหน่วยงานของรัฐ ๓ ฉบับ คือ ใบอนุญาต
ให้พ�านักอาศัยชั่วคราว (ทร.๓๘/๑) บัตรประกันสุขภาพและใบอนุญาตท�างาน มี
จ�านวนทั้งสิ้น ๑,๐๖๔,๗๙๓ คน โดยแบ่งออกเป็น ๒ กลุ่มย่อย คือ
กลุ่มที่จดทะเบียนแบบ One Stop Service ระหว่างวันที่ ๑ เมษายน –
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ หรือกลุ่มบัตรสีชมพู ได้รับสิทธิผ่อนผันให้ท�างานใน
ประเทศไทยได้จนถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙ และอยู่ระหว่างการพิสูจน์สัญชาติกับ
ประเทศต้นทาง จ�านวนทั้งสิ้น ๑,๐๑๐,๓๙๑ คน
กลุ่มกิจการประมงทะเล ซึ่งเป็นกลุ่มที่จดทะเบียนใหม่ในช่วงเวลาเดียวกัน มีจ�านวน
๕๔,๔๐๒ คน เป็นแรงงานสัญชาติเมียนมา ๓๐,๔๗๙ คน สัญชาติลาว ๑,๑๕๙ คน
และสัญชาติกัมพูชา ๒๒,๗๖๔ คน
๒๔๙ บุษยรัตน์ กาญจนดิษฐ์ บทความเรื่อง สถานการณ์แรงงานข้ามชาติ ๒๕๕๘ “สิทธิน้อยนิด อยู่อย่างปกปิด มักถูกลืมคุ้มครอง” ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๘
157