Page 110 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ประจำปี 2558
P. 110
รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี ๒๕๕๘
ตามนโยบายการอนุรักษ์ป่า โดยเฉพาะค�าสั่ง คสช. ที่ ๖๔/๒๕๕๗ และ ๖๖/๒๕๕๗ ซึ่งส่งผลให้เกิดการท�าลายพืชผล และการบังคับโยกย้าย
โดยคณะกรรมการ ได้มีข้อแนะน�าให้รัฐบาลไทยดูแลและประกันให้น�ามาตรการการอพยพโยกย้าย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การบังคับโยกย้าย
มาใช้เป็นมาตรการสุดท้าย โดยจะต้องมีการดูแล และให้ค่าชดเชยที่เพียงพอ และ/หรือการจัดสรรที่ดินใหม่ให้แก่บุคคลที่ถูกบังคับโยกย้าย
ออกจากพื้นที่ ทั้งนี้ โดยค�านึงถึงความเห็นทั่วไป (General Comments) ของคณะกรรมการฯ ฉบับที่ ๔ เกี่ยวกับสิทธิการมีที่อยู่อาศัย
อย่างเพียงพอ และฉบับที่ ๗ ว่าด้วยการอพยพไล่รื้อ
๓.๔ การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ บทที่ ๔ สถานการณ์สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
โดยที่รัฐบาลมีนโยบายในการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายแดนที่เชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน
ส่งเสริมการค้าและการลงทุน และรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จึงก�าหนดให้มีการตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษขึ้น ๑๑๔
รวม ๑๐ พื้นที่ ได้แก่ เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษมุกดาหาร เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว
เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสงขลา เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตราด เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษหนองคาย เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษนราธิวาส
เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเชียงราย เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษนครพนม และเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษกาญจนบุรี ดังนั้น เพื่อให้การด�าเนินการ
ตามนโยบายประสบผล รัฐจึงมีมาตรการสนับสนุนการลงทุนในเขตเศรษฐกิจ เช่น มาตรการสนับสนุนด้านภาษี และการอ�านวยความสะดวก
ของหน่วยงานต่าง ๆ เป็นต้น รวมถึงการที่รัฐออกค�าสั่งหัวหน้า คสช. ที่ ๑๗/๒๕๕๘ เรื่อง “การจัดหาที่ดินเพื่อใช้ประโยชน์ในเขตพัฒนา
เศรษฐกิจพิเศษ” เร่งรัดกระบวนการจัดหาพื้นที่ซึ่งจ�าเป็นต้องใช้ในการจัดท�าเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อให้การด�าเนินการสัมฤทธิ์ผล
โดยเร็ว โดยมีสาระส�าคัญในการก�าหนดให้พื้นที่ตามค�าสั่งตกเป็นที่ราชพัสดุ อันมีผลเป็นการเพิกถอนสภาพที่ดินต่าง ๆ และให้บรรดาที่ดิน
ที่ตกเป็นที่ราชพัสดุตามค�าสั่งนี้ ไม่อยู่ภายใต้บังคับข้อก�าหนดเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ตามกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวม จนกว่าจะมี
การจัดท�าผังเมืองรวมขึ้นใช้บังคับส�าหรับที่ดินอันเป็นพื้นที่พัฒนาหลังจากมีการจัดตั้งพื้นที่พัฒนาแล้ว
ทั้งนี้ ผลจากการด�าเนินนโยบายดังกล่าวท�าให้ประชาชนในพื้นที่จ�านวนมากได้รับความเดือดร้อนและแสดงความคิดเห็นคัดค้าน
การด�าเนินการดังกล่าว พร้อมกับยื่นข้อร้องเรียนให้ กสม. ด�าเนินการตรวจสอบ ทั้งในลักษณะการใช้ที่ดินและทรัพยากร
สาธารณประโยชน์เป็นพื้นที่การลงทุนของกลุ่มทุน การเวนคืนที่ดินเพื่อจัดหาพื้นที่ตามนโยบาย และการจ่ายค่าชดเชยที่ไม่สอดคล้อง
กับความเป็นจริง นอกจากนั้น ยังมีปัญหาความเดือดร้อนจากการประกาศผังเมืองใหม่ อาทิ การปรับเปลี่ยนพื้นที่ผังเมืองสีเขียวเป็นสีม่วง
(พื้นที่เกษตรกรรมกลายเป็นพื้นที่อุตสาหกรรม) การเวนคืน/ใช้พื้นที่ทางวัฒนธรม หรือความเชื่อ (สุสาน-ป่าช้า) รวมถึงการก�าหนด
๑๑๕
พื้นที่รองรับกิจการเหมืองแร่ โรงไฟฟ้า และการขุดเจาะปิโตรเลียม และปัญหาด้านมลพิษจากการก่อตั้งนิคมอุตสาหกรรมต่าง ๆ
ดังกรณีของชาวบ้าน อ.แม่สอด จ.ตาก ได้รับความเดือดร้อนจากการที่ คสช. ใช้อ�านาจตามมาตรา ๔๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
๑๑๖
(ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ เวนคืนที่ดินของประชาชนมากกว่า ๑๐๐ ราย ในพื้นที่รวม ๒,๑๘๒ ไร่ มาเป็นที่ราชพัสดุ โดยมีการ
กล่าวอ้างว่ามีการพิจารณาคัดเลือกพื้นที่โดยไม่มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน แต่เป็นการคัดเลือกตามข้อเสนอของหน่วยงานรัฐ
ในพื้นที่ อีกทั้งยังมีปัญหาในเรื่องการจ่ายค่าชดเชยจากการเวนคืนที่ดิน ซึ่งกรณีนี้ กสม. ได้รับเรื่องร้องเรียนจากชาวบ้านหมู่ที่ ๔ และ ๗
ต.ท่าสายลวด อ.เเม่สอด จ.ตาก ถึงความเดือดร้อนจากการที่รัฐประกาศให้มีการเวนคืนที่ดิน ท�าให้ชาวบ้านต้องสูญเสียที่อยู่อาศัย
และที่ดินท�ากิน โดยไม่มีการชี้แจงข้อมูลหรือการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนก่อน
๑๑๔ ประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ที่ ๑/๒๕๕๘ เรื่อง ก�าหนดพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ลงวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๘ และประกาศคณะกรรมการ
นโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ที่ ๒/๒๕๕๘ เรื่อง ก�าหนดพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ระยะที่ ๒ ลงวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๘
๑๑๕ การประชุมโครงการเผยแพร่และก�าหนดทิศทางการสนับสนุนร่าง พ.ร.บ. การใช้ประโยชน์ที่ดินและการผังเมือง พ.ศ. .... เมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๘
๑๑๖ ดูรายละเอียดได้ที่ <www.naewna.com/local/168652> (เข้าดู ณ วันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๙)
80