Page 106 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ประจำปี 2558
P. 106

รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี ๒๕๕๘































                   ภาค                   จังหวัดที่เป็นที่ตั้งของโรงไฟฟ้าชีวมวล            ก�าลังการผลิต

                   เหนือ       จังหวัดเชียงราย ล�าพูน ล�าปาง สุโขทัย อุตรดิตถ์ ตาก ก�าแพงเพชร   ๑๒๒ เมกะวัตต์        บทที่ ๔ สถานการณ์สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
               (ตอนบนเเละล่าง)  พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ เเละอุทัยธานี
                  ตะวันออก     จังหวัดหนองคาย อุดรธานี หนองบัวล�าภู สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ   ๓๒๙ เมกะวัตต์
                 เฉียงเหนือ    ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด นครราชสีมา
                               บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

                   กลาง        จังหวัดกาญจนบุรี ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง อยุธยา   ๒๕๘ เมกะวัตต์
                               สระบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรปราการ ชลบุรี สระแก้ว ประจวบคีรีขันธ์

                    ใต้        จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี กระบี่ นครศรีธรรมราช ตรัง สงขลา เเละ  ๗๐ เมกะวัตต์
                               ยะลา





              จากการติดตามสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องปรากฏข้อมูลว่า มีผู้ได้รับผลกระทบในหลายพื้นที่ อาทิ จังหวัดระยอง สุราษฎร์ธานี พังงา ศรีสะเกษ
              เเละพัทลุง รวมตัวกันเพื่อคัดค้านการตั้งโรงไฟฟ้าดังกล่าว โดยมีสาเหตุส�าคัญหลายประการ ได้แก่ (๑) ความเหมาะสมของพื้นที่ซึ่งจะ
              ก่อสร้างโรงไฟฟ้า เช่น ตั้งอยู่ใกล้กับชุมชน โดยตั้งอยู่ใกล้โรงเรียน วัด ศูนย์เด็กเล็ก สถานีอนามัย แหล่งท่องเที่ยว พื้นที่เกษตรกรรม
              มากเกินไป (๒) ความกังวลเกี่ยวกับการสร้างมลพิษทางอากาศและทางน�้าในพื้นที่ (๓) การหลีกเลี่ยงกฎหมายของผู้ประกอบการโดยการ
              ก�าหนดให้โรงไฟฟ้ามีก�าลังการผลิตอยู่ที่ ๙.๙ เมกะวัตต์ ท�าให้ไม่เข้าข่ายตามที่กฎหมายก�าหนดให้โรงไฟฟ้าที่มีก�าลังการผลิต ๑๐ เมกะวัตต์
              ขึ้นไปต้องท�าการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและประชาพิจารณ์ก่อน (๔) การขาดกระบวนการมีส่วนร่วมของชาวบ้านในพื้นที่

              ส�าหรับโรงไฟฟ้าขยะนั้น พบว่า มีสถานการณ์ปัญหาคล้ายคลึงกับโรงไฟฟ้าชีวมวล เช่น ปัญหาเรื่องสถานที่ตั้ง กระบวนการ
              มีส่วนร่วม และความกังวลต่อผลกระทบด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ซึ่งในประเด็นด้านสุขภาพ คณะกรรมการพัฒนาระบบและกลไกการ
              ประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ ได้ให้ความเห็นชอบการจัดท�าการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (Health Impact Assessment: HIA)
              โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าจากขยะ ๒ แห่ง (จังหวัดหนองคายและจังหวัดสระบุรี) เนื่องจากพบว่า อาจจะมีแนวโน้มจะเกิดผลกระทบด้าน
              สุขภาพในหลายประเด็น เช่น สภาพพื้นที่ตั้งโครงการอาจท�าให้อากาศเสียและเป็นพิษกระจายไปสู่ชุมชนโดยรอบ เกิดน�้าเสียปนเปื้อน
              รวมถึงอุบัติเหตุจากการจราจรและการขนส่งวัตถุดิบที่เป็นขยะมายังที่ตั้งโครงการ











                                                                                                           76
   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111