Page 108 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ประจำปี 2558
P. 108
รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี ๒๕๕๘
ผลกระทบด้านสุขภาพ เช่น การตรวจพบสารโลหะหนัก ได้แก่ แมงกานีส และสารหนูในปริมาณสูงในปัสสาวะและเลือดของชาวบ้าน
รอบเหมืองแห่งหนึ่งที่พิจิตร ตรวจพบว่าสารแมงกานีสและไซยาไนด์ในบริเวณเหมืองแร่ทองค�าจังหวัดเลย ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน
และการเสียชีวิตของคนงานเหมืองทองค�าด้วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ซึ่งสันนิษฐานว่า มีสาเหตุมาจากโลหะหนักและสารไซยาไนด์จากเหมือง บทที่ ๔ สถานการณ์สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
ทองค�า ๑๐๘
นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลจากรายงานการตรวจสอบผลกระทบด้านสุขภาพประชาชนรอบเหมืองทองค�าซึ่งจัดท�าโดยคณะกรรมการ
ตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหาผลกระทบด้านสุขภาพของประชาชน ภายใต้คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหา
ข้อขัดแย้งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากการท�าเหมืองแร่ทองค�าของบริษัทแห่งหนึ่ง ระบุว่า เหมืองทองค�าเป็นปัจจัยหลัก
๑๐๙
ที่ท�าให้เกิดความเสี่ยงต่อการป่วย ประกอบกับการที่หน่วยงานภาครัฐจัดให้มีการแจกจ่ายพืชผักและน�้าดื่มให้แก่ประชาชนในพื้นที่
เช่น พื้นที่จังหวัดพิจิตร ก็เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรงของประชาชนโดยรอบ
ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เช่น กรณีสารพิษที่รั่วไหลลงแหล่งน�้าธรรมชาติ ที่อ�าเภอวังสะพุง จังหวัดเลย อันเนื่องมาจาก
การพังทลายของเขื่อนกักเก็บกากสารไซยาไนด์ ๑๑๐
ผลกระทบจากการเคลื่อนไหวเรียกร้อง เช่น กรณีบริษัทผู้ประกอบการเหมืองแร่ได้ฟ้องร้องด�าเนินคดีกับผู้น�าชุมชน นักเคลื่อนไหวด้าน
สิทธิชุมชน ๑๑๑
๑๑๒
ส�าหรับกรณีการผลักดัน (ร่าง) พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. .... ซึ่งเป็นการยกเลิกพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๑๐ และพระราชบัญญัติพิกัด
อัตราค่าภาคหลวงแร่ พ.ศ. ๒๕๐๙ และน�ามารวมไว้เป็นฉบับเดียวกัน เพื่อแก้ปัญหาข้อกฎหมายที่ล้าสมัย ไม่ทันต่อเหตุการณ์ อย่างไรก็ดี
ยังมีความเห็นจากนักวิชาการและผู้มีส่วนได้เสียว่า บทบัญญัติบางประการตามร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว ยังไม่มีความเหมาะสม
กับบริบททางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งยังไม่อาจป้องกันและแก้ไขปัญหาข้อพิพาทที่เกิดขึ้นหรืออาจจะเกิดขึ้นได้ อาทิ (๑)
การให้สิทธิกับผู้ประกอบการมากขึ้น (๒) การขาดหลักการคุ้มครองสิทธิของประชาชนและไม่ค�านึงถึงสิทธิชุมชน เช่น การไม่มีบทบัญญัติที่ให้
หลักประกันแก่ผู้ได้รับความเสียหายจากผู้ประกอบการ การบัญญัติให้รัฐมนตรีสามารถประกาศก�าหนดพื้นที่เขตแหล่งแร่เพื่อท�าเหมือง
ได้เป็นอันดับแรก ก่อนการสงวน หวงห้าม หรือใช้ประโยชน์ในพื้นที่นั้นได้ การขาดมาตรการต่อที่ผู้ประกอบการไม่ด�าเนินการตามข้อก�าหนด
(๓) การมีกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ยังไม่มากพอ เช่น สัดส่วนของคณะกรรมการแร่แห่งชาติ และคณะกรรมการแร่ระดับ
จังหวัดมีสัดส่วนของผู้แทนหน่วยงานรัฐมากกว่าผู้แทนของภาคประชาชน อีกทั้งก�าหนดให้ภาคประชาชนเป็น “องค์กรชุมชน” ซึ่งนิยามว่า
เป็นองค์กรชุมชนตามกฎหมายว่าด้วยสภาองค์กรชุมชนหรือตามกฎหมายอื่น ท�าให้จ�ากัดตัวแทนภาคประชาชน หรือเกิดการมีส่วนร่วม
เป็นในลักษณะรับทราบข้อมูลแต่ยังไม่มีส่วนร่วมในกระบวนการเพื่อก�าหนดเจตจ�านงในการด�ารงชีวิตอย่างแท้จริง
๑๐๘ แปะข้างฝา “บิ๊กตู่”เบรกเปิดเหมืองทองเพิ่ม เผยแพร่: ๒๖ ก.ย. ๒๕๕๘ ๐๖:๓๙:๐๐ โดย: ASTV ผู้จัดการรายวัน
๑๐๙ ข้อมุลจากการตรวจสอบ ณ วันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๕๙
๑๑๐ บทความชื่อ ทางออกเหมืองแร่ทองค�า ดูรายละเอียดได้ที่ <www.tnnthailand.com/news_detail.php?id=51104&t=news> (เข้าดู ณ วันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๙)
๑๑๑ เอกสาร การรวมกลุ่มของภาคประชาสังคมไทยในกระบวนการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชน รอบ ๒
๑๑๒ ปัจจุบันคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเสนอร่างพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. .... เป็นเรื่องด่วนต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๙ ซึ่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้รับหลัก
การในวาระที่ ๑ เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๕๙
78