Page 113 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ประจำปี 2558
P. 113

รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศ ปี ๒๕๕๘



         ๔.๒.๒  สิทธิทางการศึกษา

          ๑  หลักการด้านสิทธิมนุษยชน


        รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๗ มาตรา ๔ ได้บัญญัติให้ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค
        ของคนไทยยังคงได้รับความคุ้มครองตามประเพณีการปกครองของประเทศไทย ซึ่งในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
        พุทธศักราช ๒๕๕๐ ได้ประกันสิทธิทางการศึกษาไว้ว่า รัฐจะต้องจัดให้มีการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๑๒ ปี อย่างมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายใด ๆ
        ส�าหรับเด็กทุกคนที่อยู่ในประเทศไทย นอกจากนี้ ยังจะต้องจัดการศึกษาที่มีมาตรฐานให้กับผู้ยากไร้ ผู้พิการ หรือทุพพลภาพ หรือผู้ที่อยู่
        ในสภาวะยากล�าบากอื่น ๆ ให้ได้รับสิทธิที่มีความเท่าเทียมกัน

        กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (ICESCR) ที่ประเทศไทยเป็นภาคี ข้อ ๑๓ ก�าหนดให้รัฐภาคีรับรองสิทธิ
        ของทุกคนในการศึกษาโดยมุ่งให้เกิดการพัฒนาบุคลิกภาพของมนุษย์และความส�านึกในศักดิ์ศรีของบุคคลอย่างสมบูรณ์ และให้ทุกคนมีส่วนร่วม
        ในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และจัดการศึกษาภาคบังคับให้กับทุกคนแบบให้เปล่าโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ รวมทั้งจะต้องจัดการศึกษา
        ขั้นมัธยมในรูปแบบต่าง ๆ ให้ทุกคนมีสิทธิได้รับและให้ทุกคนจะต้องสามารถได้รับการศึกษาขั้นอุดมศึกษาอย่างเท่าเทียมกันบนพื้นฐาน
        ของความสามารถ โดยวิธีการที่เหมาะสมโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ มาใช้อย่างค่อยเป็นค่อยไป

        นอกจากนี้ ข้อเสนอแนะจากกระบวนการ UPR ซึ่งเป็นการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๔ ประเทศไทยได้รับ
        ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสิทธิทางการศึกษา ซึ่งมีสาระส�าคัญเรื่องการส่งเสริมสิทธิทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อท�าให้ทุกคนโดยเฉพาะ
        ผู้มีรายได้น้อยและผู้ที่อยู่ในชนบทห่างไกลสามารถเข้าถึงสิทธิทางการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ ๑๑๗  เเละเท่าเทียมกัน นอกจากนี้ ประเทศไทย
        ได้ให้ค�ามั่น (Pledge) ว่าจะส่งเสริมสิทธิด้านการศึกษาของเด็กด้อยโอกาสและเด็กชายขอบ เพื่อให้เด็กเหล่านั้นสามารถเข้าถึงการศึกษาได้
                      ๑๑๘
        อย่างเท่าเทียมด้วย

          ๒  สถานการณ์ทั่วไป


        สถานการณ์ทั่วไปที่เกี่ยวกับสิทธิในการศึกษามีประเด็นส�าคัญ ๒ เรื่อง คือ (๑) ความเหลื่อมล�้าและโอกาสในการเข้าถึงสิทธิในการศึกษา
        และ (๒) คุณภาพในการจัดการศึกษา ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้


        ๒.๑   ความเหลื่อมล�้าและโอกาสในการเข้าถึงสิทธิในการศึกษา

        ความเหลื่อมล�้าและโอกาสในการเข้าถึงสิทธิในการศึกษา มีตัวชี้วัดส�าคัญที่แสดงให้เห็นถึงความเหลื่อมล�้าและโอกาสในการเข้าถึงสิทธิ
        ในการศึกษา ประกอบด้วย อัตราการเข้าเรียน และอัตราการคงอยู่ในระบบการศึกษา

        ๑. ด้านอัตราการเข้าเรียน

           จากสถิติการศึกษาของประเทศไทย       แต่ปี ๒๕๕๗ กลับลดลงร้อยละ ๐.๓๗ ส่วนอัตราการเข้าเรียนในระดับการศึกษาภาคบังคับ
           ปีการศึกษา ๒๕๕๕ - ๒๕๕๗ ของส�านักงาน   ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น (ประชากรกลุ่มอายุ  ๖-๑๔  ปี) ปีการศึกษา
           เลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ   ๒๕๕๕,๒๕๕๖ และ ๒๕๕๗ มีอัตราร้อยละ ๙๕.๗๗, ๙๕.๘๐ และ ๙๖.๖๙ อัตรา
           พบว่า อัตราการเข้าเรียนในระดับการศึกษา   การเข้าเรียนปี ๒๕๕๖ และ ๒๕๕๗ เพิ่มขึ้นจากปี ๒๕๕๕ ร้อยละ ๐.๓๐ และ ๐.๘๙
           ขั้นพื้นฐาน ๑๒ ปี ตั้งแต่การศึกษาระดับ   ตามล�าดับ ส่วนอัตราผู้เข้าเรียนในระดับอุดมศึกษา (ประชากรกลุ่มอายุ ๑๘-๒๑ ปี)
           ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา (ประชากร   ปีการศึกษา ๒๕๕๕, ๒๕๕๖ และ ๒๕๕๗ มีอัตราร้อยละ ๔๗.๙๗, ๔๙.๐๕ และ ๔๙.๒๗
           กลุ่มอายุ  ๖  -  ๑๗  ปี)  ในปีการศึกษา   ตามล�าดับ อัตราการเข้าเรียนปี ๒๕๕๖ และ ๒๕๕๗ เพิ่มขึ้นจากปี ๒๕๕๕ ร้อยละ ๑.๐๘
           ๒๕๕๕, ๒๕๕๖ และ ๒๕๕๗ มีอัตราร้อยละ   และ ๐.๒๒ ตามล�าดับ จากสถิติอัตราการเข้าเรียนดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า คนไทย
           ๘๘.๗๐, ๘๘.๗๒ และ ๘๘.๓๕ ตามล�าดับ   มีโอกาสได้รับการศึกษาเพิ่มมากขึ้น แต่ถึงอย่างไรก็ตาม เด็กและเยาวชนก็ยังไม่สามารถ
           จากสถิติอัตราการเข้าเรียนในปี ๒๕๕๖   เข้าถึงการศึกษาได้ครบทุกคน โดยเฉพาะการศึกษาภาคบังคับ นอกจากนี้ ยังพบว่าอัตรา
           เพิ่มขึ้นจากปี ๒๕๕๕ เพียงร้อยละ ๐.๐๒   การเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษามีอัตราค่อนข้างต�่าน้อยกว่าครึ่งของประชากรทั้งหมด


        ๑๑๗  UPR หน้า ๒๕-๒๙
        ๑๑๘  UPR หน้า ๗๖

         83
   108   109   110   111   112   113   114   115   116   117   118