Page 103 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ประจำปี 2558
P. 103
รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศ ปี ๒๕๕๘
ในมิติการประเมินสถานการณ์สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม จะเกี่ยวข้องกับเนื้อหาหลักในกติการะหว่างประเทศด้านสิทธิ
ทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (ICESCR) เป็นส�าคัญ โดยประเทศไทยเป็นภาคีกติกา ICESCR เมื่อวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๔๒
เเละมีผลใช้บังคับในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒ กติกา ICESCR มีข้อผูกพันให้รัฐภาคีต้องด�าเนินการทุกวิถีทางเพื่อส่งเสริมและคุ้มครอง
สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ให้แก่บุคคลต่าง ๆ โดยครอบคลุมทั้งสิทธิในการท�างานและสิทธิในสุขภาพอนามัย
สิทธิทางการศึกษา ตลอดจนสิทธิในมาตรฐานการครองชีพที่พอเพียง และมีคณะกรรมการประจ�ากติกา ICESCR ท�าหน้าที่ก�ากับและติดตาม
ซึ่งก�าหนดให้รัฐภาคีต้องจัดท�าและน�าเสนอรายงานการด�าเนินงานฉบับแรก (Initial Report) ต่อคณะกรรมการประจ�ากติกา ICESCR
ภายในสองปีหลังจากที่เข้าเป็นภาคี และน�าเสนอรายงานฉบับต่อไปในช่วงทุก ๆ ห้าปี โดยคณะกรรมการจะจัดประชุมเพื่อให้ผู้แทน
ของประเทศภาคีที่จัดส่งรายงานได้แถลงผลการด�าเนินงาน พร้อมกับการสอบถาม แลกเปลี่ยนถึงความก้าวหน้า และแสดงความกังวล
ในประเด็นต่าง ๆ แล้วจึงจัดท�าสรุปข้อเสนอแนะ (Concluding Observations) น�าเสนอให้รัฐภาคีพิจารณา ทั้งนี้ ประเทศไทย
ได้น�าเสนอรายงานโดยผนวกรายงานการด�าเนินงานฉบับแรก และฉบับที่สองเข้าด้วยกัน โดยจัดส่งให้กับคณะกรรมการ ในวันที่
๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๕ (โดยก�าหนดส่งรายงานฉบับแรกและฉบับที่สองตามข้อก�าหนด ภายในวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๕ และ
๒๕๕๐ ตามล�าดับ) ในขณะที่คณะกรรมการได้ตรวจสอบรายงานการด�าเนินงานของประเทศไทยเกี่ยวกับกติกา ICESCR
ระหว่างวันที่ ๔ - ๕ มิถุนายน ๒๕๕๘ ที่ส�านักงานข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส
โดยในส่วนของประเทศไทยมีผู้แทนส�านักงานอัยการสูงสุด ๑๐๑ เป็นหัวหน้าคณะรัฐบาลไทย ๑๐๒ น�าเสนอและชี้แจงรายงานต่อคณะกรรมการ
ในขณะที่ภาคประชาสังคมมากกว่า ๑๙ องค์กร และ กสม. ๑๐๓ ได้จัดท�ารายงานคู่ขนาน ๑๐๔ ซึ่งประเมินสถานการณ์ในมิติต่าง ๆ และจัดส่งให้
คณะกรรมการฯ พิจารณา พร้อมทั้งเข้าร่วมน�าเสนอเนื้อหาและสังเกตการณ์การพิจารณารายงานดังกล่าวด้วย
สถานการณ์สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในปี ๒๕๕๘ กสม. ใช้แนวทางในการประเมินสถานการณ์โดยพิจารณาตามหลัก
การว่าด้วยการท�าให้สิทธิซึ่งรับรองไว้ในกติกา ICESCR เป็นจริง โดยบัญญัติไว้ในข้อ ๒ ให้รัฐภาคีแต่ละรัฐ รับด�าเนินการโดยเอกเทศและ
โดยความร่วมมือและความช่วยเหลือระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางเศรษฐกิจและวิชาการ โดยใช้ประโยชน์สูงสุดจากทรัพยากรที่มีอยู่
เพื่อให้สัมฤทธิ์ผลในการท�าให้สิทธิซึ่งรับรองไว้ในกติกานี้เป็นจริงอย่างบริบูรณ์ โดยล�าดับ ด้วยวิธีทั้งปวงที่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
รวมทั้งการก�าหนดมาตรการทางกฎหมายด้วย
๔.๒ สถานการณ์สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม รายประเด็น
สถานการณ์สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมในปี ๒๕๕๘ ที่เป็นประเด็นที่ส�าคัญเรื่องหลัก ได้แก่ (๑) การบริหารจัดการ
พลังงาน เหมืองแร่ ทรัพยากรธรรมชาติ ที่ดินและป่าไม้ และการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ (๒) สิทธิทางการศึกษา (๓) สิทธิด้านสุขภาพ
และ (๔) สิทธิในการท�างาน โดยมีรายละเอียดในแต่ละประเด็นดังนี้
๑๐๑ หน่วยงานราชการอิสระภายใต้การก�ากับดูแลของนายกรัฐมนตรี ดูรายละเอียดได้ที่ <www.ago.go.th/history.php#7> (เข้าดู ณ วันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๙)
๑๐๒ โดยมีนายวันชัย รุจนวงศ์ อธิบดีอัยการ ส�านักงานต่างประเทศ ส�านักงานอัยการสูงสุด ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายรัฐบาล
๑๐๓ โดยมีนายนิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (ชุดที่สอง) เป็นผู้แทนคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติน�าเสนอรายงาน และเข้าร่วมการประชุม
๑๐๔ ดูรายละเอียดรายงานที่น�าเสนอโดย กสม. และองค์กรภาคประชาสังคมทั้ง ๑๙ ฉบับ ดูรายละเอียดได้ที่ <http://tbinternet.ohchr.org/_layouts/treatybodyexternal/SessionDe-
tails1.aspx?SessionID=967&Lang=en> (เข้าดู ณ วันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๙)
73