Page 104 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ประจำปี 2558
P. 104
รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี ๒๕๕๘
๔.๒.๑ การบริหารจัดการพลังงาน เหมืองแร่ ทรัพยากรธรรมชาติ ที่ดินและป่าไม้ และการพัฒนา
เขตเศรษฐกิจพิเศษ
๑ หลักการด้านสิทธิมนุษยชน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ และ ๒๕๕๐ ได้ประกัน “สิทธิชุมชน” ในการมีส่วนร่วมกับรัฐในการจัดการ
บ�ารุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืน โดยบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๖๖ ระบุว่า “บุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชน ชุมชนท้องถิ่น หรือชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ย่อมมีสิทธิอนุรักษ์หรือฟื้นฟู
จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นและของชาติ และมีส่วนร่วมในการจัดการ การบ�ารุงรักษา และการใช้
ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม รวมทั้งความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืน” และมาตรา ๖๗ วรรคหนึ่ง
ระบุว่า “บุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชน ชุมชนท้องถิ่น หรือชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมย่อมมีสิทธิอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ศิลปวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นและของชาติ และมีส่วนร่วมในการจัดการ การบ�ารุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ
สิ่งแวดล้อม รวมทั้งความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืน” นอกจากนี้ ยังปรากฏบทบัญญัติอื่นที่เป็นการยอมรับความ
มีอยู่ของ “ชุมชน” โดยจะเห็นได้ว่ามีบทบัญญัติอื่น ซึ่งมีสาระของสิทธิของบุคคลที่รวมกันเป็นชุมชน ตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติรับรองไว้ บทที่ ๔ สถานการณ์สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
หลายประการ เช่น สิทธิในการมีส่วนร่วมที่จะส่งเสริม บ�ารุงรักษา และคุ้มครองคุณภาพสิ่งแวดล้อม (มาตรา ๘๕ (๕)) และสิทธิที่จะได้รับ
ข้อมูลค�าชี้แจง และเหตุผลจากรัฐก่อนการอนุญาตหรือการด�าเนินโครงการหรือกิจกรรมใดที่อาจมีผลกระทบส�าคัญอื่นใดที่เกี่ยวกับชุมชน
ท้องถิ่น (มาตรา ๕๗ วรรคแรก) เป็นต้น
ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีของตราสารระหว่างประเทศด้าน นอกจากนั้น ยังมีเนื้อหาข้อเสนอแนะจ�านวนหนึ่งที่มาจากกลไก
สิทธิมนุษยชนหลักทั้ง กติกา ICCPR และ ICESCR ที่เกี่ยวข้องกับ UPR โดยในกระบวนการ UPR ปี ๒๕๕๔ ประเทศไทยได้รับ
การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ที่ดิน และป่าไม้ สิทธิในการ ข้อเสนอแนะจากประเทศสมาชิกอันเกี่ยวเนื่องกับสิทธิชุมชน
แสดงความคิดเห็นและการแสดงออก สิทธิในการชุมนุมโดยสงบ หลายประการ ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ
สิทธิในการได้รับข้อมูลข่าวสาร สิทธิในการมีส่วนร่วมในนโยบาย การแก้ไขปัญหาความไม่เท่าเทียมและความเหลื่อมล�้าในสังคม
สาธารณะ สิทธิในมาตรฐานการครองชีพที่เพียงพอ เป็นต้น และการกระจายความมั่งคั่งอย่างเป็นธรรม
74