Page 102 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ประจำปี 2558
P. 102

รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี ๒๕๕๘




                            ๔๗) ด�าเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อปรับปรุงระบบประกันสุขภาพ เพื่อลดความเหลื่อมล�้าและให้มีการเข้าถึง
                ระบบประกันสุขภาพอย่างเสมอภาค

                            ๔๘) ด�าเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาระบบสุขภาพ เพื่อส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนของสังคมสามารถเข้าถึงสิทธิ
                ด้านสุขภาพ

                            ๔๙)  แก้ไขปัญหาการเสียชีวิตของมารดาและทุพโภชนาการในเด็กที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลของประเทศ
                            ๕๐)  ด�าเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมคุณภาพในการเข้าถึงการศึกษา รวมถึงการเข้าถึงการศึกษาอย่าง
                เท่าเทียมกันส�าหรับเด็กทุกคน

                            ๕๑)  ด�าเนินความพยายามอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมสิทธิทางการศึกษาส�าหรับทุกคน โดยเน้นประชาชน
                ที่ยากจนในพื้นที่ชนบทและพื้นที่ห่างไกล

                            ๑.๓.๒   ปัญหาการค้ามนุษย์

                            ๘๖) ด�าเนินความพยายามอย่างต่อเนื่องเพื่อแก้ไขสถานการณ์การค้ามนุษย์ ซึ่งมีนัยเกินกว่าขอบเขตพรมแดน
                ของไทย
                            ๘๗)  ร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างต่อเนื่องเพื่อขจัดและปราบปรามการค้ามนุษย์โดยเฉพาะ  บทที่ ๔ สถานการณ์สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
                ผู้หญิงและเด็ก และเพื่อแก้ไขสถานการณ์ของแรงงานโยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติ ผู้ลี้ภัยและผู้แสวงหาที่พักพิง

                            ๘๘)  เร่งแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ซึ่งมีประชากรต่างชาติบางกลุ่มตกเป็นเหยื่อ และประกันว่าจะไม่มีการใช้
                มาตรการใด ๆ ที่ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนกับกลุ่มคนเหล่านี้

                            ๘๙)  เพิ่มความพยายามอย่างต่อเนื่องเพื่อขจัดปัญหาการค้ามนุษย์และการละเมิดสิทธิแรงงาน โดยเฉพาะ
                อย่างยิ่งต่อผู้โยกย้ายถิ่นฐานซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบาง
                            ๙๐)  ด�าเนินความพยายามอย่างต่อเนื่องเพื่อแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ รวมทั้งฟื้นฟูเยียวยาเหยื่อการค้ามนุษย์

                            ๙๑)  ด�าเนินการเสริมสร้างขีดความสามารถของเจ้าหน้าที่ บังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์
                รวมถึงการเพิ่มงบประมาณ และจัดการฝึกอบรมบุคลากรที่เหมาะสม

                            ๙๒)  บังคับใช้กฎหมายด้านการค้ามนุษย์ให้เข้มแข็งขึ้น โดยเฉพาะในกรณีที่มีการแสวงหาประโยชน์ทางเพศ
                และแรงงาน ซึ่งเป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อนในประเทศไทย

                            ๙๓)  เพิ่มความพยายามในการป้องกันการค้ามนุษย์เพื่อแสวงหาประโยชน์ทางเพศและใช้แรงงานบังคับ
                รวมถึงการค้าประเวณีเด็ก
                            ๙๔)  ใช้มาตรการที่จ�าเป็นเพื่อแก้ไขรากเหง้าของปัญหาการค้าประเวณีเด็ก การท่องเที่ยวเพื่อบริการทางเพศ
                สื่อลามกเด็ก และการค้าสตรี รวมทั้งเพิ่มความพยายามในการปรับปรุงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ

                            ๙๕)  แก้ไขปัญหาสื่อลามกเด็กและการค้ามนุษย์ทั้งเด็กหญิงและชายเพื่อวัตถุประสงค์ทางเพศอย่างจริงจัง
                รวมทั้งการสนับสนุนให้ต�ารวจและเจ้าหน้าที่ตามแนวชายแดนเพิ่มความพยายามเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ตลอดจน
                หาความรับผิดชอบในกรณีที่รัฐขาดความพยายามในการด�าเนินคดีซึ่งเท่ากับเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน

















                                                                                                           72
   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107