Page 101 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ประจำปี 2558
P. 101

รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศ ปี ๒๕๕๘




                         ๕)  อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านอาชญากรรมที่จัดตั้งในลักษณะองค์กร พิธีสารว่าด้วยการ
            ป้องกัน ปราบปราม และลงโทษการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะสตรีและเด็ก

                           ประเทศไทยได้ลงนามอนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติที่จัดตั้งในลักษณะ
            องค์กร เมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๔๓ และพิธีสารว่าด้วยการป้องกัน ปราบปราม และลงโทษการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะสตรีและเด็ก
            เมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๔ และให้สัตยาบันตราสารทั้งสองฉบับ โดยมีผลใช้บังคับกับประเทศไทยในวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๖
                           พิธีสารว่าด้วยการป้องกัน ปราบปราม และลงโทษการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะสตรีและเด็ก มีวัตถุประสงค์หลัก
            เพื่อป้องกันและต่อต้านการค้ามนุษย์โดยให้ความส�าคัญเป็นพิเศษกับสตรีและเด็ก โดยได้ก�าหนดให้การค้ามนุษย์เป็นความผิด
            ทางอาญา และก�าหนดมาตรการเพื่อคุ้มครองและช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ เช่น การให้พิจารณาคดีโดยลับ การจัดให้มี
            การฟื้นฟูทางกายภาพ ทางจิตใจ และทางสังคม และการก�าหนดแนวทางในการส่งกลับเหยื่อจากการค้ามนุษย์ไปยังประเทศต้นทาง

                           ปัจจุบันประเทศไทยมีพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ
            พ.ศ. ๒๕๔๖ และพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นกฎหมายอนุวัติการส�าหรับอนุสัญญา
            และพิธีสารดังกล่าวแล้ว
                ๔.๑.๓   ข้อเสนอแนะจากกระบวนการ UPR ที่ประเทศไทยรับมาปฏิบัติ

                         ๑.๓.๑  การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (Promotion and
            Protection of economic, social and cultural rights)

                         ๓๘) การแก้ไขปัญหาความไม่เท่าเทียมกันและความเหลื่อมล�้าในสังคมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นสาเหตุของ
            ความขัดแย้งทางสังคมและความไม่สงบทางการเมืองในช่วง ๒-๓ ปี ที่ผ่านมา รวมทั้งในภาคใต้ของประเทศไทย

                         ๓๙) แก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างขั้นพื้นฐานของความไม่เท่าเทียมกันในสังคมและความไม่เท่าเทียมกันในการเข้า
            ถึงโอกาสและบริการต่าง ๆ ของคนยากจนและคนชายขอบ เพื่อให้ประชาชนทุกคนสามารถใช้สิทธิของตนเองได้ตามที่ระบุไว้ใน
            แผนและนโยบายการปฏิรูปประเทศ
                         ๔๐) ด�าเนินการอย่างต่อเนื่องในการปรับใช้ยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยเฉพาะ
            อย่างยิ่งเพื่อลดความยากจน

                         ๔๑) ด�าเนินการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อมุ่งช่วยเหลือคนยากจนและผู้ด้อยโอกาส
            เพื่อให้ประชาชนทุกคนมีมาตรฐานการด�ารงชีวิตที่เพียงพอ

                         ๔๒) ด�าเนินงานอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มและสร้างความเข้มแข็งให้กับแผนงานด้านสังคมที่ประสบผลส�าเร็จ
            นับจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีความจ�าเป็นในการต่อสู้กับความยากจนและการกีดกันทางสังคมบนพื้นฐานของการกระจายความมั่นคง
            อย่างเป็นธรรม อันจะน�าไปสู่การบรรลุสวัสดิการที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปส�าหรับประชาชน
                         ๔๓) ด�าเนินความพยายามอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิด้านการท�างาน สิทธิด้านสุขภาพ
            และสิทธิด้านการศึกษาของประชาชน เพื่อให้ด�ารงไว้ซึ่งมาตรฐานการด�ารงชีวิตที่เพียงพอของทุกคน

                         ๔๔) ด�าเนินความพยายามที่ดีอย่างต่อเนื่องเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
            และการให้ความส�าคัญเป็นพิเศษกับสุขภาพและการศึกษา

                         ๔๕) ประกันการเข้าถึงการศึกษา ความมั่นคงทางสังคม การดูแลสุขภาพ และโอกาสทางเศรษฐกิจส�าหรับ
            ทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งรวมถึงสตรีมุสลิมและสตรีที่สมรสก่อนวัยอันควร

                         ๔๖) ด�าเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่เท่าเทียมกันในสังคมและความไม่เท่าเทียมกันในการ
            เข้าถึงโอกาสและบริการต่าง ๆ ของความยากจนและคนชายขอบ








         71
   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106