Page 93 - รายงานวิจัย เรื่อง ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
P. 93
บทที่ ๕
ย่อมหมายถึงการเปลี่ยนแนวคิดและวิธีการปฏิบัติต่อผู้ลี้ภัย จากแนวคิดการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม (Humanitarianism)
ไปสู่แนวคิดการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม (Participatory Development) การเปลี่ยนแนวคิดดังกล่าวนี้ จ�าเป็นที่จะต้องศึกษาหาข้อมูล
เพิ่มเติมว่าผู้ลี้ภัยทั้งหมดนั้นมีผู้ที่มีความรู้ ภูมิปัญญา ศักยภาพ ตลอดจนประสบการณ์ในการประกอบอาชีพ ระดับการศึกษา อายุ
ระบบเครือญาติ อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ การนับถือศาสนา มีภูมิล�าเนาอยู่ที่ใด ทั้งนี้ เพื่อจะใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการจ�าแนกผู้ลี้ภัยและ
จัดให้มีการอบรม เพิ่มพูนความสามารถบนพื้นฐานของศักยภาพและความสนใจ ข้อมูลเหล่านี้อาจจะมีอยู่ในฐานข้อมูลที่มีการ
ส�ารวจลักษณะประชากร (Profiling) โดยมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงอยู่บ้างแล้ว จึงควรน�ามาใช้เพื่อการพัฒนาศักยภาพของผู้ลี้ภัยในการก�าหนด
แผนยุทธศาสตร์ในการส่งคืนผู้ลี้ภัยกลับถิ่นฐานของ UNHCR นอกจากนี้ ยังควรท�าการศึกษาถึงความรู้และทักษะของผู้ลี้ภัยในด้าน
การทอผ้า งานหัตถกรรม จักสาน แกะสลัก การสร้างเครือข่าย ความรู้ในด้านการรักษาพยาบาล และการใช้พืชสมุนไพร รวมทั้ง
ความสามารถในการใช้ภาษาชาติพันธุ์ และความรู้ในด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่น คณะผู้วิจัยเองได้พบว่า ผู้ลี้ภัยจ�านวนหนึ่งได้เรียนรู้
ด้วยตนเองที่จะท�าการเกษตรแบบปลอดสารพิษ สามารถปลูกผักเลี้ยงเด็กนักเรียนในค่ายอพยพได้จ�านวนหนึ่งและยังส่งขายในตลาด
แม่สอด ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๕๗-๒๕๕๘ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงได้มีจัดการอบรมปลูกผักปลอดสารพิษให้แก่ผู้ลี้ภัยจ�านวนหนึ่ง ซึ่งน่าจะ
น�าไปหาเลี้ยงชีพได้ในอนาคต องค์กร TBC ADRA ZOLA ก็จัดให้มีการอบรมด้านอาชีพต่างๆ เช่นเดียวกัน โครงการเหล่านี้น่าจะเป็น
ประโยชน์ในการส่งเสริมให้ผู้ลี้ภัยสามารถพึ่งตนเองได้ และเท่ากับเป็นการเตรียมตัวในด้านการประกอบอาชีพเมื่อเดินทางกลับถิ่นฐาน
บ้านเกิดของตน
๕.๒ นโยบายต่อผู้ลี้ภัยที่หลากหลาย
ผู้ลี้ภัยในค่ายผู้ลี้ภัยมีความหลากหลายในด้านต่างๆ ทั้งที่อยู่ในวัยกลางคน หรือวัยสูงอายุ และกลุ่มที่เป็นคนหนุ่มสาว
ผู้ลี้ภัยกลุ่มแรกมีแนวโน้มที่จะกลับคืนสู่ถิ่นฐานเดิมของตนเอง เนื่องจากยังมีญาติพี่น้องที่ยังอยู่ในหมู่บ้านเดิมที่จากมาคนเหล่านี้
ส่วนใหญ่ยังมีความคิดเกี่ยวกับ “บ้านเกิด” (Homeland) บางคนมีภูมิปัญญาที่เป็นประโยชน์ต่อการฟื้นฟูและพัฒนาบ้านเกิดของตนเอง
แต่ส�าหรับผู้ลี้ภัยวัยหนุ่มสาวที่เติบโต หรือเกิดในค่ายผู้ลี้ภัย คนกลุ่มนี้มักไม่มีความผูกพันกับ “บ้าน” ของพวกเขาในประเทศพม่า/
เมียนมาร์หรืออาจจะไม่มีบ้านของตนเองในประเทศพม่า/เมียนมาร์เสียด้วยซ�้า พวกเขาสัมพันธ์และคุ้นเคยกับชาวต่างชาติที่เข้าไป
ท�างานในค่ายผู้ลี้ภัย ได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษหรือเข้าเรียนใน Migrant School หรือ Bible School มีความสามารถด้านภาษา
หลายภาษา พวกเขารู้จักประเทศไทยมากกว่าประเทศพม่า/เมียนมาร์ รู้จักบริบทของพื้นที่ชายแดน และมีทักษะในการด�ารงชีวิตใน
บริเวณชายแดน (Border Skills) คุ้นเคยกับสภาวะพหุวัฒนธรรม/พหุชาติพันธุ์ หลายคนได้มีโอกาสได้รับการอบรม หรือท�างานกับ
องค์กรเอกชนระหว่างประเทศที่ให้ความส�าคัญกับสิทธิมนุษยชน เสรีภาพ ประชาธิปไตย บางคนได้มีโอกาสเรียนทางไกลในระดับ
มหาวิทยาลัย และบางคนได้สมัครเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยในประเทศไทย คนเหล่านี้จะเป็นก�าลังส�าคัญส�าหรับอนาคตของประเทศ
พม่า/เมียนมาร์ ดังนั้น จึงน่าจะพิจารณาเลือกให้ท�างานการพัฒนาพื้นที่ชายแดน ท�าหน้าที่ในการสอนและฝึกอบรมคนกลุ่มต่าง ๆ
ให้มีส่วนร่วมในการพัฒนา เช่น เยาวชนอาสาสมัครการพัฒนา หรือกลุ่มพัฒนาชุมชนชายแดน หรือปฏิบัติงานในค่ายผู้ลี้ภัยเพื่อให้เข้าใจ
ถึงแนวคิดการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม ให้ความส�าคัญกับการอนุรักษ์ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม รวมทั้งฟื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่น
นอกจากนี้ ในบรรดาผู้ลี้ภัยในค่ายผู้ลี้ภัย ยังมีกลุ่มผู้ลี้ภัยที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่นับถือศาสนาอิสลาม จ�าแนกเป็น
กลุ่มย่อยหลายกลุ่ม เช่น มุสลิมพม่า มุสลิมกะเหรี่ยง มุสลิมจากรัฐอาระกัน และกลุ่มโรฮิงญา เมื่อพิจารณาจากสาเหตุการลี้ภัยของคน
กลุ่มนี้ จะเห็นได้ว่ามาจากความคับข้องใจในการถูกเลือกปฏิบัติ ถูกกลั่นแกล้งจากชาวพม่า และหวาดกลัวที่จะต้องเผชิญกับความรุนแรง
ที่มาจากชาวพุทธกลุ่มชาตินิยมหัวรุนแรง ต่อประเด็นนี้ UNHCR ได้ระบุปัญหาผู้ลี้ภัยชาวมุสลิมไว้ในแผนยุทธศาสตร์การส่งกลับคืน
ถิ่นฐานแต่ยังไม่ให้ความส�าคัญในเรื่องนี้อย่างเพียงพอ ในระหว่างที่ด�าเนินงานวิจัยนี้ได้มีปรากฏการณ์กระแสชาตินิยมชาติพันธุ์-ศาสนา
(Ethno-religious Nationalism) ในพม่า/เมียนมาร์ ทวีความเข้มข้นมากขึ้น และน�าไปสู่การใช้ความรุนแรงต่อกลุ่มมุสลิมในพม่า
โดยเฉพาะต่อกลุ่มโรฮิงญาในหลายๆ พื้นที่ ยิ่งกว่านั้นรัฐบาลพม่า/เมียนมาร์ยังไม่ยอมรับชาวโรฮิงญาเป็น “พลเมือง” ของประเทศ
และยังปล่อยกลุ่มต่อต้านชาวมุสลิมที่มีพระสงฆ์เป็นแกนน�าสามารถปฏิบัติการได้อย่างเสรี ส�าหรับผู้ลี้ภัยที่เป็นชาวมุสลิมที่มีอยู่จ�านวนมาก
พอสมควรในค่ายผู้ลี้ภัยบ้านนุโพ และบ้านแม่หละ พวกเขามีความหวาดกลัวที่จะเดินทางกลับไปประเทศต้นทาง โดยเฉพาะในพื้นที่
80 81
ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว