Page 88 - รายงานวิจัย เรื่อง ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
P. 88

ข้อเสนอแนะต่อทางเลือกเชิงนโยบาย





                  แสดงสถานะบุคคล  การออกกฎหมายให้ผู้ลี้ภัยสามารถอ้างสิทธิ์ในการขอคืนที่ดิน  ฯลฯ  หากพิจารณาข้อเรียกร้องเหล่านี้ในบริบทของ

                  สถานการณ์การเมืองในประเทศพม่า/เมียนมาร์  โดยเฉพาะตามบริเวณชายแดนที่เป็นพื้นที่ของชนกลุ่มน้อยจะเห็นได้ว่าเป็นสิ่งที่มีเหตุผล
                  และเข้าใจได้ว่าเหตุใดผู้ลี้ภัยจึงยังไม่ตัดสินใจเดินทางกลับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ลี้ภัยที่ยังมีความทรงจ�าที่เจ็บปวดจากปัญหาการสู้รบ

                  ที่เป็นสาเหตุที่ท�าให้พวกเขาต้องเลือกที่จะแสวงหาความปลอดภัยในดินแดนที่ห่างไกลจากบ้านของพวกเขา
                             ในการสัมภาษณ์ผู้ลี้ภัยและผู้น�าในค่ายผู้ลี้ภัย  ส่วนใหญ่ต่างมีความเห็นไปในท�านองเดียวกันว่า  สถานการณ์การเมืองใน
                  ประเทศพม่า/เมียนมาร์ยังมีความไม่แน่นอน การเจรจาสันติภาพที่ด�าเนินมาหลายรอบ ก็ยังไม่สามารถหาข้อตกลงร่วมกันได้

                  ในขณะเดียวกัน ยังมีการปะทะสู้รบในรัฐชนกลุ่มน้อยเกิดขึ้นบ่อยครั้ง บางครั้งเป็นการปะทะกันระหว่างกองก�าลังทหารพม่า กองก�าลัง
                  พิทักษ์ชายแดน  กับ  DKBA  บางครั้งเป็นการปะทะกันเพื่อช่วงชิงผลประโยชน์ในการคุมเส้นทางการค้า  ถึงแม้จะมีการเจรจาสันติภาพ

                  เกิดขึ้นหลายรอบ เป็นที่สังเกตว่ากองทัพพม่ายังเสริมก�าลังตั้งฐานปฏิบัติการในรัฐชนกลุ่มน้อย โดยเฉพาะในรัฐกะเหรี่ยงและรัฐคะยาห์
                  มากขึ้น มีการตั้งฐานในบริเวณวัด ถนน หรือในไร่นาใกล้ชุมชน จนเป็นที่หวาดกลัวของชาวบ้าน ในช่วงเวลา ๒-๓ ปีที่ผ่านมา กองก�าลัง
                  กองทัพพม่ายังใช้ก�าลังและอาวุธหนักปะทะโจมตีกองก�าลังถืออาวุธชนกลุ่มน้อยคะฉิ่น กองก�าลังถืออาวุธชนกลุ่มน้อยตะอาง (Ta’ang)

                  หรือดาระอั้ง  กองก�าลังถืออาวุธชนกลุ่มน้อยโกกาง  (Kokang)  และกองก�าลังถืออาวุธชนกลุ่มน้อยว้า  (Wa)  ซึ่งมีศักยภาพทางด้าน
                  การทหารที่เข้มแข็ง  สิ่งเหล่านี้น�าไปสู่ข้อกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยและความยั่งยืนในการเดินทางกลับของผู้ลี้ภัย  ทั้งนี้ยังไม่รวมถึง
                  ความรู้สึกของผู้ลี้ภัย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชนกลุ่มน้อยที่รู้สึกไม่ไว้วางใจรัฐบาลพม่า/เมียนมาร์และกองทัพพม่า ความรู้สึกเช่นนี้มาจาก

                  ประสบการณ์ในชีวิตจริงที่เขาเคยเผชิญมาก่อนแล้ว แต่ข้อกังวลที่ส�าคัญอีกเรื่องหนึ่งก็คือ ปัญหาเรื่องที่ดิน เนื่องจากผู้ลี้ภัยหลายคน
                  ได้อพยพมาอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยเป็นเวลานาน ที่ดินที่เคยครอบครองอยู่มีคนอื่นครอบครองแทนที่ไปแล้ว หรือถูกยึดไปโดยทหารพม่า
                  ที่ดินบางแห่งยังมีกับระเบิดฝังอยู่อีกด้วย  (ดูภาพที่  ๓  แผนที่แสดงพื้นที่ที่มีกับระเบิด)  ยิ่งกว่านั้น  ภายใต้ความพยายามในการเจรจา

                  หยุดยิง  มีรายงานที่น่าเชื่อถือได้ว่ามีการให้สัมปทานที่ดินระยะยาวเพื่อท�าเหมืองแร่  ปลูกยางพาราและข้าวโพด  ท�าให้ปัญหาการแย่ง
                  ยึดที่ดิน (Land Grabbing) เกิดขึ้นเป็นจ�านวนมากในรัฐชนกลุ่มน้อย






































                                                    ภาพที่ ๓ แผนที่แสดงพื้นที่ที่มีกับระเบิด

                                                   ที่มา: Karen Human Rights Group (KHRG)

 74                                                                                                                  75
 ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว               ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93