Page 94 - รายงานวิจัย เรื่อง ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
P. 94
ข้อเสนอแนะต่อทางเลือกเชิงนโยบาย
ของชาวพุทธที่มีท่าทีอคติทางชาติพันธุ์ พวกเขาได้กล่าวต่อหน้าคณะผู้วิจัยและคณะอนุกรรมการสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
เมื่อคราวไปติดตามสถานการณ์งานในค่ายผู้ลี้ภัยบ้านนุโพว่า หากจะถูกส่งกลับไปประเทศพม่า พวกเขาเลือกจะขอลี้ภัยในประเทศไทย
ถึงแม้ว่าจะอยู่ใน “คุกในประเทศไทยจนตาย” ก็ตาม
ข้อเสนอเชิงนโยบาย
ควรพิจารณาให้มีนโยบายพิเศษส�าหรับการส่งผู้ลี้ภัยชาวมุสลิมคืนกลับสู่ถิ่นฐาน โดยค�านึงถึงความปลอดภัยของ
คนเหล่านี้ หรืออาจจะมีนโยบายให้สิทธิแก่คนกลุ่มนี้ในการเปลี่ยนสถานะ และให้สิทธิในการเลือกอยู่ในประเทศไทย แต่อย่างไรก็ดี
จ�าเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการศึกษาวิจัยอย่างละเอียดในเรื่องนี้ต่อไป เพื่อให้การคุ้มครองผู้ที่มีวัฒนธรรมและการนับถือศาสนาที่แตกต่าง
ออกไป ในระหว่างที่รอคอยการส่งกลับคืนสู่ถิ่นฐานเดิม ต้องค�านึงถึงปัญหาของผู้ลี้ภัยที่อยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยที่ยังไม่สามารถเดินทางกลับคืน
สู่ถิ่นฐาน หรือไม่ได้รับอนุญาตให้ออกมาท�างานนอกค่ายได้
๕.๓ นโยบายการสร้าง “ชุมชนจินตนาการ”
ผู้ลี้ภัยที่พ�านักอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยบริเวณชายแดนไทย-พม่า ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงคะเรนนี มอญ ฉิ่น
คะฉิ่น อาระกันฉาน ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นชนกลุ่มน้อยในประเทศพม่า/เมียนมาร์ ที่มีประวัติศาสตร์ ภาษาและวัฒนธรรมที่แตกต่างไป
จากชาวพม่า (Burman) ที่เป็นชนกลุ่มใหญ่ นับตั้งแต่อังกฤษได้ให้เอกราชแก่พม่า/เมียนมาร์ และการลงนามในสัญญาปางหลวง
ชนกลุ่มน้อยเหล่านี้ต้องการที่จะอยู่ภายใต้การปกครองแบบสหพันธรัฐ (Federal Union) ที่มีรัฐชาติพันธุ์ (Ethnic State) ของตนเอง
มีอิสระในการจัดการปัญหาภายในของตนเอง โดยเฉพาะผลประโยชน์ที่มาจากทรัพยากร รวมทั้งรักษาอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์
ประวัติศาสตร์และภาษาของตน ดังนั้น จึงเป็นเหตุให้เกิดความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลที่กุมอ�านาจโดยกลุ่มชาติพันธุ์พม่าที่เป็น
ชนกลุ่มใหญ่ และน�ามาสู่การปราบปรามชนกลุ่มน้อยเหล่านี้ด้วยการใช้ก�าลังทหารที่ท�าให้ชนกลุ่มน้อยบาดเจ็บล้มตาย หมู่บ้านถูกเผา
19
ทหารพม่าใช้การข่มขืนเป็นอาวุธในการปราบปรามกดขี่ชนกลุ่มน้อยเหล่านี้ รวมทั้งมีการเกณฑ์แรงงาน ยึดที่ดิน ทรัพย์สิน ข้าวปลาอาหาร
ฝังกับระเบิด โจมตีฐานที่มั่นของกองก�าลังถืออาวุธชนกลุ่มน้อยจนแตกกระเจิง ท�าให้ประชาชนชนกลุ่มน้อยต้องอพยพหนีภัยการสู้รบ
เข้ามาพักพิงในประเทศไทย รัฐบาลยังได้ส่งกองก�าลังกองทัพพม่าเข้าไปควบคุมพื้นที่ในรัฐชาติพันธุ์ต่างๆ ความรุนแรงที่รัฐบาลพม่า/
เมียนมาร์ปฏิบัติต่อชนกลุ่มน้อย จึงสร้างความเกลียดชัง ความหวาดกลัว ความทรงจ�าที่เจ็บปวดและความไม่ไว้วางใจในหมู่ประชาชน
ชนกลุ่มน้อย และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ลี้ภัยที่ต้องหลบหนีละทิ้งถิ่นฐานออกจากประเทศพม่า/เมียนมาร์ เพื่อหาที่พักพิงที่ปลอดภัยกว่า
ในประเทศไทย
แผนยุทธศาสตร์ในการส่งผู้ลี้ภัยกลับสู่ถิ่นฐานโดยสมัครใจ ตั้งอยู่บนข้อสมมติฐานว่าผู้ลี้ภัยเหล่านี้จะสามารถ
มีชีวิตอยู่ในถิ่นฐานเดิมหรือพื้นที่ใหม่ได้ สามารถเริ่มต้นชีวิตใหม่และบูรณาการเข้าสู่สังคมพม่าได้ ทั้งนี้ UNHCR มีแผนที่จะท�าความเข้าใจ
กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ และประชาชนที่อยู่โดยรอบพื้นที่ที่ผู้ลี้ภัยจะเดินทางกลับ แต่อย่างไรก็ดี ถึงแม้ว่า UNHCR จะมียุทธศาสตร์ให้ผู้ลี้ภัย
เดินทางกลับถิ่นฐานในรูปแบบต่างๆ เช่น การเดินทางกลับคืนถิ่นฐานด้วยตนเอง หรือเดินทางกลับโดยการอ�านวยสะดวก หรือ
ด้วยการสนับสนุนของ UNHCR ก็ตาม ประเด็นที่จะต้องค�านึงถึงก็คือ ผู้ลี้ภัยที่เป็นชนกลุ่มน้อยเหล่านี้ จะมี “จินตนาการชุมชน” ร่วม
กับประชาชนชาวพม่า/เมียนมาร์ที่มีความรู้สึกยอมรับว่า พวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นชาติเดียวกันหรือไม่ บาดแผลที่ผู้ลี้ภัย
ได้รับจากกองทัพพม่าที่ปราบปรามกลุ่มชาติพันธุ์ชนกลุ่มน้อย ที่ท�าให้พวกเขาต้องสูญเสียบุคคลในครอบครัว พลัดพรากจากถิ่นที่อยู่
20
อาศัย และสูญเสียทรัพย์สินเงินทอง หรือบางราย พี่สาว น้องสาว หรือลูกสาวของพวกเขาถูกทหารพม่าข่มขืน ต้องอาศัยการ
เยียวยาอย่างจริงใจจากรัฐบาลพม่า หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง เป็นที่น่าสังเกตว่ากระบวนการสันติภาพที่ได้ด�าเนินมาตั้งแต่หลังการเลือกตั้ง
ให้ความส�าคัญกับเงื่อนไขและข้อตกลงในการหยุดยิงทั่วประเทศมากกว่าที่จะเป็นการเจรจา เพื่อหาแนวทางในการสร้างความปรองดอง
และการให้อภัย และการยอมรับความผิดพลาดทางการเมืองและการทหารที่เกิดขึ้น อีกทั้งกระบวนการเยียวยาบาดแผลจากสงคราม
ก็ไม่ได้รับการกล่าวถึง แนวคิดเรื่องสหพันธ์รัฐที่ฝ่ายกองก�าลังถืออาวุธชนกลุ่มน้อยเรียกร้องจากรัฐบาล ก็ยังไม่เป็นชัดเจนว่าจะมี
ความหมายตรงกันกับฝ่ายรัฐบาลหรือไม่ ในขณะเดียวกับที่มีการเตรียมการส่งผู้ลี้ภัยกลับคืนถิ่นฐาน แต่กองทัพพม่าก็ยังส่งก�าลังทหาร
19
Shan Women’s Action Network: SWAN 2002
20
Shan Women’s Action Network: SWAN 2002
80 81
ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว