Page 96 - รายงานวิจัย เรื่อง ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
P. 96

ข้อเสนอแนะต่อทางเลือกเชิงนโยบาย




                                             21
                  ทักษะที่จะจัดการอนาคตของตนเอง   แต่สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้จะต้องตั้งอยู่บนฐานของการมีส่วนร่วมของผู้ลี้ภัย  และการสนับสนุน
                  อย่างจริงจังของรัฐบาลพม่า/เมียนมาร์
                                  อย่างไรก็ดี แผนยุทธศาสตร์ของ UNHCR ไม่ได้ค�านึงถึงปัญหาการศึกษาของบุตรหลานของผู้ลี้ภัยในค่ายผู้ลี้ภัย และ

                  เด็กนักเรียนที่ได้เข้าเรียนในโรงเรียนระดับต่างๆ  ที่ได้รับการสนับสนุนโดยเครือข่ายศาสนา  โบสถ์  และองค์กรเอกชนระหว่างประเทศ
                  ระบบการศึกษาในค่ายผู้ลี้ภัยอยู่นอกเหนือความรับผิดชอบของหน่วยงานด้านการศึกษาของฝ่ายไทย  แต่ปัญหาส�าคัญก็คือ การศึกษาใน
                  ค่ายผู้ลี้ภัยไม่ได้รับการรับรองวุฒิการศึกษา (Accreditation) จากกระทรวงศึกษาธิการของประเทศพม่า/เมียนมาร์และประเทศไทย

                  นักเรียนที่เรียนจบการศึกษาจากโรงเรียนระดับมัธยมปลายจากค่ายผู้ลี้ภัยจึงไม่สามารถใช้วุฒิการศึกษาที่ได้รับจากโรงเรียนในค่าย
                  ผู้ลี้ภัยเพื่อการสมัครเรียนต่อหรือสมัครเข้าท�างานได้
                                  ดังนั้น การศึกษาจึงเป็นส่วนหนึ่งของความวิตกกังวลของผู้ลี้ภัยในการเดินทางกลับคืนสู่ถิ่นฐานเดิม เพราะนักเรียน

                  จากค่ายผู้ลี้ภัยไม่สามารถผ่านการสอบมาตรฐานของกระทรวงศึกษาธิการพม่า ทั้งนี้ เนื่องจากมีข้อจ�ากัดในความรู้ด้านภาษาพม่า หรือ
                  มีประสบการณ์ในการเรียนที่แตกต่างไปจากวิธีการเรียนการสอนในโรงเรียนในประเทศพม่า/เมียนมาร์ ท�าให้นักเรียนไม่มีความสุข

                  ในการเรียน ดังนั้น การเตรียมตัวกลับของนักเรียนเหล่านี้  จึงต้องค�านึงถึงการถ่ายโอนการศึกษา และรวมไปถึงการจัดท�าให้การศึกษา
                  ในค่ายผู้ลี้ภัยได้รับการรับรองคุณวุฒิการศึกษาจากรัฐบาลพม่า/เมียนมาร์ด้วย
                                  ปัญหาส�าคัญในการเตรียมการส่งกลับของนักเรียนในค่ายผู้ลี้ภัย อยู่ที่นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการของทั้งสอง

                  ประเทศที่ยังไม่มีนโยบายในการรองรับเด็กนักเรียนจากค่ายผู้ลี้ภัย ยังขาดช่องทางการประสานงานอย่างเป็นทางการของทั้งสองฝ่ายใน
                  การตรวจสอบมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนในค่ายผู้ลี้ภัย ตลอดจนการวัดผล เพื่อให้นักเรียนที่ได้รับการศึกษาจากโรงเรียนในค่ายผู้ลี้ภัย

                  มีระดับความรู้ที่เป็นที่ยอมรับของทั้งสองฝ่าย
                                  ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
                                  ผู้ลี้ภัยสมควรจะได้รับ  “สิทธิ”  ในการตัดสินใจในการกลับคืนสู่ถิ่นฐานโดยสมัครใจ  และมีส่วนร่วมในการวางแผน

                  และการจัดการอย่างจริงจังทุกขั้นตอน และได้รับข้อมูลข่าวสารเป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่อง กลุ่มสตรีผู้ลี้ภัยควรจะได้รับโอกาสอย่างเท่า
                  เทียมในการมีส่วนร่วมอย่างเป็นระบบในการวางแผนการส่งกลับคืนสู่ถิ่นฐานเดิม
                                  ปัญหาที่ดินที่จะรองรับการกลับคืนสู่ถิ่นฐาน  เป็นสิ่งที่มีความส�าคัญ  และสมควรที่ผู้ลี้ภัยจะมีส่วนร่วมในการแสวงหา

                  พื้นที่ที่เหมาะสมในการกลับคืนถิ่นฐานเป็นกลุ่ม และเริ่มจัดท�าเป็นโครงการทดลอง โดยให้ความส�าคัญต่อความปลอดภัย และความยั่งยืน
                  รวมทั้งการมีส่วนร่วมของประชาชนที่อยู่ในชุมชนที่ใกล้กับพื้นที่  นอกจากนั้น  ยังมีความจ�าเป็นอย่างเร่งด่วนที่จะหามาตรการในการ
                  แก้ปัญหาการรับรองมาตรฐานการศึกษาของเด็กนักเรียนในค่ายผู้ลี้ภัยที่จะกลับคืนสู่ถิ่นฐานเดิม



                           ๖. นโยบายการรองรับผู้ลี้ภัยที่ประสงค์จะอยู่ในประเทศไทย (Local Integration)


                             ผู้ลี้ภัยจ�านวนไม่น้อย โดยเฉพาะคนหนุ่มสาวที่เติบโตในค่ายผู้ลี้ภัย ซึ่งมีการศึกษา ทักษะ และประสบการณ์ในการท�างานที่

                  สัมพันธ์กับชาวไทย องค์กรภาคประชาสังคม และองค์กรเอกชนระหว่างประเทศ ดังนั้น พวกเขาจึงมีความคุ้นเคยกับการท�างานใน
                  องค์กรสมัยใหม่  เข้าใจความหมายของการพัฒนา  สิทธิมนุษยชน  สิทธิสตรีและประชาธิปไตย หลายคนมีทักษะที่เหมาะสมกับพื้นที่
                  ชายแดน มีเครือข่ายข้ามแดน และสามารถพูดภาษาได้หลายภาษา คนกลุ่มนี้จ�านวนมากไม่ประสงค์จะเดินทางกลับไปประเทศพม่า/

                  เมียนมาร์  ด้วยเหตุผลบางประการ  เช่น  ต้องการใช้ความรู้และประสบการณ์ในการท�างานในประเทศไทยที่ต้องการทักษะสูง  หรือ
                  ต้องการโอกาสทางการศึกษา  หรือมีเหตุผลทางการเมืองที่ไม่ต้องการกลับไปประเทศพม่า/เมียนมาร์  ผู้ลี้ภัยกลุ่มนี้น่าจะได้รับโอกาสที่
                  จะตัดสินใจว่า พวกเขาจะเลือกที่จะเดินทางกลับไปประเทศพม่า/เมียนมาร์ หรือเลือกที่จะอยู่ในประเทศไทย ยิ่งกว่านั้น ผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่





                         21
                            Mae Fah Luang Foundation, 2014: 39-40
 82                                                                                                                  83
 ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว               ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101