Page 97 - รายงานวิจัย เรื่อง ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
P. 97

บทที่ ๕



               เป็นกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง  คะเรนนี  ฉานหรือไทใหญ่  ดังนั้น  โอกาสที่จะผสมกลมกลืนกับประชาชนไทยในบริเวณชายแดน จึงเป็น
               เรื่องค่อนข้างจะเป็นไปได้ง่ายดาย เนื่องจากมีภาษาและวัฒนธรรมคล้ายคลึงกับประชากรไทยที่อยู่บริเวณชายแดน

                           แม้กระทั่งผู้ลี้ภัยที่นับถือศาสนาอิสลามก็สามารถจะผสมกลมกลืนกับประชากรชาวมุสลิมที่ตั้งรกรากอยู่ในบริเวณ
               ชายแดน และในจังหวัดต่างๆ ได้ง่าย ทั้งนี้ เนื่องจากกลุ่มมุสลิมมีเครือข่ายช่วยเหลือพี่น้องมุสลิมด้วยกันอย่างเข้มแข็ง นอกจากนั้น
               หากพิจารณาในมุมมองของประเทศไทย ปัจจุบันยังมีความต้องการก�าลังคนในการพัฒนาทั้งในภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม

               ภาคธุรกิจและบริการอย่างมาก  อย่างไรก็ดี  ผู้ลี้ภัยเหล่านี้จะต้องเปลี่ยนสถานภาพจากผู้ลี้ภัยเป็นแรงงานข้ามชาติที่เข้าเมืองอย่างถูกต้อง
               ตามกฎหมาย
                           ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
                           ควรให้โอกาสแก่ผู้ลี้ภัยมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเลือกที่จะอาศัยอยู่ในประเทศไทย ไม่กลับคืนสู่ประเทศต้นทาง ทั้งนี้

               UNHCR จะต้องให้การอ�านวยความสะดวกและสนับสนุนเช่นเดียวกับผู้ลี้ภัยที่จะเลือกเดินทางกลับคืนสู่ถิ่นฐานเดิมในประเทศพม่า/
               เมียนมาร์  จัดให้มีการฝึกอบรม  เพื่อให้ผู้ลี้ภัยเหล่านี้เข้าใจกฎหมายไทย  รวมทั้งให้ข้อมูลในการพัฒนาศักยภาพในการด�ารงชีวิต  และ
               การหางานท�าในประเทศไทย



                        ๗. ทบทวนแนวคิดเกี่ยวกับพื้นที่ “ชายแดน” และชุมชนชายแดน


                           ปัจจุบันกล่าวได้ว่า บริเวณพื้นที่ชายแดน (Borderland) ระหว่างประเทศไทยและพม่า/เมียนมาร์ ซึ่งมีเส้นเขตแดนขีดกั้น
               ระหว่างสองประเทศ กลายเป็นพื้นที่ที่มีความหมายใหม่ในบริบทของการพัฒนาและการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน แต่เดิมรัฐบาลไทย
               มองพื้นที่ชายแดนจากมุมมองของความมั่นคงของชาติ  จึงยอมให้กองก�าลังถืออาวุธชนกลุ่มน้อยเป็น  “แนวกันชน”  ตั้งฐานปฏิบัติการ
               หรือใช้หลบซ่อนกองทัพพม่า  รวมทั้งเป็นเส้นทางที่กองก�าลังเหล่านี้เข้ามาหาเสบียงอาหารหรืออาวุธยุทโธปกรณ์  ในช่วงเวลาที่กองทัพ

               พม่าได้ปราบปรามกองก�าลังถืออาวุธชนกลุ่มน้อย รัฐบาลไทยได้จัดตั้งค่ายผู้ลี้ภัยเพื่อให้ผู้ลี้ภัยจากการสู้รบเข้าพักพิงหนีภัยสงคราม และ
               พร้อมที่ผลักดันส่งกลับเมื่อเหตุการณ์สงบลง แต่ในความเป็นจริงรัฐบาลไทยยังไม่สามารถส่งผู้ลี้ภัยกลับคืนสู่ถิ่นฐานเดิมได้
                           อย่างไรก็ดี  หลังจากมีความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจของประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน�้าโขง  ที่รัฐบาลไทยเปลี่ยนท่าทีจาก

               “สนามรบ” เป็น “สนามการค้า” ในช่วง พ.ศ. ๒๕๓๐ จนกระทั่งการรวมตัวกันของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อเป็นประชาคม
               อาเซียนในระยะต่อมา ประเทศไทยได้มองเห็นความส�าคัญของการเชื่อมโยง (Connectivity) กับประเทศสมาชิกที่มีพรมแดนติดต่อกัน
               อันน�ามาซึ่งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมเชื่อมโยงเมืองส�าคัญและตลาดในภูมิภาคอาเซียน  เช่น  เส้นทาง  East-West
               Corridor หรือ North-South Corridor เป็นต้น บริเวณพื้นที่ชายแดนจึงกลายเป็นพื้นที่ที่มีความส�าคัญทางเศรษฐกิจ เป็นต้นว่า พื้นที่
               บริเวณชายแดนด้านจังหวัดกาญจนบุรี  บ้านน�้าพุร้อนได้กลายเป็นพื้นที่ที่เริ่มมีการลงทุนทางเศรษฐกิจโดยบริษัทเอกชนไทย  กับทั้งเป็น

               การเชื่อมต่อไปยังเขตอุตสาหกรรมและท่าเรือน�้าลึกทวาย พื้นที่บริเวณอ�าเภอแม่สอดกลายเป็นตลาดชายแดนและช่องทางการส่งสินค้า
               ออกไปยังประเทศพม่า/เมียนมาร์ที่มีความส�าคัญ และมีปริมาณการส่งสินค้าข้ามแดนสูงมากขึ้น รวมทั้งมีแรงงานอพยพและโรงงาน
               อุตสาหกรรมขนาดเล็กและขนาดกลางจ�านวนมาก ปัจจุบันรัฐบาลไทยได้ก�าหนดพื้นที่บริเวณชายแดนในอ�าเภอแม่สอดให้มีฐานะเป็น

               “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” มีแผนการสร้างถนนเชื่อมติดต่อกับเส้นทางสายเอเชียและมีโครงการขุดเจาะอุโมงค์เพื่อย่นระยะทางจากจังหวัด
               ตากสู่ชายแดนแม่สอดให้สั้นลง  ในขณะเดียวกัน  พื้นที่บริเวณชายแดนดังกล่าว  ก็มีการขยายการปลูกพืชเศรษฐกิจ  เช่น  ดอกกุหลาบ
               กล้วย  ผักสด  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  ข้าวโพดที่ปลูกเพื่อขายให้แก่บริษัทเกษตรอุตสาหกรรมขนาดใหญ่  กิจกรรมเหล่านี้ต้องการแรงงาน
               ในการผลิตเป็นจ�านวนมาก

                           หมู่บ้านชายแดนไทย - พม่า/เมียนมาร์ จึงเริ่มเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ที่ก�าลังจะเกิดขึ้น จากการพัฒนา
               “เขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด” และการขยายพื้นที่การปลูกพืชเศรษฐกิจในพื้นที่ราบริมฝั่งแม่น�้าและบริเวณภูเขา ซึ่งมีผลกระทบต่อ
               สิ่งแวดล้อมและการสูญเสียพื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์มากขึ้น สถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้น�าไปสู่ค�าถามว่า สมควรจะมีนโยบายในการพัฒนา

               พื้นที่ชายแดนอย่างไรจึงจะเหมาะสม และผู้ลี้ภัยเหล่านี้จะมีบทบาทอย่างไรในการพัฒนาพื้นที่ชายแดน
                           ประการแรก หากการพัฒนาพื้นที่ชายแดนให้ความส�าคัญต่อการการพัฒนาเศรษฐกิจ และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ
               โดยไม่ค�านึงถึงความยั่งยืน ผลที่จะเกิดขึ้นก็คือการสูญเสียสิ่งแวดล้อม และปัญหาความเหลื่อมล�้าทางเศรษฐกิจและสังคมที่จะมีเพิ่มมากขึ้น

             84                                                                                                                                                                                                                             85
             ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว                                                                                                                           ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102