Page 98 - รายงานวิจัย เรื่อง ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
P. 98

ข้อเสนอแนะต่อทางเลือกเชิงนโยบาย



                  ประชาชนที่อยู่บริเวณชายแดนทั้งฝั่งไทยและพม่า/เมียนมาร์  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชนกลุ่มน้อยย่อมจะเป็นผู้ได้รับผลกระทบ  ผู้ลี้ภัยที่เลือกเดิน
                  ทางกลับถิ่นฐานในบริเวณใกล้ชายแดนก็จะได้รับผลกระทบนี้ด้วยเช่นกัน

                              ประการที่สอง ผู้ลี้ภัยจะมีส่วนในการพัฒนาพื้นที่ชายแดนอย่างไร ย่อมขึ้นกับนโยบายในระหว่างที่รอการส่งกลับคืน
                  ถิ่นฐาน  ผู้ลี้ภัยน่าจะได้รับสิทธิในการออกมาท�างานนอกค่ายผู้ลี้ภัยเพื่อหารายได้ตามศักยภาพที่มีอยู่  ทั้งนี้  โดยจัดให้มีการออกบัตร
                  ประจ�าตัว  และบัตรอนุญาตให้ท�างาน  โดยอาจจะอาศัยข้อมูลจากการส�ารวจและออกบัตร  Verification  ของ  UNHCR  เพื่อการขึ้น

                  ทะเบียนเป็นแรงงาน
                              ประเด็นส�าคัญที่ควรจะพิจารณาก็คือ พื้นที่ชายแดนตั้งแต่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ตาก ราชบุรี กาญจนบุรี เป็น
                  “พื้นที่ร่วม”  ที่กลุ่มชาติพันธุ์สามกลุ่มหลัก  คือ  ฉานหรือไทใหญ่  คะเรนนีหรือกะเหรี่ยงแดง  และกะเหรี่ยงอยู่อาศัยเป็นระยะเวลา
                  หลายร้อยปี พึ่งพาอาศัยทรัพยากรธรรมชาติร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นผืนป่าหรือสายน�้า แต่การแบ่งเส้นเขตแดนของรัฐชาติได้แบ่งกลุ่ม
                  ชาติพันธุ์เหล่านี้ให้อยู่ในสองประเทศ ข้อท้าทายจึงอยู่ที่จะให้กลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้มีบทบาทในการใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างยั่งยืนได้

                  อย่างไร
                              ด้วยเหตุนี้  จึงควรพิจารณาว่าผู้ลี้ภัยที่เป็นคนหนุ่มสาวเป็นกลุ่มที่มีการศึกษาระดับหนึ่ง  ผ่านการอบรมวิชาชีพมาบ้าง
                  หลายคนสามารถพูดภาษาอังกฤษ  พม่าและภาษาไทย  รวมทั้งมีความคุ้นเคยกับบริบทของพื้นที่ชายแดนและพหุวัฒนธรรม/พหุชาติพันธุ์

                  ในบริเวณพื้นที่ชายแดน น่าจะได้รับการชักชวน ส่งเสริม สนับสนุนให้เป็นผู้ที่มีบทบาทส�าคัญในการพัฒนาพื้นที่ชายแดน นั่นคือ จะต้อง
                  จัดให้มีการอบรมให้เข้าใจถึงความจ�าเป็นในการพัฒนาชุมชนพื้นที่ชายแดน  การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ  แนวคิดเรื่องป่าชุมชน  เกษตร
                  ปลอดสารเคมี  ความมั่นคงทางอาหาร  การพัฒนาด้านสาธารณสุข  ตลอดจนแนวคิดการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม โดยอาศัยภูมิปัญญา
                  และวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ ผู้ที่ผ่านการอบรมจะมีหน้าที่เป็น “อาสาสมัคร” ที่ได้รับเงินค่าตอบแทนในการออกไปท�างาน

                  ในชุมชนชายแดนทั้งฝั่งไทยและพม่า/เมียนมาร์  เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน  และมีบทบาทในการผลักดันให้เกิดการพัฒนา
                  อย่างยั่งยืน ซึ่งอาจจะเป็นพื้นที่รองรับการเดินทางกลับไปตั้งถิ่นฐานและการกลับคืนสู่สังคมของผู้ลี้ภัย
                              ข้อเสนอเชิงนโยบาย
                              จ�าเป็นต้องมีการทบทวนแนวคิดเกี่ยวกับพื้นที่ชายแดนเสียใหม่ เพื่อสร้างความตระหนักถึงบริเวณพื้นที่ดังกล่าว

                  ที่มีความส�าคัญทั้งทางด้านเศรษฐกิจ  สังคม  วัฒนธรรม  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  ในด้านสิ่งแวดล้อม  พื้นที่ชายแดนควรจะเป็น  “ชุนชน
                  จินตนาการ” ของพลเมืองสองประเทศที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงซึ่งกันและกันในด้านต่างๆ เป็นพื้นที่พหุวัฒนธรรม/พหุชาติพันธุ์ ที่
                  ประชาชนทั้งสองฝั่งของชายแดนมีส�านึกร่วมและมีสิทธิชุมชนร่วมกัน โดยเฉพาะการหวงแหนและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และ
                  วัฒนธรรม ทั้งนี้ต้องเปลี่ยนความคิดแบบเดิมที่มองว่า ชายแดนเป็นพื้นที่ที่มีทรัพยากรที่สามารถจะขุด เจาะ หรือน�ามาใช้โดยไม่ค�านึงถึง

                  ความยั่งยืนด้วย
                              การด�าเนินการดังกล่าวต้องอาศัยความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง UNHCR และ AICHR ใน
                  การเจรจากับรัฐบาลไทยและรัฐบาลพม่า/เมียนมาร์และการสนับสนุนจากกองก�าลังถืออาวุธชนกลุ่มน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกองก�าลัง

                  KNU  และ  KnPP  เพื่อให้มองเห็นความส�าคัญของพื้นที่ชายแดน  และสิทธิในการพัฒนาพื้นที่ชายแดนอย่างจริงจัง  และน�าไปสู่ความ
                  ร่วมมือในการพัฒนาไปสู่ประชาคมอาเซียน
                              ในขณะที่พื้นที่ชายแดนอ�าเภอแม่สอดก�าลังจะถูกพัฒนาไปสู่เขตเศรษฐกิจพิเศษ ที่จะน�ามาสู่การลงทุนในการสร้าง
                  โรงงานอุตสาหกรรมจ�านวนมากโดยอาศัยแรงงานราคาถูก ควรจะให้มีทางเลือกในการพัฒนาพื้นที่ชายแดนในลักษณะที่แตกต่างออกไป
                  เช่น  การพัฒนาการเกษตรปลอดสารเคมี  เพื่อชุมชนชายแดนมีสิทธิในการเลือกแนวทางในการพัฒนา  พัฒนาระบบขนส่งที่อ�านวย

                  ความสะดวกให้ชุมชนเหล่านี้สามารถขายสินค้าในศูนย์กลางการค้าได้รวมทั้งแสวงหารูปแบบการพัฒนาชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงที่ให้
                  ความส�าคัญต่อความมั่นคงทางอาหาร
                              นอกจากนี้ จ�าเป็นจะต้องมีการจัดตั้งให้มีหน่วยงาน หรือสถาบันพัฒนาพื้นที่ชายแดนที่รับผิดชอบในการฝึกอบรมอาสา

                  สมัคร  ที่อาจจะมาจากผู้ลี้ภัยที่เลือกกลับคืนสู่ถิ่นฐานเดิมในบริเวณชายแดนและจากชุมชนชายแดน  เพื่อสร้างอุดมการณ์ในการพัฒนา
                  อย่างยั่งยืนอย่างมีเอกภาพ รวมทั้งการสร้าง “ชุมชนจินตนาการ” และสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่อย่างจริงจัง สถาบัน
                  ดังกล่าวนี้ ควรจะมีบทบาทในการศึกษาวิจัยพื้นที่ชายแดน และวิถีชีวิตของผู้คนในพื้นที่ดังกล่าวนี้ด้วย



 84                                                                                                                  85
 ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว               ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102