Page 90 - รายงานวิจัย เรื่อง ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
P. 90

ข้อเสนอแนะต่อทางเลือกเชิงนโยบาย



                              ส�าหรับภารกิจที่เกี่ยวข้องกับกรณีผู้ลี้ภัย ผู้หนีภัยจากการสู้รบและผู้แสวงหาที่พักพิง กสม. มีการด�าเนินการผ่าน
                  คณะอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง  คณะอนุกรรมการด้านสถานะบุคคลของผู้ไร้สัญชาติ  ไทยพลัดถิ่น  ผู้อพยพ

                  และชนพื้นเมือง ตลอดจนคณะอนุกรรมการปฏิบัติการยุทธศาสตร์ด้านสิทธิมนุษยชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยจัดท�า
                  ข้อเสนอแนะในการแก้ไขพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ โดยเฉพาะการน�ามาตรา ๑๗ ที่ระบุว่า “ในกรณีพิเศษเฉพาะเรื่อง
                  รัฐมนตรีโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีจะอนุญาตให้คนต่างด้าวผู้ใด หรือจ�าพวกใดเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรภายใต้เงื่อนไขใดๆ หรือจะ

                  ยกเว้นไม่จ�าเป็นต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ในกรณีใดๆ  ก็ได้”  มาใช้ในการหาช่องทางการคุ้มครองชั่วคราวส�าหรับบุคคลที่จ�าเป็น
                  ต้องอพยพ เคลื่อนย้ายในสถานการณ์ที่ไม่ปกติ
                              ส�าหรับกรณีของผู้ลี้ภัยในค่ายผู้ลี้ภัย ในพื้นที่ชายแดนไทย-พม่า/เมียนมาร์ กสม. ได้มีการติดตามสถานการณ์เป็นระยะๆ

                  รวมทั้งติดตามปัญหาสิทธิมนุษยชนของผู้หนีภัยจากการสู้รบ  และผู้แสวงหาที่พักพิงที่ได้รับการร้องเรียนมาบ่อยครั้ง  โดยยึดหลักการ
                  Non-Refoulement  หรือการไม่ส่งผู้หนีภัยจากการสู้รบ  หรือผู้แสวงหาที่พักพิงกลับโดยไม่สมัครใจ  ดังนั้น  เมื่อสถานการณ์ทางการเมือง

                  ในประเทศพม่า/เมียนมาร์เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง และเริ่มมีการเตรียมการส่งผู้ลี้ภัยกลับคืนสู่ถิ่นฐาน กสม. จึงให้ความสนใจต่อประเด็น
                  สิทธิของผู้ลี้ภัยในการมีส่วนร่วมในการเตรียมตัวส่งกลับ และได้มอบหมายให้มีการท�าการศึกษาวิจัยในเรื่องดังกล่าวนี้ ตั้งแต่ปี ๒๕๕๖
                              อย่างไรก็ดี  กระทรวงมหาดไทยซึ่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบดูแลพื้นที่ไม่อนุญาตให้ กสม. ส่งคณะผู้วิจัยเข้าไปศึกษาวิจัย

                  ในพื้นที่พักพิงชั่วคราวตามที่ร้องขอ ดังนั้น จึงต้องเปลี่ยนประเด็นการศึกษา จากการมีส่วนร่วมในการเตรียมตัวกลับถิ่นฐาน มาสู่การศึกษา
                  ทางเลือกเชิงนโยบายในการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายผู้ลี้ภัย อย่างไรก็ดี คณะอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองฯ

                  ได้ติดตามการด�าเนินการวิจัย  และได้เดินทางไปพบองค์กรเอกชน  CSOs  ที่ท�างานเกี่ยวข้องกับผู้ลี้ภัย  และเดินทางไปในค่ายผู้ลี้ภัย
                  บ้านนุโพและค่ายผู้ลี้ภัยบ้านใหม่ในสอย เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้ลี้ภัยเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัย และการเดินทางกลับ
                  คืนสู่ถิ่นฐาน ทั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่กระทรวงมหาดไทยที่รับผิดชอบค่ายผู้ลี้ภัยและกรรมการค่ายผู้ลี้ภัยทั้งสองแห่ง

                              ในการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นต่องานวิจัย เรื่อง “ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในที่พักพิง
                  ชั่วคราว”  เมื่อวันที่  ๓  กันยายน  ๒๕๕๘  ที่คณะสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  นายแพทย์นิรันดร์  พิทักษ์วัชระ  ประธาน
                  อนุกรรมการด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองได้ให้ความเห็นต่อปัญหาการจัดการผู้ลี้ภัยว่า การพิจารณาทางเลือกเชิงนโยบาย

                  การแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัย ควรให้ความส�าคัญต่อสถานการณ์โลกาภิวัตน์และหลักสิทธิมนุษยชน ปัญหาของผู้ลี้ภัยและผู้อพยพเพื่อแสวงหา
                  ที่พักพิงบริเวณชายแดนไทย-พม่า/เมียนมาร์ ไม่สามารถจะพิจารณาแค่เพียงการจัดการปัญหาผู้ลี้ภัยอย่างเดียว แต่จะต้องเข้าใจว่าเป็น
                  ปัญหาส่วนหนึ่งของกระแสโลกาภิวัตน์และเป็นผลกระทบที่เกิดจากการพัฒนาภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ จ�าเป็นต้องมองให้ทะลุใน

                  เรื่องของปัญหาของผู้ลี้ภัยซึ่งอยู่ในสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในขณะนี้  และหลักสิทธิมนุษยชนเท่านั้นที่จะแก้ไขปัญหาเรื่องผู้อพยพและผู้ลี้ภัย
                  ในโลกนี้ได้

                              ประธานอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองยังได้ให้ความเห็นอีกว่า ปัจจุบันประเทศไทยและพม่า/
                  เมียนมาร์มีความเหมือนกันที่อยู่ใต้การปกครองแบบรัฐทหารและยึดอยู่ในความคิดชาตินิยม ดังนั้น จึงมีความท้าทายอย่างยิ่งที่จะ
                  จัดการปัญหาผู้ลี้ภัยโดยยึดหลักสิทธิมนุษยชน เมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว ประเทศไทยได้ก�าหนดเขตแดนของประเทศเพื่อประกาศอ�านาจ

                  อธิปไตยของชาติ  และเพื่อป้องกันการรุกล่าของอาณานิคม  การก�าหนดเขตแดนจึงเป็นเรื่องของความมั่นคงเป็นหลัก  แต่ปัจจุบันนี้มี
                  การเปลี่ยนแปลงแนวคิดเรื่องอ�านาจอธิปไตยเหนือดินแดน  เขตแดนกลายเป็นพื้นที่ของการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ  และการเติบโต

                  ของการค้าข้ามแดน  มีการอพยพเคลื่อนย้ายของประชากรข้ามเขตแดนมากขึ้น  ดังนั้น  ต้องค�านึงถึงหลักสิทธิมนุษยชนเป็นหลักการ
                  ส�าคัญของการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน แต่กระนั้นก็ดี ประชาคมอาเซียนก็ยังไม่สามารถบรรลุถึงเป้าของการเป็น One Community ได้
                  เพราะยังมีปัญหาการยึดติดอยู่กับผลประโยชน์ของรัฐชาติ  ยิ่งกว่านั้นยังมีแนวโน้มที่จะให้ความส�าคัญกับสังคมชาติพันธุ์เดียว  ไม่ยอมรับ

                  ลักษณะความเป็นพหุสังคม พหุชาติพันธุ์








 76                                                                                                                  77
 ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว               ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95