Page 92 - รายงานวิจัย เรื่อง ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
P. 92
ข้อเสนอแนะต่อทางเลือกเชิงนโยบาย
๕. ข้อเสนอแนะทางเลือกเชิงนโยบาย
๕.๑ ความจ�าเป็นที่ต้องเปลี่ยนมุมมองต่อผู้ลี้ภัย
คณะผู้วิจัยมีความเห็นว่า การไม่เข้าร่วมภาคีอนุสัญญาสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑ ท�าให้รัฐบาลไทยไม่ยอมรับว่า
มีผู้ลี้ภัยแต่เรียกบุคคลเหล่านี้ว่า ผู้หนีภัยการสู้รบ การนิยามเช่นนี้มีความส�าคัญอย่างยิ่งต่อการปฏิบัติที่ค�านึงถึงสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพ
รวมไปถึงการก�าหนดนโยบายในการส่งพวกเขากลับคืนสู่ถิ่นฐาน ในกรณีที่ผู้ลี้ภัยเดินทางออกนอกค่ายผู้ลี้ภัย บุคคลเหล่านี้จะถือว่า
เป็นผู้เข้าเมืองผิดกฎหมายตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒
เมื่อรัฐบาลไทยไม่ได้นิยามบุคคลเหล่านี้ว่าเป็นผู้ลี้ภัย หรือเป็นผู้หนีภัยสงคราม การประหัตประหาร และความ
รุนแรงจากการสู้รบ ดังนั้น จึงจัดหาพื้นที่พักพิงให้พ�านักอาศัย อยู่ในความดูแลของกระทรวงมหาดไทย และให้ความช่วยเหลือทางด้าน
มนุษยธรรม โดยรัฐบาลไทยพร้อมที่จะส่งผู้ลี้ภัยกลับคืนสู่ถิ่นฐานเดิม เมื่อเหตุการณ์ในประเทศต้นทางเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น
ผู้ลี้ภัยเหล่านี้จึงอยู่ในสภาวะของบุคคลที่อยู่ในพื้นที่พิเศษ ในด้านหนึ่ง พวกเขาถูกมองจากรัฐบาลพม่าว่าเป็นฝ่ายกบฏที่อยู่ข้างหรือเป็น
ส่วนหนึ่งของกองก�าลังถืออาวุธชนกลุ่มน้อย ในความเป็นจริง ผู้ลี้ภัยจ�านวนไม่น้อยที่เป็นสมาชิกในครอบครัวของทหารในกองก�าลัง
ถืออาวุธชนกลุ่มน้อยบางคนเป็นทหารที่เคยสู้รบกับกองทัพพม่ามาก่อน ในอีกด้านหนึ่ง พวกเขาก็ไม่สามารถเป็นส่วนหนึ่งของสังคม
ไทยได้ เนื่องจากมีสถานะเป็นผู้ลี้ภัยจากการสู้รบที่จะต้องถูกส่งกลับคืนถิ่นฐานเดิม การให้นิยามเช่นนี้ จึงเท่ากับเป็นการกักขังและตรึง
บุคคลเหล่าให้อยู่พื้นที่พิเศษทางกายภาพและสังคม ที่ส�าคัญก็คือ ท�าให้ผู้ลี้ภัยในค่ายผู้ลี้ภัยกลายเป็นเพียงผู้รับความช่วยเหลือทางด้าน
มนุษยธรรม และรอคอยการส่งกลับคืนสู่ถิ่นฐานของตน ซึ่งยังไม่สามารถจะก�าหนดว่าจะเกิดขึ้นได้เมื่อใด
การให้ค�านิยามผู้ลี้ภัยดังกล่าวนี้ ตั้งอยู่บนแนวคิดความมั่นคงของรัฐที่อยู่เบื้องหลังพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง ที่ท�า
ให้เกิดมาตรการสกัดกั้นผู้อพยพข้ามแดนในรูปแบบต่างๆ ที่ต้องการมาแสวงหาโอกาสที่ดีกว่า หรือหนีภัยสงคราม UNHCR ที่ได้เข้ามา
ดูแลผู้ลี้ภัยในค่ายผู้ลี้ภัยจึงต้องอนุโลมตามนิยามที่ใช้โดยรัฐบาลไทย UNHCR จ�าแนกผู้ลี้ภัยในค่ายผู้ลี้ภัยในฐานะที่เป็น “ผู้ที่ได้รับ
การคุ้มครอง” และอยู่ในระหว่างการเตรียมตัวเดินทางไปประเทศที่สาม หรือส่งกลับคืนสู่ถิ่นฐานเมื่อสถานการณ์ทางการเมืองใน
ประเทศพม่า/เมียนมาร์คลี่คลายลง ดังนั้น จึงได้แบ่งผู้อาศัยในค่ายผู้ลี้ภัยออกเป็นกลุ่มที่ขึ้นทะเบียน ไม่ขึ้นทะเบียน รวมทั้งจ�าแนก
เป็นกลุ่ม Pre-screening แต่การให้ค�านิยามและคัดแยกผู้ลี้ภัยออกเช่นนี้ เท่ากับเป็นการมองผู้ลี้ภัยในลักษณะที่ไม่จ�าแนกแยกแยะ
ตามลักษณะทางเศรษฐกิจ สังคม ชาติพันธุ์ ศาสนา และเพศ เป็นการมองข้ามความแตกต่างหลากหลายของผู้ลี้ภัย และมองข้าม
ศักยภาพของผู้ลี้ภัยที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนา แต่เป็นการจ�าแนกประเภทของผู้ลี้ภัยตามสาเหตุของการลี้ภัย
ถึงแม้ว่าผู้ลี้ภัยที่มีการศึกษาสูง มีความรู้ความสามารถในด้านต่างๆ และมีความรู้ภาษาอังกฤษค่อนข้างดีส่วนหนึ่ง
ได้ถูกคัดเลือกให้เดินทางไปประเทศที่สามแล้วก็ตาม แต่ผู้ลี้ภัยที่ยังเหลืออยู่ในค่ายจ�านวนไม่น้อย ก็เป็นผู้ที่มีภูมิปัญญาและมีศักยภาพที่จะ
พัฒนาให้เป็นบุคลากรที่สามารถท�าประโยชน์ให้แก่ผู้ลี้ภัยด้วยกันเอง หรือชุมชนที่อยู่บริเวณชายแดนที่ยังต้องการการพัฒนาอีกมาก
ข้อเสนอเชิงนโยบาย
ควรมีการทบทวน (Rethinking) การให้ค�านิยามความหมายของผู้ลี้ภัย ที่ไม่เป็นการกักขัง ให้ผู้คนเหล่านี้
ต้องกลายเป็นผู้ที่จะต้องถูกก�าหนดให้อยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยเท่านั้น แต่ควรเปิดโอกาสให้บุคคลเหล่านี้มีสถานะที่ได้รับการอนุญาตให้ออกมา
ท�างานภายนอกค่ายผู้ลี้ภัยได้ โดยมีขอบเขตจ�ากัด มีใบอนุญาต (Working Permit) ทั้งนี้ เพื่อไม่เป็นบุคคลที่รอถูกจ�ากัดให้อยู่ในพื้นที่
พิเศษ และรอคอยแต่ความช่วยเหลือเท่านั้น
ผู้ลี้ภัยที่อยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยทั้ง ๙ ค่าย อาศัยอยู่มาเป็นระยะเวลานาน อยู่ในสถานะของการเป็นผู้รอคอยความ
ช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมเป็นส่วนใหญ่มาโดยตลอด ถึงแม้จะมีโอกาสได้รับข้อมูลข่าวสารจากภายนอก แต่ก็ตกอยู่ในสภาพที่ไม่ได้รับ
การส่งเสริมศักยภาพเพื่อการพัฒนา ดังนั้น จึงควรทบทวน (Rethinking) แนวคิดการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ให้เหมาะ
สมกับสถานการณ์ใหม่ การทบทวนและเปลี่ยนวิธีคิดต่อผู้ลี้ภัยใหม่เช่นนี้ จะท�าให้เปลี่ยนมุมมองที่มีต่อผู้ลี้ภัยให้เป็นผู้ที่มี “ศักยภาพ”
ที่จะมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ มีส่วนร่วมในการพัฒนาการด�ารงชีพของตนเอง ภายใต้ข้อจ�ากัดด้านกฎหมาย และการเมือง โดยนัยนี้
78 79
ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว