Page 89 - รายงานวิจัย เรื่อง ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
P. 89

บทที่ ๕



                           แต่อย่างไรก็ดี  อาจจะกล่าวได้ว่าผู้ลี้ภัยจะมีความห่วงใยในความปลอดภัยในการเดินทางกลับคืนถิ่นฐานบ้านเกิดของตนเอง
               ในระดับที่แตกต่างกัน ส�าหรับผู้ลี้ภัยจ�านวนหนึ่งที่อพยพมาจากหมู่บ้านใกล้พรมแดนได้เดินทางข้ามพรมแดนไป-มา เพื่อดูแลที่ดินและ

               พืชผลของตนเองที่ได้ปลูกไว้ บางคนข้ามไปดูลาดเลาว่าจะกลับไปภูมิล�าเนาของตนได้หรือไม่ หรือบางคนไปจับจองที่ดินเพื่อเตรียมตัวกลับ
               ทั้งนี้  เนื่องจากที่ดินเริ่มกลายเป็นที่ต้องการมากขึ้น  ในกรณีของค่ายผู้ลี้ภัยบ้านใหม่ในสอย  องค์การด้านการศึกษาของคะเรนนี  เช่น
               KnCC  ได้หาสถานที่ตั้งโรงเรียนในรัฐคะยาห์  ที่เมืองทิโมโซเพื่อเตรียมรับนักเรียนที่ต้องการเรียนในระดับ  Post-ten  คณะผู้วิจัยมี

               ข้อสังเกตว่าการกลับไปหาที่ดินท�ากินน่าจะเป็นไปได้ง่ายส�าหรับผู้ที่มีญาติพี่น้องหรือคนรู้จักในพื้นที่ใกล้ชายแดน แต่ส�าหรับผู้ที่อพยพมาจาก
               พื้นที่ที่ห่างไกลชายแดนอาจจะเป็นไปได้ยาก อย่างไรก็ดี ถึงแม้จะมีความไม่ชัดเจนและความห่วงกังวลในความปลอดภัยในการกลับคืน
               สู่ถิ่นฐาน ปรากฏว่า ผู้ลี้ภัยจ�านวนหนึ่งเริ่มอพยพกลับถิ่นฐานของตนเองโดยสมัครใจ ในทางกลับกัน ก็ปรากฏว่าในระยะ ๓-๔ ปีที่ผ่านมา

               มีผู้ลี้ภัยอีกจ�านวนไม่น้อยที่อพยพเข้ามาพ�านักในค่ายผู้ลี้ภัยเพื่อโอกาสทางการศึกษา และโอกาสทางเศรษฐกิจ ข้อมูลจากการบรรยายสรุป
               ของตัวแทนฝ่ายไทยที่ค่ายผู้ลี้ภัยบ้านนุโพ เมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๘ ระบุว่า มีผู้ลี้ภัยซึ่งเป็นกลุ่มผู้เข้ามาใหม่ (New Arrivals)

               จ�านวน ๖,๕๔๖ คน
                           ถึงแม้ว่า จะมีผู้ลี้ภัยเริ่มเดินทางกลับคืนสู่ไปประเทศต้นทางบ้างแล้ว และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการเตรียมการส่ง
               ผู้ลี้ภัยกลับคืนมาตุภูมิ  ข้อเท็จจริงก็คือ  ยังมีผู้ลี้ภัยอีกจ�านวนประมาณ  ๑๑๐,๐๐๐  คน  ซึ่งจะต้องพ�านักอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยอีกเป็นระยะ

               เวลานาน    เพื่อรอให้มีการหยุดยิงทั่วประเทศ  และการเจรจาทางการเมือง  (Political  Dialogue)  ดังนั้น  การด�าเนินการส่งผู้ลี้ภัย
               กลับคืนสู่มาตุภูมิคงจะไม่เกิดขึ้นในระหว่างรอสถานการณ์ทางการเมืองคลี่คลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คงจะไม่สามารถเป็นไปได้

               ในระหว่างการเตรียมการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในปลายปีนี้  แต่การเลือกตั้งอาจจะเป็นแรงจูงใจที่ท�าให้ผู้ลี้ภัยจ�านวนหนึ่งเลือกที่จะเดินทาง
               กลับสู่ถิ่นฐานของตน อย่างไรก็ดี หลังจากการเลือกตั้งรัฐบาลใหม่คงต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งในการส่งผู้ลี้ภัยเดินทางกลับ ดังนั้น ผู้ลี้ภัย
               จ�านวนดังกล่าวคงจะต้องอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยในบริเวณชายแดนไทย-พม่า/เมียนมาร์อีกเป็นระยะหนึ่ง

                           ประเด็นส�าคัญก็คือ  ในระหว่างที่รอการส่งกลับคืนสู่ถิ่นฐานเดิม  ผู้ลี้ภัยเหล่านี้อยู่ในสภาพอย่างไร  ผู้ลี้ภัยที่ยังอยู่ในค่าย
               ผู้ลี้ภัยบางส่วนอาจจะรอการเดินทางไปประเทศที่สาม  เพราะผ่านการคัดกรองแล้ว  แต่ส่วนใหญ่ต้องเผชิญกับปัญหาหลัก  ๒  ประการ
               คือ การลดอาหารปันส่วน  ซึ่งอาจจะไม่มีผลกระทบมากนักกับผู้ที่มีงานท�าในค่ายผู้ลี้ภัย เช่น เปิดร้านค้า ขายอาหาร ขนม เครื่องใช้

               ในชีวิตประจ�าวัน และเครื่องดื่มเล็กๆ น้อยๆ หรือท�างานให้กับองค์กรเอกชนระหว่างประเทศ ซึ่งมีจ�านวนลดน้อยลงตามล�าดับ แต่ส�าหรับ
               ผู้ลี้ภัยที่ไม่มีช่องทางหารายได้อื่น หรือไม่มีญาติพี่น้อง ที่ส่งเงินมาจุนเจือ การลดอาหารปันส่วนจึงมีผลกระทบมาก และเป็นเสมือนสัญญาณ
               ที่บ่งถึงการปิดฉากค่ายผู้ลี้ภัยที่ก�าลังใกล้เข้ามา ส่วนปัญหาอีกด้านหนึ่ง ก็คือการที่ไม่สามารถออกไปท�างานนอกค่ายผู้ลี้ภัย ซึ่งมีความ

               เข้มงวดมากขึ้น หลังจากรัฐบาลไทยอยู่ภายใต้ คสช. การเดินทางเข้า-ออกค่อนข้างล�าบาก จึงมีผลกระทบต่อการกินอยู่ อาหารประทังชีวิต
               เพราะผู้ลี้ภัยต้องเผชิญกับการลดจ�านวนอาหารปันส่วน

                           ต่อสถานการณ์ดังกล่าวมาข้างต้น มีความจ�าเป็นที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของฝ่ายรัฐบาล และองค์กรเอกชนระหว่าง
               ประเทศ เช่น UNHCR จ�าเป็นจะต้องพิจารณาหาทางเลือกเชิงนโยบายต่อการส่งกลับผู้ลี้ภัย โดยพิจารณาจากสถานการณ์ในพื้นที่
               ตลอดจนพัฒนาการของพื้นที่บริเวณชายแดนที่ก�าลังเปลี่ยนแปลงอันเนื่องจากนโยบายการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน




                        ๔. บทบาทและแนวทางของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ


                           คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  (กสม.)  มีกลไกสนับสนุนการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและมียุทธศาสตร์การขับเคลื่อน
               งานที่เป็นประเด็นส�าคัญตามบริบทหรือสถานการณสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในการตรวจสอบกรณีร้องเรียน
               การจัดท�าข้อเสนอเชิงนโยบาย ซึ่งครอบคลุมถึงสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ สิทธิของกลุ่มสตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ คนไร้รัฐ

               แรงงานข้ามชาติและอื่นๆ ดังนั้น จึงถือว่ามีบทบาทค่อนข้างกว้างขวางและครอบคลุมปัญหาสิทธิมนุษยชนทั้งในประเทศ และ
               ข้ามพรมแดน




             76                                                                                                                                                                                                                             77
             ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว                                                                                                                           ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94