Page 95 - รายงานวิจัย เรื่อง ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
P. 95
บทที่ ๕
เข้าไปคุมพื้นที่ในรัฐชาติพันธุ์เป็นจ�านวนมาก ข่าวการปะทะระหว่างกองทัพพม่าและกองก�าลังถืออาวุธชนกลุ่มน้อยยังเกิดขึ้นและรับรู้
ในหมู่ของผู้ลี้ภัยอยู่เสมอ
ข้อเสนอเชิงนโยบาย
ปัญหาการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนในชาติ ที่ประกอบด้วยชนกลุ่มน้อยต่างๆ เป็นเรื่องที่มีความ
ส�าคัญอย่างยิ่งในกระบวนการส่งผู้ลี้ภัยกลับคืนสู่ถิ่นฐาน เพราะไม่ใช่เป็นเรื่องของการวางมาตรการคุ้มครองผู้ลี้ภัยในการเดินทางกลับคืน
สู่มาตุภูมิ หรือการหาพื้นที่ในการด�ารงชีวิตอย่างปลอดภัยและยั่งยืน ซึ่งเป็นเรื่องของการจัดการและการอ�านวยความสะดวก แต่ยัง
เป็นเรื่องของ “ศักดิ์ศรี” ของผู้ลี้ภัย และการสร้าง “จินตนาการชุมชน” หรือส�านึกร่วมในการกลับคืนมาตุภูมิ ที่จะเป็นพื้นฐานของ
การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น UNHCR ฝ่ายรัฐบาลพม่า/เมียนมาร์ พรรคการเมือง กองก�าลังถืออาวุธ
ชนกลุ่มน้อย องค์กรภาคประชาสังคม สื่อมวลชน นักวิชาการจะต้องร่วมกันหาทางที่จะท�าให้เกิดสิ่งนี้อย่างจริงจัง ที่ส�าคัญก็คือ ผู้ลี้ภัย
จะต้องมีส่วนร่วมในกระบวนการนี้
๕.๔ นโยบาย Re-integration ของผู้ลี้ภัย
การส่งผู้ลี้ภัยกลับคืนสู่ถิ่นฐานจะต้องค�านึงถึงการบูรณาการใหม่ (Re-integration) ของผู้ลี้ภัย และการสานความ
สัมพันธ์ใหม่กับชุมชนใกล้เคียงในพื้นที่ที่ก�าหนดให้เป็นที่ตั้งถิ่นฐานใหม่ กรณีของพื้นที่ริมฝั่งแม่น�้าทะนินยารินหรือตะนาวศรี และพื้นที่
ตรงข้ามกับอ�าเภออุ้มผาง การบูรณาการเข้ากับพื้นที่ และประชาชนที่อยู่อาศัยในพื้นที่นั้นมาก่อน อาจจะไม่เป็นปัญหานัก เพราะใน
กรณีแรก บริเวณที่ดินริมฝั่งแม่น�้าทะนินยารินหรือตะนาวศรีเป็นพื้นที่ป่าที่อยู่ภายใต้เขตความรับผิดชอบของกองพลที่ ๔ ของ KNU
ผู้ลี้ภัยน่าจะได้รับการคุ้มครองจากกองก�าลังดังกล่าว กับทั้งยังสามารถพัฒนาพื้นที่เพื่อการเกษตรได้ง่าย และอยู่ใกล้แหล่งน�้า ดังที่ได้
กล่าวมาแล้วข้างต้น ส่วนกรณีพื้นที่ตรงข้ามอ�าเภออุ้มผางเป็นพื้นที่ที่มีชาวกะเหรี่ยงตั้งบ้านเรือนอยู่ก่อนแล้ว ความสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์
น่าจะท�าให้เกิดการบูรณาการใหม่ หรือกลับคืนสู่สังคมเดิม (Re-integration) เป็นไปได้ง่ายขึ้น แต่จะต้องมีการท�าความเข้าใจกับชุมชน
ที่อยู่มาก่อนให้ยอมรับ รวมทั้งจะต้องให้ชุมชนเหล่านี้ได้รับประโยชน์ด้วยเช่นกัน มิฉะนั้น อาจจะเกิดปัญหาว่าผู้อยู่มาก่อนกลับได้รับ
สิทธิต่างๆ น้อยกว่าผู้ที่มาอยู่ใหม่
ส่วนในกรณีของผู้ลี้ภัยชาวคะเรนนี ที่ได้มีการระบุถึงพื้นที่สองแห่งที่คาดว่าจะเป็นพื้นที่รองรับการตั้งถิ่นฐานนั้น
อาจจะมีปัญหาในเรื่องความปลอดภัย เนื่องจากมีกองก�าลังถืออาวุธชนกลุ่มน้อย BGF อยู่รอบพื้นที่ ๔-๕ หน่วย อย่างไรก็ดี ในขณะนี้ยัง
ไม่มีข้อมูลเพียงพอว่าชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ทั้งสองแห่งจะมีปฏิกิริยาอย่างไร หากมีผู้ลี้ภัยเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ด้วย จ�าเป็นที่กองก�าลัง KnPP
จะต้องสร้างความเข้าใจกับชุมชนเหล่านี้ ก่อนมีการตั้งถิ่นฐานและการส่งผู้ลี้ภัยกลับ
การที่จะส่งผู้ลี้ภัยกลับคืนถิ่นฐานแบบนี้ ซึ่งเป็นการส่งกลับโดยสมัครใจและจ�าเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องค�านึงถึงทัศนะ
ของคนในพื้นที่ด้วย ทั้งนี้ เพราะคนในพื้นที่บางแห่งมองว่าผู้ลี้ภัยเป็นผู้ที่ไม่อยู่ร่วมทุกข์ร่วมสุข ไม่อยู่ร่วมต่อสู้กับพวกเขาเมื่อภัยมา
แต่เลือกที่จะหนีความทุกข์ร้อน ความขัดแย้งโดยอพยพไปหาที่พักพิงในฝั่งไทย เมื่อสถานการณ์ดีขึ้นก็จะเดินทางกลับมา ท�าให้เกิด
ความหวาดระแวงจะต้องแบ่งพื้นที่ท�ากินหรือทรัพยากรให้ผู้ลี้ภัยที่จะกลับมา นอกจากนี้ พวกเขาก็มีข้อมูลเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยบางรายที่ขาย
ที่ดินของตนและอพยพมาอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัย โดยหวังจะได้ไปประเทศที่สาม กรณีเช่นนี้ยิ่งท�าให้พวกเขาไม่ยินดีต่อการกลับมาของผู้ลี้ภัย
กลุ่มนี้นัก โดยเฉพาะหากจะต้องแบ่งที่ดินและทรัพยากรให้แก่คนเหล่านี้ ซึ่งน่าจะไม่ยุติธรรมส�าหรับพวกเขาที่ปกป้องและยืนหยัดอยู่บน
แผ่นดินแม่มาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น จึงจ�าเป็นจะต้องมีการตรวจสอบข้อมูลของคนในพื้นที่ให้ชัดเจนเสียก่อน
แผนยุทธศาสตร์ของ UNHCR ได้มีรายละเอียดในการเตรียมตัวส่งกลับ การคุ้มครองดูแลระหว่างการเดินทาง
รวมทั้ง มีการให้ความช่วยเหลือพื้นฐานแก่ผู้ลี้ภัยจนสามารถด�ารงชีวิตได้อย่างยั่งยืน ในรายงานการส�ารวจของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง
ซึ่งด�าเนินให้แก่ UNHCR เสนอแนะแนวทางไว้ ๓ ขั้นตอน คือ ก) การอยู่รอด คือการจัดหาสิ่งจ�าเป็นพื้นฐานเพื่อให้หลุดพ้นจากความ
อดอยาก ข) ความพอเพียง เพื่อให้มีความมั่นคงทางอาหาร มีรายได้พอเพียง มีโครงสร้างสาธารณสุขพื้นฐานและการศึกษา ค) ความ
ยั่งยืน คือ มีรายได้จากการอดออม มีการลงทุน มีการสร้างตลาด เชื่อมโยงกับภายนอก มีการพัฒนาระดับการศึกษาให้สูงขึ้น และมี
82 83
ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว