Page 91 - รายงานวิจัย เรื่อง ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
P. 91

บทที่ ๕



                           เมื่อพิจารณาถึงบทบาทของ กสม. โดยเฉพาะในช่วง ๖ ปีที่ผ่านมา กสม. ได้ให้ความส�าคัญต่อการตรวจสอบการละเมิด

               สิทธิมนุษยชนข้ามพรมแดน เช่น การลงทุนของนักธุรกิจไทยในเขตเศรษฐกิจทวาย หรือการลงทุนท�าเหมืองแร่ที่พม่า การลงทุนใน
               อุตสาหกรรมน�้าตาลที่เกาะกง ประเทศกัมพูชา การพัฒนาเศรษฐกิจข้ามพรมแดนดังกล่าว ท�าให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน

               ข้ามพรมแดน และมีส่วนท�าให้เกิดปัญหาผู้อพยพผู้ลี้ภัยมากขึ้น ดังนั้น ในการพิจารณาปัญหาผู้ลี้ภัย และผู้แสวงหาที่พักพิง ปัญหาการ
               อพยพแรงงานจึงเกี่ยวโยงกับการพัฒนาในกระแสโลกาภิวัตน์ในระบบทุนเสรีนิยมใหม่

                           ในทัศนะของประธานอนุกรรมการสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ควรมีหลักการในการจัดการปัญหาผู้ลี้ภัย ดังนี้

                           ประการแรก จ�าเป็นต้องยึดหลักสิทธิในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมของความเป็นชุมชน ชุมชนคนไทยและพม่าที่อยู่
               บริเวณชายแดนควรค�านึงถึง  “ความเป็นชุมชน”  ที่อยู่บนหลักพื้นฐานของการท�ามาหากิน  ที่ยึดหลักภูมิปัญญาท้องถิ่น  และยึดหลัก

               มิติด้านวัฒนธรรม  รวมถึง  “สิทธิชุมชน”  ซึ่งเป็นสิ่งที่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญไทย  “สิทธิชุมชน”  แสดงให้เห็นถึงการมีสิทธิในการ
               ด�ารงชีวิตของพลเมือง มีสิทธิในการตัดสินใจอนาคตของตนเอง ว่าต้องการจะด�ารงวิถีชีวิตอย่างไร สิทธิตรงนี้มีความส�าคัญ ที่จะน�าไป

               สู่การออกแบบจินตนาการของความเป็นชุมชนที่ไกลกว่าความเป็นรัฐชาติเดียว  เป็นชุมชนพหุสังคม  พหุวัฒนธรรม  เพื่อการอยู่ร่วมกัน
               อย่างสันติ  ไม่เกิดปัญหาการรบราฆ่าฟันของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ  ซึ่งจะช่วยให้หลีกพ้นจากปัญหาการอพยพลี้ภัยของพลเมืองทั้งสอง
               ประเทศได้

                           ประการที่สอง องค์กรทั่วโลกได้ยกระดับความส�าคัญในเรื่อง  “สิทธิในการพัฒนา”  โดยเฉพาะสิทธิในการพัฒนาของ
               กลุ่มประเทศที่ก�าลังพัฒนา  จะต้องไปให้ไกลถึงนโยบายการพัฒนาที่มาจากระบบทุนข้ามชาติ  ประเทศไทยขณะนี้กลับเข้าสู่รัฐทหาร

               มีการประกาศเขตเศรษฐกิจพิเศษที่อ�าเภอแแม่สอด จังหวัดตาก โดยค�าสั่งมาตรา ๔๔ ของ คสช. กันเขตพื้นที่กว่า ๒,๐๐๐ ไร่ เป็นเขต
               เศรษฐกิจพิเศษ เพื่อให้นักธุรกิจมาลงทุนในที่ ๒,๐๐๐ ไร่นี้ ในขณะที่ชุมชนคนไทยประมาณ ๑๐๐ กว่าครอบครัวที่อยู่มานานกว่า ๑๐๐ ปี
               จะต้องอพยพออกไป สิ่งที่จะเกิดที่เขตเศรษฐกิจทวาย ซึ่งมีเนื้อที่มากกว่าเขตอุตสาหกรรมมาบตาพุด ๑๐-๑๕ เท่า เป็นปัญหา “สิทธิ

               ในการพัฒนา” ดังนั้น จึงมีความจ�าเป็นต้องยกระดับให้เป็นสิทธิในการเสนอนโยบายการพัฒนาที่มั่นคงและยั่งยืน หรือให้มีความสมดุล
               ของการพัฒนาที่ยอมรับความเจริญด้านเศรษฐกิจและวัฒนธรรมชุมชนของคนในพื้นที่ไปด้วยกัน ต้องท�าให้เห็นว่าการพัฒนาเป็นสิ่งที่มี
               นโยบายพื้นฐานที่ค�านึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนตามแนวชายแดน

                           ประการสุดท้าย “สิทธิการมีส่วนร่วม” ของผู้ลี้ภัย จะต้องถือว่าเป็นปัจจัยชี้ขาดในยุทธศาสตร์การส่งผู้ลี้ภัยกลับคืน
               สู่ถิ่นฐานการมีส่วนร่วมของผู้ลี้ภัยในการตัดสินใจว่าจะกลับคืนสู่ถิ่นฐานเดิมในประเทศพม่า/เมียนมาร์  หรือจะอยู่ในประเทศไทย  หรือ
               เลือกที่จะไปอยู่ในประเทศที่สามเป็นสิ่งที่ส�าคัญยิ่ง  ดังนั้น  จึงไม่จ�าเป็นต้องยึดติดกับข้อตกลงในการหยุดยิง  องค์กรระดับนานาชาติ

               จึงต้องมีหน้าที่เข้ามาผลักดัน  มิฉะนั้นแล้ว  ก็จะมีค่ายผู้ลี้ภัยไปตลอดนิรันดร์กาล  ดังนั้น  UNHCR  หรือองค์กรระดับภูมิภาคต้องเห็น
               ความส�าคัญของการตัดสินใจของผู้ลี้ภัย  หากการตัดสินใจโดยผู้ลี้ภัยทั้ง  ๙  ค่าย  ที่มีจ�านวนแสนกว่าคนไม่มีความหมาย  การจัดการ

               ปัญหาก็ไม่มีความเหมายเช่นกัน  ผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่ที่เป็นคนรุ่นใหม่อาจจะไม่ต้องการกลับคืนสู่ถิ่นฐาน  เพราะเขาไม่มีความคิดถึงชุมชน
               ในประเทศพม่า/เมียนมาร์  ที่เขาไม่เคยอยู่มาก่อน  หากพวกเขาต้องการอยู่ประเทศไทยหรือเลือกเดินทางไปประเทศที่สาม  ก็ควรจะ
               ท�าให้พวกสามารถเลือกหรือตัดสินใจตามความต้องการของเขาได้ นั่นคือ  สิทธิการมีส่วนร่วมของผู้ลี้ภัยเป็นสิ่งที่ส�าคัญ ดังนั้น ในการ

               จัดการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยจึงต้องยึดหลักสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะการค�านึงถึง “สิทธิชุมชน เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม” ของผู้ลี้ภัย
               ที่เมื่อกลับคืนสู่ถิ่นฐานเดิมแล้ว  สามารถมีงานท�า  มีชีวิตอยู่ได้อย่างปลอดภัย  มีสิทธิในการพัฒนาที่เท่าเทียมกัน  ไม่ถูกรุกรานในด้าน

               เศรษฐกิจ
                           โดยสรุป คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีความมุ่งมั่นที่จะร่วมกับรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน
               ของผู้ลี้ภัย ตลอดจนสร้างความร่วมมือในภูมิภาคอาเซียน









             78                                                                                                                                                                                                                             79
             ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว                                                                                                                           ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96