Page 87 - รายงานวิจัย เรื่อง ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
P. 87
บทที่ ๕
ถึงแม้ว่ารัฐบาลพม่า/เมียนมาร์จะมีความตั้งใจในการสนับสนุนการเดินทางกลับคืนสู่ถิ่นฐานของผู้ลี้ภัย แต่ในทางปฏิบัติ
ก็ยังไม่มีมาตรการในเรื่องนี้อย่างชัดเจน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะรัฐบาลพม่า/เมียนมาร์ (ในขณะที่โครงวิจัยก�าลังสิ้นสุดลง ต้นปี ๒๕๕๙)
ยังไม่สามารถจะด�าเนินการตาม Road Map ของกระบวนการสันติภาพ (Peace Process) เพื่อน�าไปสู่การลงนามหยุดยิงทั่วประเทศ
ดังที่คาดหมายไว้ได้ ถึงแม้ว่าจะมีการเจรจาหยุดยิงกับกองก�าลังถืออาวุธชนกลุ่มน้อยบางกลุ่มแล้วก็ตาม ประเด็นที่การเจรจาสันติภาพ
ยังไม่บรรลุผล มาจากทางฝ่ายรัฐบาลยังไม่ยอมรับข้อเสนอของฝ่ายกองก�าลังถืออาวุธชนกลุ่มน้อย ที่ต้องการให้รัฐบาลพม่า/เมียนมาร์
ยอมรับกองก�าลังถืออาวุธชนกลุ่มน้อยติดอาวุธ ๑๗ องค์กรทั้งหมดเข้าร่วมในการเจรจาหยุดยิงบนหลักการของ Inclusivity ในขณะที่
ฝ่ายรัฐบาลยืนยันไม่ยอมรับกองก�าลังถืออาวุธชนกลุ่มน้อยบางกลุ่ม นอกจากนั้น กองทัพพม่ายังต้องการให้วางอาวุธเมื่อมีการหยุดยิง
แต่ฝ่ายกองก�าลังถืออาวุธชนกลุ่มน้อยกลับไม่เห็นด้วยกับเงื่อนไขดังกล่าว ที่ส�าคัญก็คือ รัฐบาลพม่า/เมียนมาร์ถือว่าปัญหาผู้พลัดถิ่น
ภายในประเทศซึ่งมีจ�านวนมากกว่าผู้ลี้ภัยที่อยู่ในประเทศไทยเป็นปัญหาที่มีความจ�าเป็นเร่งด่วนกว่า ผู้น�าองค์กรกองก�าลังถืออาวุธ
ชนกลุ่มน้อย และสมาชิกของคณะเลขานุการของคณะกรรมการประสานงานในการเจรจาสันติภาพฝ่ายกองก�าลังถืออาวุธชนกลุ่มน้อย
ที่ได้ให้สัมภาษณ์กับคณะผู้วิจัยได้ให้ข้อสังเกตว่า ประเด็นการส่งผู้ลี้ภัยกลับคืนสู่ถิ่นฐานไม่ได้อยู่ในการเจรจาสันติภาพแต่อย่างใด
พวกเขาคาดว่า ประเด็นนี้น่าจะน�ามาหารือกันหลังจากเมื่อมีการเจรจาหยุดยิงทั่วประเทศ
การส่งผู้ลี้ภัยกลับคืนสู่ประเทศภูมิล�าเนาเป็นปัญหาที่มีความละเอียดอ่อน และจ�าเป็นต้องค�านึงถึงความปลอดภัย
ความยั่งยืน ศักดิ์ศรี ตลอดจนการมีส่วนร่วมของผู้ลี้ภัย เป็นที่น่าสังเกตว่า หน่วยงานที่ท�าหน้าที่เกี่ยวข้องกับการส่งผู้ลี้ภัยกลับคืนสู่ถิ่นฐาน
มักจะมีทัศนะว่า เมื่อสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศพม่า/เมียนมาร์คลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้นแล้ว มีความปลอดภัยเพียงพอที่
ผู้ลี้ภัยจะเดินทางกลับถิ่นฐานบ้านเกิดของตนได้ เหตุใดผู้ลี้ภัยเหล่านี้จึงยังไม่อยากที่จะเดินทางกลับ แต่ส�าหรับผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่
สถานการณ์ในพม่า/เมียนมาร์ยังอยู่ในระยะเริ่มต้น และพวกเขาพร้อมที่จะกลับคืนสู่มาตุภูมิเมื่อมีสันติภาพอย่างแท้จริง (Genuine
Peace) พวกเขายังรอว่าจะมีมาตรการใดที่จะท�าให้พวกเขามีความมั่นใจ เช่น การได้สิทธิในการกลับไปใช้ที่ดินเดิมของตน รวมทั้ง
เรียกร้องการมีส่วนร่วมในการส่งกลับ องค์กรภาคประชาสังคมถึงกับมีค�าขวัญใช้เป็นข้อเรียกร้องในการรณรงค์เพื่อการมีส่วนร่วมว่า
Nothing about us without us แต่หน่วยงานดังกล่าวกลับมีความเห็นว่า ผู้ลี้ภัยอาจจะได้รับการชี้น�าจากหน่วยงานหรือผู้น�า
จนท�าให้เกิดแบบแนวคิด (Mindset) เช่นนี้ ดังนั้น จึงใช้ข้ออ้างว่ายังไม่มีความปลอดภัย หรือยังไม่มีสันติภาพที่แท้จริงในประเทศพม่า/
เมียนมาร์ เป็นที่น่าสังเกตว่า ในการส�ารวจของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงที่ด�าเนินการให้กับ UNHCR พบว่าผู้ลี้ภัยในค่ายผู้ลี้ภัยบ้านแม่สุริน
18
และค่ายผู้ลี้ภัยบ้านใหม่ในสอย ร้อยละ ๕๐ จะตัดสินใจ ตามผู้น�าของตน อย่างไรก็ดี จะต้องเข้าใจว่าผู้ลี้ภัยในค่ายผู้ลี้ภัยแต่ละค่าย
อยู่ในบริบททางการเมืองที่แตกต่างกัน ดังนั้น ความคิดเห็นของผู้ลี้ภัยในแต่ละค่ายจึงมีความแตกต่างกันในการประเมินสถานการณ์
ทางการเมือง รวมทั้งโอกาสทางเศรษฐกิจในพื้นที่ที่ผู้ลี้ภัยประสงค์จะเดินทางกลับในแต่ละพื้นที่ เป็นต้นว่าผู้ลี้ภัยในค่ายผู้ลี้ภัยบ้านใหม่
ในสอยได้ส�ารวจพบพื้นที่ที่อาจจะใช้เป็นที่ตั้งถิ่นฐานใหม่ของพวกเขาในรัฐคะยาห์ แต่ปรากฏว่าพื้นที่ดังกล่าวถูกครอบครองด้วยกอง
ก�าลังท้องถิ่น หรือกองก�าลังพิทักษ์ชายแดน (Border Guard Forces) ทั้งนี้ เพราะเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพที่จะพัฒนาทางเศรษฐกิจ
องค์กรภาคประชาสังคม (Civil Society Organization: CSO) ที่ท�างานด้านผู้ลี้ภัย มีความเห็นท�านองเดียว
กับผู้ลี้ภัย กรณี KWO ได้มีค�าแถลงการณ์เรียกร้องให้มีการมีส่วนร่วมของผู้ลี้ภัยในการเตรียมการและด�าเนินการส่งกลับคืนสู่ถิ่นฐาน
อย่างแท้จริง รวมถึงเสนอให้สร้างความเข้าใจร่วมกันทั้งฝ่ายผู้ลี้ภัย และชุมชนใกล้เคียงที่ผู้ลี้ภัยจะเดินทางกลับไปอยู่อาศัย ตลอดจน
เรียกร้องให้ค�านึงถึงบทบาทของผู้หญิงในกระบวนการนี้ ข้อเรียกร้องของ KWO ให้ความส�าคัญในด้านความมั่นคงทางด้านกายภาพ
(Physical Security) ดังนั้น จึงต้องการให้ถอนกองก�าลังทหารพม่าออกจากพื้นที่ท�ากิน ในพื้นที่ไร่สวน หรือถนนที่อยู่ติดกับชุมชน
นอกจากนั้น ยังมีข้อห่วงกังวลต่อปัญหากับระเบิด ฯลฯ รวมทั้งความมั่นคงทางกฎหมาย (Legal Security) เช่น บัตรประจ�าตัว
18
เพิ่งอ้าง, ๒๐๑๔
74 75
ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว