Page 86 - รายงานวิจัย เรื่อง ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
P. 86

ข้อเสนอแนะต่อทางเลือกเชิงนโยบาย







                              ที่ผ่านมา UNHCR ได้มีบทบาทส�าคัญร่วมกับรัฐบาลไทยในการประสานงานกับประเทศที่สามที่ประสงค์จะรับผู้ลี้ภัย

                  ไปตั้งถิ่นฐานใหม่ มีการคัดกรองผู้ลี้ภัย และฝึกอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้ลี้ภัยเพื่อเดินทางไปประเทศที่สาม ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๙-
                  ๒๕๕๘ ปรากฏว่ามีผู้ลี้ภัยจาก ๙ ค่ายประมาณ ๑๐๓,๒๓๔ คนที่ได้เดินทางไปตั้งถิ่นฐานใหม่ในประเทศที่สาม นอกจากนี้ ยังมีผู้ลี้ภัย
                  อีกจ�านวนหนึ่งที่ได้รับการคัดกรองและเตรียมความพร้อมแล้ว ผ่านกระบวนการ Fast Track อยู่ในขั้นตอนการรอที่จะเดินทางไป
                             15
                  ประเทศที่สาม   แต่อย่างไรก็ดี  มีข้อสังเกตว่าในระยะหลัง  ผู้ลี้ภัยที่ประสงค์จะเดินทางไปตั้งถิ่นฐานในประเทศที่สามมีจ�านวนลดน้อยลง
                  ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะว่าผู้ลี้ภัยบางคนได้เริ่มเดินทางกลับคืนสู่ถิ่นฐานเดิมของตนแล้ว หรือเป็นเพราะผู้ลี้ภัยประสงค์จะเดินทาง
                  ไปยังประเทศที่มีระบบสวัสดิการที่ดี  แต่ประเทศเหล่านี้ไม่เปิดรับผู้ลี้ภัยเพิ่มหรือเปิดรับจ�านวนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น  ขณะที่ประเทศ

                  ที่เปิดรับผู้ลี้ภัยให้ไปตั้งรกรากใหม่จ�านวนมาก เช่น สหรัฐอเมริกา กลับไม่ค่อยมีผู้ลี้ภัยสมัครใจไป ทั้งนี้ เนื่องจากเห็นว่ามีสวัสดิการให้
                  ในระยะสั้น ๆ ด้วยเหตุนี้ จึงยังไม่มีการยื่นขอเดินทางไปตั้งถิ่นฐานใหม่




                           ๓. ทางเลือกในการเดินทางกลับคืนสู่มาตุภูมิและแผนยุทธศาสตร์
                               (Strategic Roadmap) ของ UNHCR


                              เป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไปในผู้ลี้ภัยว่า พวกเขามีทางเลือกอนาคตของตนเองอยู่ ๓ ทาง คือ ก) เดินทางไปประเทศที่สาม

                  ข) การเดินทางกลับคืนสู่ถิ่นฐานของตนเอง และ ค) การเลือกที่จะอยู่ในประเทศไทย ผู้ลี้ภัยได้เริ่มค�านึงถึงทางเลือกในอนาคตของตน
                  บางรายประเมินความเป็นไปได้ของการกลับคืนถิ่นฐานของตนโดยการเดินทางไปดูพื้นที่ที่ประเทศพม่า/เมียนมาร์ หรือบางคนได้กลับ
                  ไปหาที่ดินที่จะใช้เพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่  หรือเริ่มลองปลูกพืชบางชนิดไว้  ดังที่ได้กล่าวไว้ในบทก่อน  แต่ผู้ลี้ภัยจ�านวนมากยังไม่ได้ตัดสินใจ

                  เพราะไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน กับทั้งยังได้ยินข่าวการปะทะกันระหว่างกองก�าลังทหารพม่าและกองก�าลังถืออาวุธชนกลุ่มน้อยอยู่เสมอ
                  ดังนั้น เพื่อตรวจสอบความคิดเห็นและความต้องการของผู้ลี้ภัย หลายหน่วยงานได้ส�ารวจความคิดเห็นของผู้ลี้ภัยต่อประเด็นนี้

                  ส�านักข่าว Karen News ได้รายงานว่า คณะกรรมการค่ายผู้ลี้ภัยบ้านถ�้าหินได้ส�ารวจความคิดเห็นของผู้ลี้ภัยในค่ายผู้ลี้ภัยเมื่อปี
                  พ.ศ. ๒๕๕๖ และพบว่าในจ�านวนผู้ลี้ภัย ๖,๑๙๕ คน มีผู้ลี้ภัยตอบว่าต้องการไปประเทศที่สาม ร้อยละ ๔๖ ต้องการกลับประเทศพม่า
                                                                                                     16
                  ร้อยละ ๒๗ ส่วนอีกร้อยละ ๒๗ ของผู้ลี้ภัยในค่ายผู้ลี้ภัยแห่งนี้ประสงค์จะอยู่ในชายแดนไทย-พม่า/เมียนมาร์  ในปี พ.ศ. ๒๕๕๗
                  มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง  ได้ท�าการส�ารวจความคิดเห็นผู้ลี้ภัย  จ�านวน  ๑๐๙,๙๙๑  คน  พบว่าร้อยละ  ๒๒  ได้ยื่นเรื่องเพื่อไปตั้งหลักแหล่ง
                  ในประเทศที่สามแล้ว  ที่เหลือยังไม่ได้ด�าเนินการ  ในจ�านวนนี้มีผู้ลี้ภัย  ๔๓,๕๘๓  คน  ที่ปรารถนาที่จะไปประเทศที่สาม  แต่ยังไม่ได้

                  ยื่นเรื่องแสดงความจ�านง และในจ�านวนนี้มีสถานะเป็นผู้ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน (Unregistered) ร้อยละ ๗๓ และปรากฏว่ามีผู้ลี้ภัยร้อยละ
                                             17
                  ๑๘ ก�าลังอยู่ในระหว่างการตัดสินใจ  เป็นที่น่าสังเกตว่าข้อมูลดังกล่าวนี้ สอดคล้องความเห็นของ CSOs ที่ท�างานเกี่ยวข้องกับผู้ลี้ภัยว่า
                  ผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะตัดสินใจ  โดยเฉพาะข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ในพม่า/เมียนมาร์  ส่วนผู้ลี้ภัยที่เป็นผู้สูงอายุ

                  มักจะเป็นกลุ่มที่ตัดสินใจล�าบากว่าจะไปอยู่ประเทศที่สามดีหรือไม่  แม้ว่าตนเองมีบัตร  UN  ที่พร้อมจะเดินทางไปได้ก็ตาม  ส่วนใหญ่
                  อยากกลับไปยังถิ่นฐานบ้านเกิดของตน  เนื่องจากมีความผูกพันกับ  “บ้าน”  ของตน  และวิตกกังวลในการปรับตัว หากเดินทางไปอยู่
                  ในประเทศที่สาม ส่วนคนหนุ่มสาววัยท�างานเป็นกลุ่มที่ต้องการไปประเทศที่สาม แต่มีจ�านวนไม่น้อยที่ต้องการอยู่ในประเทศไทย








                         15
                             IOM 2015 อ้างใน TBC 2015: 10-11
                         16
                            Karen News, กรกฎาคม ๒๕๕๖
                         17
                           Mae Fah Luang Foundation, 2014
 72                                                                                                                  73
 ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว               ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91