Page 85 - รายงานวิจัย เรื่อง ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
P. 85

บทที่ ๕






                   ข้อเสนอแนะต่อทางเลือก

                   เชิงนโยบาย






                        ๑. การเดินทางกลับคืนสู่มาตุภูมิของผู้ลี้ภัย


                           นับแต่ผู้ลี้ภัยได้เข้ามาอาศัยในค่ายผู้ลี้ภัยที่รัฐบาลไทยได้จัดขึ้น รัฐบาลไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

               UNHCR ได้มีแนวคิดและแสวงหาความเป็นไปได้ในการจะจัดส่งผู้ลี้ภัยกลับคืนสู่ถิ่นฐานของตนเองโดยสมัครใจมาโดยตลอด ถึงแม้ว่า
               ยังไม่ได้จัดตั้งระบบการส่งผู้ลี้ภัยกลับคืนสู่ถิ่นฐานก็ตาม  ทั้งนี้  เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศพม่า/เมียนมาร์ในห้วงเวลา
               ๒-๓  ทศวรรษที่ผ่านมายังไม่มีความชัดเจน  อย่างไรก็ดี  หลังจากที่มีการเลือกตั้งและจัดตั้งรัฐบาลพลเรือนในปี  พ.ศ.  ๒๕๕๓  และเริ่ม

               การเจรจาสันติภาพระหว่างรัฐบาลพม่า/เมียนมาร์และกองก�าลังถืออาวุธชนกลุ่มน้อย  ท�าให้หลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องเริ่มมองเห็นการคลี่คลาย
               ปัญหาผู้ลี้ภัยที่อยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยในประเทศไทย รายงานของ UNHCR (2015) ได้คาดการณ์ด้วยความมั่นใจว่าสถานการณ์มีแนวโน้ม
               ที่จะเปลี่ยนแปลงในปีหน้า “ทั้งรัฐบาลไทยและรัฐบาลพม่า/เมียนมาร์ได้เน้นย�้าความตั้งใจในการสนับสนุนการเดินทางกลับคืนสู่มาตุภูมิ

               ด้วยความสมัครใจในแนวทางเดียวกับมาตรฐานสากลและหลักสิทธิมนุษยชน” แต่การด�าเนินการส่งผู้ลี้ภัยกลับคืนถิ่นฐานของตนยังไม่
               สามารถเกิดขึ้นได้จริง ดังนั้น UNHCR และองค์กรเอกชนระหว่างประเทศที่ท�างานด้านผู้ลี้ภัย จึงหันมาให้ความส�าคัญกับ “การเตรียม

               ความพร้อม” (Preparedness) ของผู้ลี้ภัย UNHCR ได้จัดท�าแผนยุทธศาสตร์ในการเดินทางกลับคืนสู่มาตุภูมิในระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๕๘-
               ๒๕๖๐  ซึ่งประกอบด้วยหลักยุทธศาสตร์  แบ่งออกเป็น  ๕  ขั้นตอนในการอ�านวยความสะดวกให้ผู้ลี้ภัยเดินทางกลับคืนสู่มาตุภูมิโดย
               สมัครใจ มีความปลอดภัยและมีศักดิ์ศรี แต่ก่อนที่จะกล่าวถึงขั้นตอนเหล่านี้ จ�าเป็นต้องกล่าวถึงสถานการณ์ของผู้ลี้ภัยในการตั้งถิ่นฐานใหม่

               การจ�าแนกรูปแบบในการกลับคืนสู่ถิ่นฐานของผู้ลี้ภัยที่ยังอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัย และประเภทของผู้ลี้ภัยในค่ายผู้ลี้ภัยที่เป็นข้อมูลพื้นฐาน
               เสียก่อน




                        ๒. การจ�าแนกกลุ่มผู้ลี้ภัยของ UNHCR


                           UNHCR ได้จ�าแนกผู้ลี้ภัยในค่ายผู้ลี้ภัยออกเป็น ๓ กลุ่ม คือ
                           กลุ่มแรก คือ กลุ่มที่ลี้ภัยเข้ามาในประเทศไทยและพ�านักอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยก่อนปี พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งมีการขึ้นทะเบียนและ

               ได้รับบัตรประจ�าตัว หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าบัตร UN ผู้ลี้ภัยกลุ่มนี้มักจะเรียกกันว่า Registered Refugees
                           กลุ่มที่สอง คือ ผู้ลี้ภัยที่สามารถเข้าสู่กระบวนการคัดกรองเบื้องต้น (Pre-Screening) เพื่อยื่นค�าขอเดินทางไปประเทศ
               ที่สาม  หากมีเหตุผลความจ�าเป็นทางการเมือง หรือด้วยเหตุผลของการขอติดตามไปสมทบร่วมกับสมาชิกครอบครัวคนอื่นที่ไปตั้งหลัก

               แหล่งในประเทศที่สามก่อนแล้ว (Family Re-unification)
                           กลุ่มที่สาม คือ ผู้ลี้ภัยที่เข้ามาพักอาศัยในค่ายผู้ลี้ภัยหลังจากปี พ.ศ. ๒๕๔๘ ถือว่าเป็นผู้ที่มิได้ลี้ภัยเข้ามาในประเทศ
               ด้วยสาเหตุของการสู้รบหรือความรุนแรง ความขัดแย้งทางการเมืองจากประเทศพม่า/เมียนมาร์ UNHCR ถือว่าเป็นผู้ลี้ภัยประเภท

               ผู้แสวงหาที่พักพิง ดังนั้น จึงถือว่าผู้ลี้ภัยกลุ่มนี้ เป็น Unregistered Refugees ทั้งนี้ ผู้ลี้ภัยในค่ายผู้ลี้ภัยทั้งที่ได้ขึ้นทะเบียนและไม่ขึ้น
               ทะเบียนกับ UNHCR จะมีชื่อปรากฏในทะเบียนของกระทรวงมหาดไทยด้วยเช่นกัน









             72                                                                                                                                                                                                                             73
             ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว                                                                                                                           ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90