Page 77 - รายงานวิจัย เรื่อง ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
P. 77
บทที่ ๔
นอกจากนี้ มีการเตรียมการด้านอื่น ๆ เช่น การเสริมทักษะอาชีพให้แก่ผู้หญิง เพื่อให้มีความสามารถเท่าเทียม
กับผู้ชาย KWO ได้วางแผนไว้ว่า หากมีการส่งกลับประเทศพม่า/เมียนมาร์ พวกเขาจะรวบรวมผู้หญิงและจัดตั้งเป็นบริษัทธุรกิจเกี่ยวกับ
ผ้าทอ เป็นการน�าเอาภูมิปัญญากะเหรี่ยงมาพัฒนาเป็นธุรกิจ
ง. การเตรียมการส่งกลับอีกประการหนึ่ง คือ การติดตามข้อมูลข่าวสารด้านการเมือง สังคม และเศรษฐกิจใน
ประเทศพม่า/เมียนมาร์อย่างใกล้ชิด
ดังที่พบเห็นเสมอ ๆ ว่า ผู้ลี้ภัยจะติดตามการเปลี่ยนแปลงในประเทศพม่า/เมียนมาร์ ผ่านสัญญาณดาวเทียม
คนเหล่านี้บางคนเคยเป็นอดีตทหาร KNU เป็นครูสอนศาสนา เป็นผู้น�าชุมชนในประเทศพม่า/เมียนมาร์ ก่อนที่จะย้ายมายังค่ายผู้ลี้ภัย
จึงมีความสนใจและติดตามการเปลี่ยนแปลง และกระบวนการสันติภาพในประเทศพม่า/เมียนมาร์อย่างต่อเนื่อง เพื่อน�าไปสู่การประเมิน
ความเสี่ยงในการเดินทางกลับประเทศต้นทาง
๓. การมีส่วนร่วมของผู้ลี้ภัยในการเสนอทางเลือก
โดยทั่วไปแล้วต้องถือว่า UNHCR ได้มีการเตรียมการเพื่อการส่งผู้ลี้ภัยกลับประเทศพม่า/เมียนมาร์มาโดยตลอด และ
จัดการด�าเนินการส�ารวจ และมอบ verification card ให้แก่บุคคลที่ถูกส�ารวจ ในช่วงต้นปี พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นส่วนหนึ่งของการ
เตรียมตัวส่งผู้ลี้ภัยกลับประเทศต้นทาง ผู้ลี้ภัยได้ให้สัมภาษณ์ว่ามีเจ้าหน้าที่จาก UNHCR แจ้งให้ผู้ลี้ภัยทราบว่ามีการเตรียมการส่งกลับ
แต่ไม่ได้เข้ามาสอบถามความคิดเห็นในลักษณะที่มีส่วนร่วมในการวางแผนว่า จะไปที่ไหน มีความปลอดภัยหรือไม่ เป็นต้น ผู้ลี้ภัยใน
ค่ายผู้ลี้ภัยบ้านใหม่ในสอยกล่าวว่า การชี้แจงที่ผ่านมามักจะใช้ภาษาพม่า (ส�าเนียงย่างกุ้ง) ผู้ลี้ภัยซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไม่สามารถเข้าใจ
สิ่งที่เจ้าหน้าที่ UNHCR ต้องการจะสื่อสารได้ และไม่เปิดโอกาสให้มีการซักถาม กรณีตัวอย่างเช่น หัวหน้าค่ายผู้ลี้ภัยแห่งหนึ่งได้เล่าให้
ฟังว่า เจ้าหน้าที่ UNHCR มักมีเวลาจ�ากัดในการชี้แจง บางครั้งมีเวลาเพียงครึ่งชั่วโมงในการประชุม ท�าให้ผู้ลี้ภัยไม่สามารถซักถาม หรือ
มีส่วนร่วมในการให้ข้อคิดเห็นต่อข้อเสนอของ UNHCR
กรณีของ TBC ที่มีนโยบายลดอาหารปันส่วนอย่างต่อเนื่องในช่วง ๒ ปีที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าไม่ได้มีวัตถุประสงค์ที่จะผลักดัน
ให้ผู้ลี้ภัยเตรียมตัวกลับประเทศต้นทาง แต่ก็เป็นที่เข้าใจกันว่า เป็นเงื่อนไขที่ท�าให้ผู้ลี้ภัยต้องคิดถึงทางเลือกอื่น ๆ ที่จะท�าให้พวกเขา
สามารถด�ารงชีวิตได้ ขณะเดียวกัน TBC ได้ชี้แจงว่า การลดอาหารปันส่วนนั้นมาจากประเทศผู้บริจาคได้ลดงบประมาณให้ความ
ช่วยเหลือในภาพรวมลง เนื่องจากต้องน�างบประมาณส่วนหนึ่งไปช่วยเหลือผู้ลี้ภัยในประเทศอื่น ๆ ที่มีปัญหารุนแรงมากกว่า กรณี
ตัวอย่างนี้แสดงให้เห็นว่า การก�าหนดนโยบายความช่วยเหลือ การลดอาหารปันส่วนนี้ผู้ลี้ภัยไม่ได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น
การหาทางออกอื่น ๆ แต่พวกเขาต้องยอมรับการตัดสินใจนี้
กรณีของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งเจ้าหน้าที่กรมการปกครองเป็นผู้รับผิดชอบดูแลค่ายผู้ลี้ภัยเหล่านี้ ได้มีการเสนอทางเลือก
ให้ผู้ลี้ภัย ๓ ทางเลือก คือ กลับประเทศต้นทาง ไปประเทศที่สาม และอยู่ประเทศไทยต่อไป ซึ่งจะน�าไปสู่การปฏิบัติหรือไม่ ยังไม่มี
แนวทางที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม ในพื้นที่ค่ายผู้ลี้ภัยบ้านนุโพ ปลัดอ�าเภอหัวหน้าค่ายผู้ลี้ภัยบ้านนุโพได้บรรยายในวันที่ ๑๕ กรกฎาคม
๒๕๕๘ ซึ่งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้ตรวจเยี่ยมพื้นที่ว่า ตนเองและผู้ลี้ภัยจ�านวนหนึ่งได้ไปส�ารวจพื้นที่บริเวณชายแดน
ฝั่งประเทศพม่า/เมียนมาร์และเห็นว่ามีหมู่บ้านกะเหรี่ยงอยู่บริเวณนั้น ซึ่งยินดีให้ผู้ลี้ภัยมาตั้งถิ่นฐาน อีกทั้งมีที่ดินและน�้าที่สามารถใช้
ในการเกษตรได้ กรณีนี้น่าจะเป็นตัวอย่างหนึ่งของการมีส่วนร่วมของผู้ลี้ภัยในการเดินทางกลับประเทศต้นทาง
64 65
ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว