Page 79 - รายงานวิจัย เรื่อง ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
P. 79
บทที่ ๔
UNHCR มีข้อสันนิษฐานว่า ปลายปี พ.ศ. ๒๕๕๘ นี้ ผู้ลี้ภัยจ�านวนมากจะเริ่มเดินทางกลับประเทศพม่า/เมียนมาร์
หากสถานการณ์เป็นไปตามเกณฑ์และตามความคาดหมาย UNHCR จะด�าเนินการให้การสนับสนุนการเดินทางกลับอย่างเต็มรูปแบบ
ในช่วงต้นปี พ.ศ. ๒๕๕๙ การเดินทางกลับคืนสู่ถิ่นฐานของผู้ลี้ภัยนี้ ส่วนใหญ่จะเดินทางกลับไปถิ่นก�าเนิดของตนเอง แต่อาจจะ
ไม่จ�าเป็นต้องเป็นพื้นที่ดั้งเดิม ผู้ลี้ภัยอาจจะเลือกเดินทางกลับไปยังพื้นที่ที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นในเขตเมืองหรือในพื้นที่ที่เป็นพื้นที่เดิม
หรือพื้นที่ใหม่ รวมทั้งพื้นที่ที่ใกล้บริเวณชายแดนไทย-พม่า/เมียนมาร์ แต่อย่างไรก็ดี UNHCR ได้ระบุถึงเงื่อนไขที่ส�าคัญประการหนึ่ง คือ
ประเด็นสิทธิการครอบครองที่ดิน ที่อาจจะเป็นอุปสรรคส�าคัญต่อการกลับถิ่นฐานอย่างยั่งยืน
ในขณะเดียวกัน UNHCR ได้วางเกณฑ์มาตรฐานส�าหรับการเดินทางกลับทั้ง ๒ ประเภท ซึ่ง UNHCR จะเป็น
ผู้อ�านวยความสะดวก เช่น การมีข้อตกลงจากฝ่ายเจ้าหน้าที่เมียนมาร์เพื่อรับผู้ลี้ภัยกลับถิ่นฐานเดิม และมีกระบวนการตรวจสอบว่า
มีการจัดเตรียมการเดินทางกลับพร้อมหรือไม่ โดยจะต้องมีการยืนยันจาก UNHCR ว่าพื้นที่ไม่มีเกณฑ์เสี่ยงที่จะถูกคุกคาม นอกจากนั้น
ยังระบุเงื่อนไขเกี่ยวกับสถานที่ที่เหมาะสมในการพักอาศัยอย่างถาวร ดังนั้น จึงมีความจ�าเป็นที่จะต้องมีการประชุมแลกเปลี่ยนความ
คิดเห็นระหว่างผู้ลี้ภัย ชุมชนในท้องถิ่นที่เป็นเขตพื้นที่ที่ผู้ลี้ภัยเดินทางกลับไปตั้งถิ่นฐาน มีแผนปฏิบัติในการเดินทางกลับมาตุภูมิอย่าง
ยั่งยืน การได้รับโอกาสในการด�ารงชีวิต หากมีการจัดสรรที่ดิน ผู้ลี้ภัยจะต้องมีสิทธิในการครอบครองที่ดินนั้นๆ ตามระบบการจัดสรร
ที่ดินอย่างเป็นทางการ หรือไม่เป็นทางการก็ตาม
ส�าหรับการเดินทางกลับที่จะได้รับการสนับสนุนจาก UNHCR หรือ Promoted Repatriation ที่เป็นการกลับ
ถิ่นฐานโดยสมัครใจอย่างเต็มรูปแบบ UNHCR จะเริ่มกระบวนการเมื่อมีการบรรลุเงื่อนไขทางกฎหมายและเกิดความปลอดภัยในชีวิต
และทรัพย์สินของผู้ลี้ภัยทั่วพื้นที่ตะวันออกเฉียงใต้ของพม่า/เมียนมาร์ เช่น จะต้องมีการประกาศใช้ข้อตกลงหยุดยิง มีกรอบการท�างาน
ในการด�าเนินการเกี่ยวกับกับระเบิด โดยท�าสัญลักษณ์แสดงที่ตั้งของกับระเบิดในเส้นทางการเดินทาง รวมทั้งให้ความรู้ในเรื่องกับ
ระเบิดศึกษา และมีข้อตกลงสามฝ่ายในการส่งผู้ลี้ภัยกลับ
เป็นที่น่าสังเกตว่า UNHCR ได้มีการเตรียมการและก�าหนดยุทธศาสตร์ในการด�าเนินการส่งกลับ โดยแบ่งออกเป็น
๕ ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นการด�าเนินการที่ ๑ การเตรียมความพร้อม
ตามแผนยุทธศาสตร์ จะต้องมีการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือเสวนากลุ่มกับผู้น�าผู้ลี้ภัยและชุมชนผู้ลี้ภัย
ในระดับต่างๆ ในเรื่องการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน การตอบค�าถามผู้ลี้ภัย ให้ความรู้เรื่องกับระเบิดและฝึกอาชีพ ตั้งกลไกในการประสาน
ในการเดินทางกลับโดยสมัครใจและการประชุมทวิภาคีกับรัฐบาลไทย รวมทั้ง UNHCR ในฝั่งพม่า/เมียนมาร์ จะต้องมีการจัดการระบบน�้า
ระบบสุขาภิบาล การป้องกันความรุนแรงทางเพศ การเตรียมพื้นที่เป้าหมาย การฝึกอบรมให้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ กองก�าลังถืออาวุธ
ชนกลุ่มน้อย องค์กรชุมชนและภาคประชาสังคม ซึ่งจะด�าเนินการในปี พ.ศ. ๒๕๕๘
ขั้นการด�าเนินงานที่ ๒ การให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยที่เดินทางกลับด้วยตนเอง
UNHCR ประเมินว่าในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ที่ผ่านมา มีผู้ลี้ภัยที่เดินทางกลับด้วยตนเองประมาณ ๕,๐๐๐ คน เช่นเดียว
กับผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ และระบุว่าตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ มีสถานที่ ๘๒ แห่งที่ได้รับการรับรองจาก UNHCR ว่ามีผู้พลัดถิ่นภายใน
ประเทศ และ/หรือผู้ลี้ภัยได้เดินทางกลับไปพ�านักอาศัย โดยจะให้ความช่วยเหลือและแจกจ่ายเครื่องอุปโภค เพื่อเป็นการสร้างความ
เชื่อมั่นแก่ผู้ลี้ภัยที่ก�าลังคิดจะเดินทางกลับถิ่นฐานเดิม
ขั้นการด�าเนินการที่ ๓ การอ�านวยความสะดวกในการเดินทางกลับ
UNHCR จะใช้ขั้นการด�าเนินการนี้อ�านวยความสะดวกให้แก่ผู้ลี้ภัยที่จะเดินทางกลับด้วยตนเองในรูปแบบของบุคคล
หรือกลุ่มภายใต้การบริหารจัดการโดยตัวผู้ลี้ภัยเอง โดยมีการเจรจาต่อรองกับกองก�าลังถืออาวุธชนกลุ่มน้อยและเจ้าหน้าที่รัฐบาล
66 67
ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว