Page 80 - รายงานวิจัย เรื่อง ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
P. 80

การเตรียมการส่งกลับ






                  ส่งผลให้เกิดการได้มาซึ่งการจัดสรรที่ดินในสถานที่ที่ก�าหนดไว้  รวมทั้งมีการให้ค�าปรึกษาและการแจ้งข้อมูล  การพิสูจน์รูปพรรณ  และ

                  การเคลื่อนย้ายบุคคลที่มีความต้องการเฉพาะ การให้ความช่วยเหลือในด้านสุขภาพ ฯลฯ รวมทั้งพัฒนาระบบติดตามผู้เดินทางกลับ
                  ถิ่นฐานเดิม อย่างไรก็ดี จากการสัมภาษณ์ผู้น�าชุมชนผู้ลี้ภัยบางค่าย พบว่าได้มีความพยายามของผู้ลี้ภัยที่จะเดินทางกลับประเทศมาตุภูมิ
                  โดยการสนับสนุนและคุ้มครองของกองก�าลังถืออาวุธชนกลุ่มน้อย แต่ผู้ให้สัมภาษณ์เหล่านี้ไม่ได้เอ่ยถึงบทบาทของ UNHCR แต่อย่างใด


                                ขั้นการด�าเนินการที่ ๔ การให้การสนับสนุนในการเดินทางกลับถิ่นฐานเดิมโดยสมัครใจ และการให้

                                ความช่วยเหลือในการกลับสู่ถิ่นฐานเดิม
                                ส�าหรับการด�าเนินการในขั้นนี้ UNHCR จะด�าเนินการในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๕๙-๒๕๖๐ ซึ่งจะประกอบด้วยการให้

                  ค�าปรึกษาและการตรวจสอบความสมัครใจ การพิสูจน์รูปพรรณ การออกเอกสารเดินทางกลับด้วยความสมัครใจ และการปรับปรุงบัตร
                  สมาร์ทการ์ดที่ได้ออกให้ในระหว่างการส�ารวจประชากร รวมทั้งการจัดท�าบันทึกการแพทย์ เพื่อเป็นข้อมูลและให้วัคซีนตามความจ�าเป็น
                  ก่อนการเดินทาง มีการจ่ายเงินให้แก่บุคคลที่ต้องการความคุ้มครองเฉพาะ และค่าใช้จ่ายในการเดินทางและการด�ารงชีวิตระหว่าง

                  การเดินทาง ที่ส�าคัญคือ การเตรียมจุดผ่านแดนและจุดรับรอง รวมทั้งพิธีการศุลกากรและการตรวจคนเข้าเมือง ตลอดจนการจัดตั้ง
                  “ศูนย์บริการครบวงจร” เพื่อรองรับผู้เดินทางกลับเพื่อให้ค�าปรึกษาและจ่ายเงินช่วยเหลือในการด�ารงชีพ และการมอบสิ่งของเครื่องใช้
                  ที่จ�าเป็น เช่น มุ้ง ชุดอนามัย โคมไฟ ชุดนักเรียน โทรศัพท์เคลื่อนที่ (เพื่อการโอนเงิน) เป็นต้น

                                UNHCR จะให้ความช่วยเหลือในลักษณะชุนชนในด้านต่าง ๆ เช่น ก) การให้ความคุ้มครอง รวมทั้งการจัดท�าเอกสาร
                  และออกเอกสารที่ดิน ข) การให้ความช่วยเหลือบุคคลที่มีความต้องการเฉพาะ ค) การให้ความคุ้มครองชุมชนเพื่อเสริมสร้างความ
                  สามารถในการด�าเนินการในท้องถิ่น ง) การด�ารงชีพ จ) การจัดการน�้า ระบบสุขาภิบาล สุขอนามัย ฉ) การจัดการทุ่น/กับระเบิด เป็นต้น



                                ขั้นด�าเนินการที่ ๕ การกลับคืนสู่ชุมชน ยุทธศาสตร์ของ UNHCR
                                ในขั้นด�าเนินการนี้ มุ่งเน้นไปที่การเชื่อมโยงซึ่งกันและกันของการด�าเนินการด้านสิทธิมนุษยชน การฟื้นฟู การพัฒนา
                  และการเสริมสร้างสันติสุข โดยค�านึงถึงความสามารถของหน่วยงานในท้องถิ่น และการด�าเนินการของรัฐในเรื่องการจัดการศึกษา

                  สุขภาพและการจัดการที่ดิน รวมทั้งการประเมินความต้องการการสร้างสันติภาพ การส่งเสริมบทบาทของ NGOs และ CSOs ให้ความ
                  ช่วยเหลือแก่ผู้ลี้ภัยที่เหลือที่อาจจะไม่สามารถ หรือไม่สมัครใจที่จะเดินทางกลับคืนสู่ถิ่นฐานเดิม โดยการให้เสรีภาพในการเดินทาง
                  ออกมาท�างานนอกค่ายผู้ลี้ภัย หากการเปลี่ยนแปลงในประเทศพม่า/เมียนมาร์จะเป็นการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความยั่งยืน อาจจะมีการ

                  ประกาศยุติการให้สถานะผู้ลี้ภัย





                           ๕. การเตรียมการเพื่อการ Re-integration ในด้านการศึกษา



                              ผู้ลี้ภัยในค่ายผู้ลี้ภัยที่คณะผู้วิจัยได้ศึกษาต่างมีครอบครัว และมีสมาชิกในครอบครัวที่ยังอยู่วัยเล่าเรียน ดังนั้น ค่ายผู้ลี้ภัย
                  ทุกแห่งจึงมีการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาล ประถมศึกษาและมัธยมศึกษาให้แก่เด็กนักเรียนในวัยต่างๆ โดยการสนับสนุนของ

                  เครือข่ายศาสนา โบสถ์และองค์กรเอกชนระหว่างประเทศที่รับผิดชอบในด้านการศึกษา ทั้งนี้  เพราะพื้นที่ค่ายผู้ลี้ภัยเป็นพื้นที่ที่อยู่นอก
                  ความรับผิดชอบของหน่วยงานด้านการศึกษาของฝ่ายไทย นักเรียนเหล่านี้ไม่สามารถเดินทางออกนอกค่าย เพื่อมาเรียนหนังสือในโรงเรียน
                  ของไทย ดังนั้น การจัดการศึกษาในค่ายผู้ลี้ภัยจึงได้รับความช่วยเหลือจากองค์กรเอกชนระหว่างประเทศที่ช่วยเหลือผู้ลี้ภัย ได้แก่ World

                  Education (WE) Taipei Overseas Peace Service (TOP) Right to Play จัดหาครูและครูอาสาสมัครและหาอุปกรณ์การศึกษา
                  เพื่อให้เด็กนักเรียนในค่ายผู้ลี้ภัยได้รับการศึกษาตามสมควร  แต่ปัญหาส�าคัญที่ด�ารงอยู่ก็คือ  การศึกษาในค่ายผู้ลี้ภัยไม่ได้รับการรับรอง




 66                                                                                                                  67
 ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว               ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85