Page 81 - รายงานวิจัย เรื่อง ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
P. 81

บทที่ ๔








































               วุฒิการศึกษา (Accreditation) จากกระทรวงศึกษาธิการของประเทศพม่า/เมียนมาร์และประเทศไทย นักเรียนที่เรียนจบการศึกษา

               จากโรงเรียนระดับมัธยมปลายจากค่ายผู้ลี้ภัยจึงไม่สามารถใช้วุฒิการศึกษาในการสมัครเรียนต่อหรือสมัครเข้าท�างานได้ นอกเสียจาก
               จะต้องเข้าเรียนต่อในระดับ Post-ten และสมัครสอบ General Education Development (GED) หรือติดต่อเรียนทางไกลกับ
               มหาวิทยาลัยในต่างประเทศ การศึกษาจึงเป็นส่วนหนึ่งของความวิตกกังวลของผู้ลี้ภัย มีรายงานว่านักเรียนระดับประถมศึกษา จาก

               Migrant  School  ประมาณร้อยละ  ๗-๑๐  มาจากค่ายผู้ลี้ภัย  ที่เดินทางกลับประเทศพม่า/เมียนมาร์เพื่อสอบวัดผลในโรงเรียน
               ตามมาตรฐานของรัฐบาลพม่า/เมียนมาร์  แต่นักเรียนเหล่านี้มักจะไม่ผ่านการสอบ  ทั้งนี้  เนื่องจากมีข้อจ�ากัดในความรู้ด้านภาษาพม่า

               นักเรียนเหล่านี้สามารถพูดและอ่านเขียนได้ แต่ยังไม่อยู่ในระดับที่ดีพอที่จะผ่านการทดสอบ ส่วนนักเรียนบางกลุ่มเริ่มเห็นถึงความ
               จ�าเป็นที่จะต้องเข้าเรียนในโรงเรียนในประเทศพม่า/เมียนมาร์  แต่เมื่อไปเรียนแล้วกลับไม่ประสบความส�าเร็จ  เพราะขาดความรู้พื้นฐาน
               ด้านภาษาและเผชิญกับปัญหารูปแบบการเรียนการสอนที่แตกต่างจากที่เคยเรียนจากโรงเรียนในค่ายผู้ลี้ภัย ยิ่งกว่านั้นนักเรียนเหล่านี้

               ยังต้องเสียค่าใช้จ่ายให้กับครูเพื่อการสอนพิเศษ จึงกลายเป็นภาระทางเศรษฐกิจ ท�าให้ต้องเดินทางกลับมาเรียนในค่ายผู้ลี้ภัยเหมือนเดิม
               ดังนั้น การเตรียมตัวกลับของนักเรียนเหล่านี้จึงต้องค�านึงถึงการถ่ายโอนการศึกษา และรวมไปถึงการจัดท�าให้การศึกษาในค่ายผู้ลี้ภัย
               ได้รับการรับรองคุณวุฒิการศึกษาจากรัฐบาลพม่า/เมียนมาร์ด้วย

                           องค์กรเอกชนระหว่างประเทศและ  KED  มองเห็นปัญหาดังกล่าว  จึงพยายามแสวงหาแนวทางในการแก้ปัญหาดังกล่าวนี้
               เพื่อให้เยาวชนสามารถ  Re-integrate  เข้ากับสังคมพม่า/เมียนมาร์  โดยแบ่งแผนงานด้านการศึกษาออกเป็นแผนงานระยะสั้นและ
               แผนงานระยะยาว  แผนระยะสั้น  เป็นการเตรียมโรงเรียนในฝั่งชายแดนพม่า/เมียนมาร์ในรัฐฉาน  รัฐคะยาห์  รัฐกะเหรี่ยงและรัฐมอญ

               ชื่อว่า Welcoming School เพื่อให้โรงเรียนเหล่านี้เตรียมตัวส�าหรับรับนักเรียนที่ต้องการกลับไปเรียนในระบบโรงเรียนของพม่า/เมียนมาร์
               โดยจัดท�าคู่มือเพื่อชี้แจงให้เข้าใจปัญหาของนักเรียนที่มาจากค่ายผู้ลี้ภัย  จัดให้มีการประชุมเพื่อพัฒนามาตรฐานข้อสอบในวิชาที่เกี่ยวกับ

               ภาษา  (ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาพม่า)  วิชาคณิตศาสตร์  และวิชาวิทยาศาสตร์  พร้อมทั้งริเริ่มโครงการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร
               ระหว่างโรงเรียนในค่ายผู้ลี้ภัยและในฝั่งประเทศพม่า/เมียนมาร์ และโครงการแลกเปลี่ยนนักเรียนเพื่อให้ครูและนักเรียนทั้งสองฝ่าย
               ได้รู้จักกันมากขึ้นและเข้าใจปัญหาของนักเรียนที่มาจากค่ายผู้ลี้ภัย การจัดท�าคู่มือนี้จะเป็นการช่วยป้องกันปัญหาคอรัปชั่นที่เกิดจาก







             68                                                                                                                                                                                                                             69
             ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว                                                                                                                           ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86