Page 75 - รายงานวิจัย เรื่อง ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
P. 75

บทที่ ๔







                             กรณีศาสนาพุทธนั้น พบว่ามีปัญหาที่แตกต่างไปกล่าวคือ เมื่อสอบถามตัวแทนศาสนาพุทธในค่ายผู้ลี้ภัยบ้านนุโพ
               ได้รับข้อคิดเห็น ข้อกังวล ดังนี้ “ส�าหรับพระสงฆ์เมื่อกลับไปแล้วจะต้องกลับไปในแบบผู้อพยพ ความเป็นอยู่ในช่วงแรก ๆ นั้นค่อนข้าง
               อยู่ล�าบากในเรื่องของที่พักอาศัยด้วย และการท�ากิจวัตรของพระสงฆ์ค่อนข้างล�าบากในระยะแรก ในวัดจะมีการสอนหนังสือส�าหรับ

               เด็กเล็ก ๆ และส�าหรับสามเณร ถ้ากลับไปก็จะมีปัญหา ปัญหาส่วนใหญ่ก็จะเป็นแบบนี้ ก็คือในเรื่องของวัดในเรื่องของการท�ากิจวัตรต่าง ๆ
               ของพระสงฆ์ และหลาย ๆ อย่างที่เกี่ยวกับทางศาสนา”




                        ๒. การเตรียมการส่งกลับโดยผู้ลี้ภัย
                           หรือที่ UNHCR เรียกว่า Spontaneous Repatriation


                           แม้ว่าจะมีข้อกังวลดังกล่าวข้างต้น แต่ผู้ลี้ภัยก็มิได้นิ่งดูดาย พวกเขาได้พยายามหาทางช่วยเหลือตนเอง แสวงหาโอกาส
               ที่ดีของชีวิตภายใต้ข้อจ�ากัดที่มากมาย  จากการเก็บข้อมูลพบว่า  ผู้ลี้ภัยแต่ละแห่งมีการเตรียมตัวที่แตกต่างกัน  มีทั้งการเตรียมตัวแบบ

               ปัจเจกและเตรียมการส่งกลับร่วมกัน


                           ก. การเตรียมตัวแบบปัจเจก

                             พบว่า  ผู้ลี้ภัยโดยส่วนใหญ่ได้มีการเดินทางกลับไปเยี่ยมบ้านเกิดเมืองนอนเป็นระยะ  เพื่อดูว่าพื้นที่ที่ตนเองอาศัยอยู่
               นั้นถูกใครครอบครอง  มีความปลอดภัยมากพอหรือไม่  ในช่วงปี  พ.ศ.  ๒๕๕๖  ที่เริ่มมีการลดอาหารปันส่วน  และสถานการณ์ข่าวลือ

               การส่งกลับที่ได้ยินบ่อยขึ้น ท�าให้ผู้ลี้ภัยเริ่มเตรียมการบางอย่าง ดังกรณีตัวอย่างต่อไปนี้

                             พือ (ภาษากะเหรี่ยง หมายถึง ลุง) มาอาศัยที่ค่ายผู้ลี้ภัยบ้านนุโพ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ปัจจุบันอายุ ๗๐ ปี เป็น
               ผู้น�าด้านศาสนา  ภรรยาใช้เวลาว่างทอผ้า  มีลูก  ๑๒  คน  ชาย  ๑๐  คน  หญิง  ๒  คน  ปัจจุบันย้ายไปอยู่สหรัฐอเมริกาจ�านวน  ๕  คน

               ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๐๐๘  ไปอยู่ออสเตรเลีย ๑ คน เสียชีวิตไป ๔ คน อยู่ที่นี่ ๒ คน ลูกชาย ๑ ใน ๔ ที่เสียชีวิตเนื่องจากถูกทหารกองก�าลัง
               DKBA  ยิงและเสียชีวิต  ตอนอยู่ที่ประเทศพม่า/เมียนมาร์  ลูกที่ถูกส่งไปประเทศที่สาม  ต่างคนต่างกระจัดกระจายไม่ได้อยู่ด้วยกัน
               พืออยากไปอยู่สหรัฐฯ  แต่ต้องอยู่ในเงื่อนไขว่าได้อยู่ที่เดียวกับลูก  พือมีบัตร  UN  ที่ก�าลังรอเดินทางไปประเทศที่สาม  แต่พือรู้สึกว่า

               มีขั้นตอนอยู่มากคือต้องไปตรวจร่างกาย ตรวจสุขภาพหลายครั้ง ต้องรอ รอ รอ รอ เหมือนไม่รู้ว่าจะมาเมื่อไหร่ “การรอคอยเหมือน
               ท�ากับข้าว มีกระบวนการหลายอย่างกว่าที่จะได้อาหารมา ต้องไปตลาดหาซื้ออาหาร ใส่พริก ใส่เกลือ ใส่อะไรต่างๆ ลงไปก็ไม่ได้รสชาติ

               ที่ต้องการสักที” ลูกชายบางคนบอกว่า อยากให้ไปอยู่ประเทศที่สามแต่บางคนไม่อยากให้ไป พือคิดว่า ถ้าพือไปประเทศที่สามก็ไปอยู่
               ด้วยกันกับลูก ถ้าไม่ได้อยู่ด้วยกันก็ไม่ไป พือจะอยู่ที่เมืองไทย ถ้าที่นี่ไล่ก็จะกลับไปบ้านในประเทศพม่า แต่ถ้าไม่ไล่ก็อยู่ที่นี่ พือมีที่ดิน
               อยู่ในประเทศพม่า ๓ เอเคอร์ (บ้านเดิม) ปลูกผลไม้หลายอย่างเช่น ทุเรียน กล้วย มะพร้าว หมาก กาแฟ ปลูกข้าวด้วย อยู่ในความ

               รับผิดชอบของกองก�าลัง KNU ๖ โดยพือนั่งรถไปประมาณ ๕๐ บาท แล้วเดินไป ๑ ชั่วโมง ทุกวันนี้พือจะไปเอาผัก ปลา อาหารจากฝั่ง
               ประเทศพม่ามาแล้วก็กลับมา ถ้า พ.ศ. ๒๐๑๕ ไม่ให้อยู่ ก็กลับพม่าแล้ว ชาวบ้านสร้างบ้าน แต่ไปขอเลขที่บ้านจาก KNU บริเวณที่พือ
               ไปสร้างบ้านก็คือบ้านเดิมของพือ แต่ไปสร้างใหม่ ตอนนี้ลูกสองคนที่อยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยก็ได้ย้ายไปอยู่ที่ประเทศพม่าแล้ว

                             กรณีของพือนี้อาจจะเรียกได้ว่าเป็นผู้ลี้ภัยที่มีทางเลือก  กล่าวคือ  มีบัตร  UN  มีลูกที่ไปอยู่ประเทศที่สาม  มีที่ดินใน
               พื้นที่ประเทศพม่า/เมียนมาร์ และมีลูกชายช่วยท�าไร่ ท�านา อีกทั้งที่ดินนี้ก็ไม่ไกลจากค่ายผู้ลี้ภัยมากนัก จึงท�าให้สามารถเดินทางไปมา
               ได้สะดวก พือได้บอกว่ามีผู้ลี้ภัยในค่ายผู้ลี้ภัยจ�านวน ๑๐๐ กว่าคนที่มีวิถีชีวิตเช่นเดียวกับพือ คือ ได้เตรียมการส�าหรับการเดินทาง

               กลับไปประเทศพม่า/เมียนมาร์ด้วยตนเอง มีการเดินทางไปมาระหว่างไร่นาในประเทศพม่า/เมียนมาร์และค่ายผู้ลี้ภัย






             62                                                                                                                                                                                                                             63
             ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว                                                                                                                           ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80