Page 82 - รายงานวิจัย เรื่อง ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
P. 82
การเตรียมการส่งกลับ
การเรียกเก็บเงินค่าสอนพิเศษกวดวิชา นอกจากนี้ ยังได้สนับสนุนให้เกิดการปรับปรุงมาตรฐานการสอนรายวิชาและเนื้อหาของหลักสูตร
โดยการสร้างกลุ่มท�างานพัฒนาคุณภาพการศึกษาท้องถิ่น (Local Quality Assurance) ทั้งนี้ โดยได้เชิญเจ้าหน้าที่การศึกษาฝ่ายไทย
เป็นกรรมการที่ปรึกษา
ส่วนแผนงานระยะยาว ให้ความส�าคัญกับโครงการ Learning across Border โดยส่งเสริมการแลกเปลี่ยนข้อมูล
ข่าวสารระหว่างโรงเรียนทั้งสองฝ่ายเพื่อให้มีการประสานงานกันมากขึ้น รวมทั้งจัดท�าโครงการ Rural School Empowerment
Program ซึ่งเป็นความพยายามที่จะพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนในโรงเรียนชายแดน และโครงการ “พหุวัฒนธรรมในห้องเรียน”
ทั้งนี้ เพื่อให้ครูและนักเรียนเข้าใจและยอมรับความแตกต่างทางวัฒนธรรมและชาติพันธุ์ ซึ่งเป็นประเด็นที่มีความละเอียดอ่อนในบริบท
ของสังคมพม่า/เมียนมาร์
ปัญหาส�าคัญในการเตรียมการส่งกลับของนักเรียนในค่ายผู้ลี้ภัย อยู่ที่นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการของทั้งสอง
ประเทศที่ไม่สามารถเข้าไปด�าเนินการสนับสนุน และพัฒนาระบบการศึกษาในค่ายผู้ลี้ภัยและยังขาดช่องทางการประสานงาน
อย่างเป็นทางการของทั้งสองฝ่าย ในการตรวจสอบมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนในค่ายผู้ลี้ภัย ในด้านการสอน เนื้อหาหลักสูตร
โดยเฉพาะการสอนภาษา (พม่าและอังกฤษ) คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สิ่งแวดล้อมและศิลปะตลอดจนการวัดผล เพื่อให้นักเรียน
ที่ได้รับการศึกษาจากโรงเรียนในค่ายผู้ลี้ภัยมีระดับความรู้ที่เป็นที่ยอมรับของทั้งสองฝ่าย ที่ผ่านมานักเรียนจากค่ายผู้ลี้ภัยต้องเดินทาง
ไปสอบเทียบในโรงเรียนในฝั่งพม่า/เมียนมาร์ และทางฝ่ายโรงเรียนฝั่งประเทศพม่า/เมียนมาร์ได้จัดให้มีการสอบเทียบในฝั่งไทย แต่ไม่
สามารถเข้าไปด�าเนินการในค่ายผู้ลี้ภัยได้
68 69
ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว