Page 72 - รายงานวิจัย เรื่อง ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
P. 72
การเตรียมการส่งกลับ
ประมาณเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ มีการเปลี่ยนแปลงในประเทศไทย คือ คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้ยึดอ�านาจ
การปกครอง หลังจากนั้นประมาณเดือนกรกฎาคมได้เกิดข่าวลืออีกครั้งหนึ่งในค่ายผู้ลี้ภัยว่า รัฐบาลไทยได้มีการเจรจากับรัฐบาลพม่า/
เมียนมาร์เกี่ยวกับการส่งผู้ลี้ภัยกลับประเทศต้นทาง โดยมีการส�ารวจประชากรในค่ายผู้ลี้ภัยน�าโดยทหารร่วมกับหน่วยงานระดับจังหวัด
ครั้งนี้ได้ก่อให้เกิดความหวาดกลัวต่อผู้ลี้ภัยอย่างมาก
สัญญาณเกี่ยวกับการส่งกลับประเทศพม่า/เมียนมาร์ได้ส่งถึงผู้ลี้ภัยเป็นระยะ ๆ แต่ก็มีข้อจ�ากัดในการตรวจสอบข้อมูลผู้ลี้ภัย
ได้แต่สังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในค่ายผู้ลี้ภัย กรณีเช่น การลดอาหารปันส่วนเหลือเพียง ๘ กิโลกรัมต่อคนต่อเดือน แม้ว่าทาง
TBC จะได้อธิบายว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับการส่งกลับ อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ต่าง ๆ นี้ท�าให้ผู้ลี้ภัยรู้สึกถึงความไม่มั่นคง รวมทั้งมีความ
ห่วงกังวลเกี่ยวกับอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การส่งกลับประเทศพม่า/เมียนมาร์ ผู้ลี้ภัยเองก็รู้สึกว่าตนเองไม่มีสถานะที่ชัดเจน เป็นผู้
ที่พึ่งพิงความช่วยเหลือจากรัฐไทยและองค์กรเอกชนระหว่างประเทศ การเรียกร้องสิ่งใดอาจจะมีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ หรือ
อาจจะถูกผลักดันให้กลับไปสู่ประเทศพม่า/เมียนมาร์ ทั้งที่สถานการณ์ต่าง ๆ ไม่เอื้ออ�านวยให้สามารถด�ารงชีวิตได้อย่างมีศักดิ์ศรีและ
ปลอดภัย
สถานการณ์ข้างต้นเหมือนกับเป็นสัญญาณแก่ผู้ลี้ภัยว่าจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในไม่ช้า นั่นคือ การส่งกลับ
ประเทศต้นทาง ซึ่งพวกเขายังมีข้อกังวลที่ท�าให้ยังไม่มีความพร้อมในการกลับไปยังประเทศพม่า/เมียนมาร์ ดังนี้
ก. สถานการณ์ทางการเมืองในประเทศพม่า/เมียนมาร์ที่ยังไม่เอื้ออ�านวยไปสู่สันติภาพอย่างแท้จริง
ผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่มีความหวาดระแวง ไม่ไว้วางใจกองทัพพม่า ซึ่งปัจจุบันทหารของกองทัพพม่าได้เข้ายึดครองใน
พื้นที่รัฐชาติพันธุ์ ตั้งเป็นฐานปฏิบัติการกระจายตามจุดต่างๆ ในรัฐกะเหรี่ยง และรัฐคะเรนนีมากขึ้น (Militarization)
ซอมอร์ท ชาวกะเหรี่ยงมาอยู่ที่ค่ายผู้ลี้ภัยนี้ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ปัจจุบันท�างานให้กับ CSO ได้ให้
ข้อคิดเห็นว่า “เป็นสิ่งที่ยากไปที่จะเลือก การที่มาอยู่ที่นี่มีบางคนไปแต่งงานนอกหมู่บ้าน ถึงแม้ว่าคนภายในค่ายผู้ลี้ภัยก็มีพี่น้องอยู่ตาม
ที่ต่าง ๆ และเมื่อกลับไปพม่า ก็ไม่มีความปลอดภัย เพราะแต่ละคนก็มีความฝังใจต่อสิ่งที่ได้รับมา ไม่มีความมั่นใจต่อความปลอดภัยที่
จะได้รับ แม้ว่าจะถูกรับรอง ก็จะถูกหาเรื่องด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่งแน่นอน พวกเขาพยายามฝึกอาชีพเพื่อจะไปประเทศที่สาม การจะ
กลับไปมีเป็นส่วนน้อยมาก ไม่มีความเป็นไปได้ส�าหรับค่ายนี้ คือ กลับไปไม่มีความปลอดภัยแน่ จะมีความกังวลตลอดไป จะกลายเป็นบ้า
กังวลว่าเขาจะท�าอะไรกับเราแบบไหน”
58 59
ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว