Page 74 - รายงานวิจัย เรื่อง ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
P. 74

การเตรียมการส่งกลับ





                  ผู้ลี้ภัยได้  อีกทั้งยังได้รับการต้อนรับและคุ้มครองจากกองก�าลัง  KNU  เป็นอย่างดี  ดังนั้น  การกลับไปตั้งถิ่นฐานในที่ดังกล่าวน่าจะ
                  มีความปลอดภัยสูง หัวหน้าค่ายถ�้าหินเคยกล่าวว่า “KNU ต้อนรับพวกเรากลับบ้านเสมอ นั่นคือ เราเป็นประชาชนของ KNU” ดังนั้น
                  ผู้ลี้ภัยมีความมั่นใจว่าจะได้รับการคุ้มครองดูแลจากกองก�าลัง KNU อย่างไรก็ตาม พวกเขาก็ยังยืนยันว่า จะต้องมีสันติภาพเกิดขึ้นใน

                  ประเทศพม่า/เมียนมาร์ก่อนจึงจะกลับบ้านเกิดเมืองนอน
                                กรณีที่สอง  พื้นที่ฝั่งชายแดนพม่า/เมียนมาร์บริเวณตรงข้ามกับอ�าเภออุ้มผาง  ทางปลัดอ�าเภออุ้มผาง  ได้รายงาน
                  การเตรียมการนี้เมื่อครั้งที่คณะอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง  ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  รับฟัง

                  ข้อคิดเห็นจากผู้ลี้ภัยเมื่อวันที่ ๑๕ กรกฏาคม ๒๕๕๘ ว่าได้เริ่มมีการส�ารวจพื้นที่รองรับ โดยการเตรียมพื้นที่ประมาณ ๓๐,๐๐๐ เอเคอร์
                  โดยทางปลัดอ�าเภออุ้มผาง  ซึ่งดูแลค่ายผู้ลี้ภัยนี้ได้กล่าวว่า  การจัดเตรียมพื้นที่รองรับนี้จะค�านึงถึง  ๕  ด้าน  คือ  ๑.  ความปลอดภัย
                  ๒. แหล่งน�้าที่เพียงพอ ๓. อาชีพ ได้ค�านึงถึงที่ท�ากินโดยจัดสรรให้ประมาณ ๕ เอเคอร์ หรือ ๑๕ ไร่ต่อครอบครัว ๔. ถนนหนทาง

                  ๕. โรงพยาบาล และโรงเรียน ซึ่งการเตรียมการนี้จะค่อย ๆ ทยอยให้ผู้ลี้ภัยที่สมัครใจกลับไปใช้ชีวิตที่นั่นก่อน หากสามารถอยู่ได้จะมี
                  ผู้ลี้ภัยคนอื่นทยอยกันเข้าไปอยู่ กรณีนี้ถือว่าเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยได้มีความคิดริเริ่มในการหาทางเลือกในการส่งผู้ลี้ภัยกลับ และเป็น

                  โครงการพัฒนาพื้นที่ชายแดนตามพระราชด�าริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
                                กรณีที่สาม กรณีผู้ลี้ภัยคะเรนนี จากค่ายผู้ลี้ภัยบ้านใหม่ในสอย ผู้น�า KnPP และ KnRC ได้เตรียมพื้นที่ไว้สองแห่ง
                  ส�าหรับผู้ลี้ภัยจะกลับไปตั้งถิ่นฐานใหม่ คือ พื้นที่บ้านแม่เส็ต และพื้นที่อีกแห่งหนึ่งที่เมืองชาดอว์ (Shadaw) พื้นที่ทั้งสองแห่งนี้มีศักยภาพ

                  ที่จะรองรับผู้ลี้ภัยในการตั้งถิ่นฐานใหม่ได้ แต่มีปัญหาความปลอดภัย เนื่องจากบริเวณดังกล่าวมีกองก�าลัง BGF ๔-๕ หน่วยอยู่
                  รายรอบกลุ่ม BGF เป็นกองก�าลังอิสระขนาดเล็กที่ขึ้นตรงต่อกองทัพพม่า แต่หารายได้จากการเก็บภาษีผ่านทาง ผู้ลี้ภัยเกรงว่าจะไม่มี

                  ความปลอดภัยนักหากอยู่ใกล้กองก�าลังเหล่านี้  อีกทั้งมีกับระเบิดอยู่  อย่างไรก็ตาม  ได้มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างเยาวชนใน
                  ค่ายผู้ลี้ภัยนี้กับเยาวชน  ที่เมืองลอยก่อ  รัฐคะเรนนีเพื่อให้มีความเข้าใจซึ่งกันและกัน  นอกจากนั้น  ยังมีกลุ่มนักธุรกิจที่สนใจจะพัฒนา
                  การท่องเที่ยวในรัฐคะยาห์นี้ด้วย



                              ค. ผู้ลี้ภัยที่นับถือศาสนาอิสลาม
                                มีเงื่อนไขที่น�าไปสู่ความห่วงกังวลมากกว่ากลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ คนกลุ่มนี้อาจจะเผชิญกับความยากล�าบากในการ
                  เดินทางกลับไปตั้งถิ่นฐานในประเทศพม่า/เมียนมาร์  โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีอิทธิพลของกลุ่มต่อต้านชาวมุสลิมในประเทศพม่า/เมียนมาร์

                  ดังเช่นชาวมุสลิมในค่ายผู้ลี้ภัยบ้านนุโพได้สะท้อนความเห็น ดังนี้
                                การอยู่ร่วมกันทุกอย่างก็ไม่มีปัญหา แต่เมื่อก่อนอยู่ที่แจะโดะ ซึ่งมันก็ไม่ได้อยู่ในเมืองของพม่า ก็จะมีการเผาบ้านเรือน
                  พอเผาเสร็จก็กลับไปอยู่ได้ แต่ตอนนี้มันไม่ใช่แบบนั้น เผาเสร็จแล้วก็มีชาวพม่ามาอยู่เลย แล้วถ้าจะกลับไป ถ้าเป็นพุทธนี่ง่ายหน่อย

                  เพราะเมื่อไปก็สร้างวัดก็อยู่ได้แล้ว แต่ส�าหรับมุสลิมเขาห้ามสร้าง ก็ถ้าจะกลับไปก็ต้องไปนับถือศาสนาของเขา ดังนั้น ส�าหรับมุสลิม
                  ปัญหาค่อนข้างเยอะ หากจะกลับไปในตอนนี้ในพื้นที่ที่จากมาเมื่อก่อนที่เข้ามาอยู่ในพื้นที่ค่าย ก็ไม่ได้อยากอยู่ แต่พอมาอยู่แล้ว พบว่า

                  สิทธิในการแสดงออกทางศาสนาก็มี มันก็เลยท�าให้เกิดความรู้สึกว่าอยู่ตรงนี้แล้วได้รับการดูแล แล้วก็มีสิทธิในเรื่องศาสนา แต่ว่าถ้าจะ
                  ให้กลับไปในพื้นที่จัดสรร  ก็อยากรู้ว่าการจัดสรรพื้นที่ส�าหรับคนมุสลิมเองเป็นอย่างไร  เพราะรู้อยู่แล้วว่าหมู่บ้านที่จากมาไม่สามารถจะ
                  กลับไปที่นั่นได้ ถ้าไม่กลับไปเปลี่ยนไปนับถือศาสนาพุทธ ที่สุดแล้วหากจะมีการส่งกลับ ไม่อยากจะกลับไป อยู่คุกในประเทศไทยก็จะอยู่

                  ดีกว่าถ้าจะต้องให้อยู่ในหมู่บ้านที่เขาจากมา
                                นาซิม อายุ ๓๙ ปี ชายชาวโรฮิงญาผู้ที่ยังไม่มีครอบครัว นาซิมเล่าชีวิตของชาวโรฮิงญานั้นไม่ปลอดภัย เนื่องจาก

                  พวกเขาเป็นคนไร้รัฐ  เพราะความที่ชีวิตในพม่าของเขาถูกควบคุมจากระเบียบของรัฐ  ชีวิตของเขาไม่มีสิทธิในการท�างานและการเดินทาง
                  เขาจึงปรารถนาที่จะเดินทางไปประเทศที่สามเนื่องจากเขาต้องการพื้นที่ที่ปลอดภัยในประเทศที่สาม หรือไทยเพื่อที่จะได้ท�างานและ
                  พึ่งพาตัวเองได้





 60                                                                                                                  61
 ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว               ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79