Page 78 - รายงานวิจัย เรื่อง ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
P. 78
การเตรียมการส่งกลับ
จากกรณีตัวอย่างข้างต้นและจากการสัมภาษณ์ตัวแทน CSOs มีข้อสังเกตว่า ผู้ลี้ภัยยังไม่มีส่วนร่วมในการเตรียมการ
ส่งกลับอย่างชัดเจน กลุ่มคนที่จะมีส่วนร่วมอยู่บ้าง คือ ผู้น�าของ KRC KnRC KWO KnWO หรือหัวหน้าค่ายผู้ลี้ภัยที่มีโอกาสรับรู้ข้อมูลและ
มีส่วนร่วมในการเตรียมการส่งกลับอยู่บ้าง อย่างไรก็ดี เสียงสะท้อนของผู้ลี้ภัยและ CSOs ได้หยิบยกปัญหาการไม่มีส่วนร่วมในการ
ส่งกลับผ่านสื่อภาพยนตร์สารคดี เรื่อง Nothing about us without us เป็นภาพยนตร์ที่สะท้อนถึงปัญหาการขาดการมีส่วนร่วมของ
ผู้ลี้ภัยและ “การมองไม่เห็นผู้ลี้ภัย” ในการส่งกลับประเทศตนเองอย่างชัดเจน ผู้ลี้ภัยได้เล่าให้ฟังว่า เมื่อพวกเขาไปถาม UNHCR และ
ทางการไทยเกี่ยวกับการส่งกลับประเทศที่สาม พวกเขามักจะได้รับค�าตอบว่า “ยังไม่ถึงเวลาที่จะพูดถึงการส่งกลับ” ทว่าเมื่อคณะ
ผู้วิจัยสอบถามจากผู้แทน UNHCR กลับพบว่าทาง UNHCR ได้มีการหารือเรื่องการส่งกลับกับรัฐบาลไทย และรัฐบาลพม่า/เมียนมาร์
ดังเห็นได้จาก road map ที่ได้ก�าหนดแผนการส่งผู้ลี้ภัยกลับประเทศต้นทาง โดยจ�าแนกออกเป็น ๓ ประเภท คือ ๑. การเดินทางกลับ
ด้วยตนเอง (Spontaneous Repatriation) ๒. การเดินทางกลับสู่ถิ่นฐานเดิมโดยมีการอ�านวยความสะดวก (Facilitated Repatria-
tion) ๓. การให้การสนับสนุนในการเดินทางกลับ (Promoted Repatriation) คาดว่าจะด�าเนินการแล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๖๐
๔. การวางแผนการส่งผู้ลี้ภัยกลับคืนสู่ประเทศต้นทาง โดย UNHCR
UNHCR ได้มีแผนยุทธศาสตร์ส�าหรับการเดินทางกลับมาตุภูมิของผู้ลี้ภัย โดยแบ่งแนวทางการส่งผู้ลี้ภัยกลับคืนสู่มาตุภูมิ
ออกเป็น ๓ รูปแบบ (ดู UNHCR 2015) คือ
ก. การเดินทางกลับด้วยตนเอง (Spontaneous Repatriation)
ซึ่งได้เกิดขึ้นแล้วโดยตัวผู้ลี้ภัยเอง โดยที่ UNHCR ไม่ได้รับแจ้งโดยตรง หรือไม่ได้รับความช่วยเหลือโดยตรง จาก
UNHCR ทั้งก่อนหรือระหว่างการเดินทางกลับกล่าวอีกอย่างหนึ่งการเดินทางกลับถิ่นฐานของผู้ลี้ภัยแบบนี้เป็นการเดินทางกลับโดย
สมัครใจของผู้ลี้ภัยเองและเป็นการเตรียมการโดยผู้ลี้ภัยเอง ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลที่ได้รับจากผู้ให้ข้อมูลส�าคัญเล่าให้คณะผู้วิจัยฟังว่า
การเดินทางกลับแบบนี้อาจจะเป็นการเดินทางไปมาระหว่างค่ายผู้ลี้ภัยกับถิ่นฐานเดิมที่ผู้ลี้ภัยมีที่ดิน หรือมีญาติพี่น้องที่สามารถพึ่งพาได้
รวมทั้งอาจจะมีเงินลงทุนจ�านวนหนึ่งที่สามารถเริ่มต้นท�าธุรกิจขนาดเล็กของตนได้
ข. การเดินทางกลับสู่ถิ่นฐานเดิมโดยมีการอ�านวยความสะดวก (Facilitated Repatriation)
การเดินทางกลับรูปแบบนี้ UNHCR จะอ�านวยความสะดวกในการจัดหาข้อมูลก่อนเดินทางกลับ ให้ความช่วยเหลือต่อ
บุคคลที่ต้องการความช่วยเหลือเฉพาะ ทั้งในระหว่างการเดินทางกลับและเมื่อกลับสู่ภูมิล�าเนาเป็นที่เรียบร้อย โดย UNHCR จะประเมิน
สถานการณ์ เพื่อก�าหนดบทบาทในการด�าเนินการและอ�านวยความสะดวก ขณะนี้ยังไม่มีกรณีตัวอย่างที่สามารถอ้างอิงได้ อย่างไรก็ดี
ผู้ลี้ภัยบางกลุ่มได้รับการช่วยเหลือในด้านข้อมูลข่าวสาร และคุ้มครองความปลอดภัยจากกองก�าลังถืออาวุธชนกลุ่มน้อย ดังกรณีของ
ผู้ลี้ภัยจากค่ายผู้ลี้ภัยบ้านถ�้าหิน หรือฝ่ายราชการไทยได้เตรียมการจัดหาพื้นที่ และประสานงานกับชุมชนที่อยู่ใกล้เคียง เช่น ในกรณี
ของค่ายผู้ลี้ภัยบ้านนุโพ
ค. การให้การสนับสนุนในการเดินทางกลับ (Promoted Repatriation)
ส�าหรับการเดินทางรูปแบบนี้ UNHCR จะให้ความช่วยเหลือเต็มรูปแบบ รวมถึงการสนับสนุนยานพาหนะส�าหรับ
เดินทางกลับ มอบเงินและอุปกรณ์ความช่วยเหลือเมื่อผู้ลี้ภัยเดินทางกลับชุมชน จะเกิดขึ้นเมื่อเงื่อนไขในการเดินทางกลับสู่ถิ่นฐานมี
ความเหมาะสม
64 65
ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว