Page 76 - รายงานวิจัย เรื่อง ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
P. 76
การเตรียมการส่งกลับ
ข. การจัดการส�ารวจความคิดเห็นเกี่ยวกับทางเลือกฯ ด้วยผู้ลี้ภัยเอง
กรณีค่ายผู้ลี้ภัยบ้านถ�้าหิน ผู้ลี้ภัยได้มีการส�ารวจความคิดเห็นเกี่ยวกับทางเลือกการส่งกลับด้วยตนเอง ในปี
พ.ศ. ๒๕๕๖ จากรายงานของ Karen News ว่าคณะกรรมการค่ายบ้านถ�้าหินได้ส�ารวจความคิดเห็นของผู้ลี้ภัยจ�านวน ๖,๑๙๕ คน
พบว่ามีผู้ลี้ภัยตอบว่าต้องการไปประเทศที่สาม ร้อยละ ๔๖ ต้องการกลับไปยังประเทศพม่า/เมียนมาร์ ร้อยละ ๒๗ และอีกร้อยละ
๒๗ ตอบว่าต้องการอยู่ชายแดนไทย-พม่า/เมียนมาร์ แม้ว่าค�าตอบจะบอกว่าต้องการกลับประเทศพม่า/เมียนมาร์ แต่พวกเขามีข้อแม้ว่า
14
ต้องมีสันติภาพที่แท้จริงเท่านั้นจึงจะกลับไป ในช่วงเดือนมิถุนายน ๒๕๕๘ คณะผู้วิจัยได้แลกเปลี่ยนกับผู้น�าค่ายบ้านถ�้าหิน พบว่า
การส�ารวจดังกล่าวนี้ เพราะพวกเขาต้องการตัดสินใจและเลือกวิธีการของพวกเขาเอง โดยค�านึงถึงเกียรติและศักดิ์ศรี (dignity) “เราจะ
กลับไปประเทศเราด้วยตัวเราเอง ไม่ใช่การบีบบังคับ” ดังนั้น การรับรู้ว่าผู้ลี้ภัยคิดเห็นอย่างไรจึงเป็นแนวทางหนึ่งของการเตรียมตัว
ส่งกลับโดยค�านึงถึงศักดิ์ศรี และสิทธิของผู้ลี้ภัย
การเตรียมการนี้ยังรวมไปถึงการสื่อสารกับกองก�าลังถืออาวุธชนกลุ่มน้อย คือ กองก�าลัง KNU แกนน�าค่ายผู้ลี้ภัย
บ้านถ�้าหินกล่าวถึงการเตรียมการส่งกลับไปยังประเทศพม่า/เมียนมาร์นั้น จ�าเป็นต้องสื่อสารกับ KNU ซึ่งดูแลควบคุมพื้นที่นั้น
การสื่อสารนี้เพื่อติดตามสถานการณ์ชายแดน การแสวงหาพื้นที่ส�าหรับการส่งกลับ ในกลุ่มผู้ลี้ภัยมีการจัดตั้งคณะกรรมการผู้พลัดถิ่น
ภายในชาติพันธุ์กะเหรี่ยง (Committee of Internally Displace Karen People: CIDKP) โดยคณะกรรมการฯ นี้จะร่วมกันประเมิน
สถานการณ์การส่งกลับว่าพื้นที่รองรับมีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด ผู้ที่อาศัยอยู่แล้วมีความคิดเห็นอย่างใด หากจะน�าผู้ลี้ภัยมา
อาศัยอยู่ร่วมในหมู่บ้านเดียวกันหรือละแวกใกล้เคียงกัน การส�ารวจเช่นนี้จึงมีความหมายว่า ผู้ลี้ภัยเองก็ต้องการจัดการตนเอง (Self
Determination) เป็นการค้นหาปัญหาและหาทางเลือกด้วยตนเอง จึงเป็นสิ่งที่องค์กรเอกชนระหว่างประเทศควรให้การสนับสนุน
อย่างยิ่ง
ค. ผู้ลี้ภัยยังมีการเตรียมการด้านทักษะด้านอาชีพ
โดยหวังว่าความรู้เหล่านี้สามารถน�าไปใช้ได้ในประเทศพม่า/เมียนมาร์ เมื่อพวกเขาได้กลับไปตั้งถิ่นฐานแล้ว
ทักษะอาชีพเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรเอกชนระหว่างประเทศ คือ ADRA ฝึกอบรมเกี่ยวกับช่างตัดผม ช่างไฟฟ้า ช่างทาสี
คอมพิวเตอร์ และการเกษตร การท�าเบเกอรี่ อย่างไรก็ตาม การฝึกทักษะอาชีพนี้ได้มีการท�ามาอย่างต่อเนื่องมิใช่เฉพาะช่วงนี้เท่านั้น
ซึ่งพบว่าหลังจากการฝึกอบรมแล้ว มีข้อจ�ากัดในการน�าไปปฏิบัติเพื่อหาเลี้ยงชีพ เพราะไม่สามารถออกไปรับจ้างภายนอกได้ หากให้
บริการในค่ายผู้ลี้ภัยก็มีลูกค้าไม่มากนักที่มีรายได้เพียงพอ เนื่องจากผู้ลี้ภัยต่างก็ไม่มีรายได้เช่นเดียวกัน
14 Karen News, กรกฎาคม ๒๕๕๖
62 63
ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว