Page 73 - รายงานวิจัย เรื่อง ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
P. 73
บทที่ ๔
อดีตทหารกองก�าลัง KNU คนหนึ่งได้ให้ข้อคิดเห็นว่า “รัฐบาลพม่าไม่มีความจริงใจ ข่าวที่ออกในประเทศพม่ามีความ
หลอกลวง ถ้าหากเราดูในสื่อ DVB จะเห็นตลอดว่ามีการจับกุมผู้น�า มีการวิเคราะห์สถานการณ์จะเกิดสงครามกลางเมืองแบ่งเป็น
สองฝ่ายคล้ายเสื้อเหลือง-แดงในประเทศไทย ฝ่ายหนึ่งจะถูกสนับสนุนโดยจีน อีกฝ่ายหนึ่งถูกสนับสนุนโดยอเมริกา ข่าวเรื่องนโยบาย
การส่งกลับของพม่าเป็นข่าวที่ไม่เป็นทางการ เป็นแค่ค�าพูดที่ต่อๆ กันมา ไม่มีความเป็นทางการ เชื่อถือไม่ได้ จากสถานการณ์ความ
รุนแรงชายแดน การสู้รบยังมีอยู่ ไม่มีความปลอดภัย ไม่สามารถกลับไปได้ในตอนนี้ และในตอนนี้ยังไม่ใช่เวลาที่จะกลับ โดยเฉพาะ
อย่างยิ่ง เรื่องการเตรียมที่รองรับผู้ลี้ภัย ในด้านการศึกษา ที่ดิน สาธารณสุข ความปลอดภัย ต้องมีความชัดเจนถึงสามารถกลับไปได้”
ผู้น�ากลุ่ม KnWO ได้ให้ข้อคิดเห็น ดังนี้ “การตอบค�าถามเกี่ยวกับความรู้สึก ความคิดเห็น ตอนนี้คนก็ยังไม่วางใจ
รัฐบาลพม่า แม้ว่า เต็ง เส่ง (หมายถึงประธานาธิบดีเมียนมาร์) จะพยายามให้เกิดและส่งเสริมประชาธิปไตยในประเทศพม่า แต่เขาก็
เป็นทหาร ซึ่งนั่นต้องติดตามว่าเป็นแค่การเปลี่ยนเสื้อให้เป็นแบบพลเรือน ผู้ส่งเสริมประชาธิปไตย แต่ร่างยังเป็นทหารอยู่ ซึ่งมีราก
ของปัญหาอยู่ที่รัฐธรรมนูญของพม่าฉบับ ๒๐๐๘ ดังนั้น หากว่าจะให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริงต้องกลับไปแก้รัฐธรรมนูญเสียก่อน
นี่แหละคือความกลัวของผู้น�าชาติพันธุ์ที่ไม่เห็นด้วย ซึ่งกังวลว่าอาจจะท�าให้รัฐบาลทหารกลับมามีบทบาทได้อีก เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่
ส�าคัญมากที่พวกเราคิดว่าน่าจะต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญนี้ก่อน รัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นเรื่องที่กล่าวถึงกันอย่างมากในค่าย และในพื้นที่
ของกลุ่มชาติพันธุ์ในพม่า”
เบธตี้ อายุ ๔๔ ปี หญิงชาวกะเหรี่ยงโปว์ ให้สัมภาษณ์ว่า “รัฐบาลพม่ายังไม่สามารถเชื่อใจได้เพราะขณะที่พวกเขา
เจรจาเรื่องสันติภาพกับกองก�าลัง KNU แต่อีกด้านหนึ่งพวกเขาก็สู้รบกับชาวคะฉิ่น” เบธตี้กล่าวต่อว่าเธอยังได้ยินข่าวเกี่ยวกับความ
ขัดแย้งทางศาสนาระหว่างชาวพุทธและมุสลิมในประเทศพม่าด้วย เธอคิดว่าความขัดแย้งนี้เกิดราวกับรัฐบาลพม่าจงใจราดน�้ามันลงบน
กองไฟ นั่นจึงท�าให้เธอยังไม่เชื่อใจรัฐบาลอย่างเต็มที่ เธอรู้สึกว่ายังไม่ปลอดภัยที่จะกลับประเทศพม่าไปในตอนนี้”
ข้อห่วงใยต่อการส่งกลับประเทศพม่า/เมียนมาร์นี้มีความสอดคล้องกับงานวิจัยที่ด�าเนินการโดยมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง
ซึ่งได้ข้อมูลว่า ข้อกังวลของผู้ลี้ภัยต่อการส่งกลับประเทศต้นทาง คือ การขาดความไว้วางใจรัฐบาลและกองก�าลังถืออาวุธชนกลุ่มน้อย
13
ถึงร้อยละ ๒๒ และร้อยละ ๑๙ ขาดความมั่นใจเกี่ยวกับกระบวนการสันติภาพที่ยังอยู่ในขั้นตอนการเจรจากันอยู่ ผู้ลี้ภัยบางคน
เป็นห่วงกังวลว่า หากการเจรจาสันติภาพไม่บรรลุเป้าหมาย และมีการต่อสู้ระหว่างกองก�าลังถืออาวุธชนกลุ่มน้อยกับทหารพม่าอีก
พวกเขาก็ต้องกลายเป็นผู้ลี้ภัยอีก จะต้องเป็นผู้ลี้ภัยซ�้าสอง และประเทศไทยจะรับพวกเขาให้กลับมาอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยหรือไม่ อย่างไร
ก็ตาม พวกเขาก็คิดว่าไม่อยากกลับมาเป็นผู้ลี้ภัยอีก
อนึ่ง จากบทสนทนาข้างต้นแสดงให้เห็นว่าผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่มีการติดตามสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงในประเทศพม่า/
เมียนมาร์อย่างใกล้ชิด และมีการวิเคราะห์ ประเมินสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง จึงท�าให้พวกเขาประเมินได้ว่าการกลับไปประเทศพม่า/
เมียนมาร์ในเวลานี้ยังไม่ใช่ช่วงเวลาที่เหมาะสม
ข. พื้นที่รองรับการส่งกลับ
ผู้ลี้ภัยจ�านวนมากตระหนักดีว่าไม่สามารถกลับไปในพื้นที่ที่ตนเองจากมาได้ พวกเขายินดีที่จะไปตั้งชุมชนใหม่
โดยจะต้องมีความเหมาะสมส�าหรับการเพาะปลูก การด�ารงชีวิต ที่ส�าคัญ คือ มีความปลอดภัย ไม่ถูกคุกคามจากทหารพม่าและทหาร
ชนกลุ่มน้อยเช่นในอดีต ปัจจุบันผู้น�าค่ายผู้ลี้ภัยหลายแห่งได้พยายามแสวงหาพื้นที่ที่มีที่ดินขนาดกว้างพอเพียงส�าหรับการตั้งถิ่นฐานใหม่
ของผู้ลี้ภัยร่วมกัน และมีความปลอดภัยที่เอื้อต่อการด�ารงชีพ เช่น
กรณีที่หนึ่ง กรณีพื้นที่ห่างจากชายแดนไทยประมาณ ๑๐ กม. ติดริมแม่น�้าทะนินยาริน (Tanintharyi) หรือ
ตะนาวศรีซึ่งอยู่ในเขตความรับผิดชอบของกองพลที่ ๔ ของกองก�าลัง KNU พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ป่าที่สามารถใช้เป็นที่ท�ากินของ
13 Mae Fah Laung Foundation, 2014
60 61
ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว