Page 71 - รายงานวิจัย เรื่อง ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว
P. 71
บทที่ ๔
การเตรียมการส่งกลับ
การเตรียมการเพื่อส่งผู้ลี้ภัยกลับประเทศของตนเอง จะต้องค�านึงถึงความปลอดภัย และความยั่งยืน ตลอดจนการได้รับ
ความคุ้มครองและสิทธิทางกฎหมาย เป็นประเด็นส�าคัญ ดังนั้น จึงต้องเข้าใจภูมิหลังทางสังคมการเมืองและจิตวิทยาของผู้ลี้ภัยด้วย
ประการแรก ต้องเข้าใจว่า ผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่เป็นชนกลุ่มน้อยที่มีความขัดแย้งกับรัฐบาลพม่า/เมียนมาร์มานานเกือบ ๖ ทศวรรษ
จนถึงกับมีองค์กรทางการเมืองและกองก�าลังของตนเอง รัฐบาลพม่า/เมียนมาร์มองว่า กองก�าลังถืออาวุธชนกลุ่มน้อยเหล่านี้เป็น
ผู้ก่อการร้าย (Insurgent) ที่ไม่ยอมจ�านนต่อรัฐบาลพม่า/เมียนมาร์
ประการที่สอง ผู้ลี้ภัยหลายคนยังมีความทรงจ�าที่ขมขื่น และเกลียดชังรัฐบาลและทหารพม่า ดังนั้น การส่งผู้ลี้ภัยกลับ
ประเทศของตน ไม่ได้หมายความว่า ผู้ลี้ภัยต้องการแค่ความมั่นคงในการด�ารงชีวิต หรือมีที่ดินท�ากินเท่านั้น แต่ยังมีบาดแผลที่เกิดจาก
การต่อสู้กับการประหัตประหารของกองทัพพม่าที่ยังอยู่ในความทรงจ�าของผู้ลี้ภัย
ประการที่สาม ผู้ลี้ภัยกลุ่มชาติพันธุ์มี “จินตนาการ” ว่าด้วยรัฐ รัฐชาติพันธุ์ และเป็นที่สงสัยว่า พวกเขาจะมี “จินตนาการ
แห่งชาติ” ร่วมกับพลเมืองของประเทศพม่า/เมียนมาร์หรือไม่
ประการที่สี่ การส่งผู้ลี้ภัยกลับประเทศพม่า/เมียนมาร์จึงจะต้องค�านึงถึงการให้อภัยและกระบวนการปรองดองแห่งชาติ และ
อัตลักษณ์ชาติพันธุ์ ผู้ลี้ภัยบางรายไม่อยากเดินทางกลับประเทศจนกว่าจะมี “สันติภาพอย่างแท้จริง” ส่วนใหญ่ไม่มีความ “เชื่อมั่น”
(Trust) ในค�าสัญญาของรัฐบาลพม่า/เมียนมาร์ พวกเขาไม่อยากกลับมาเป็นผู้ลี้ภัยชายแดนประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง
ประการที่ห้า ส�าหรับผู้ลี้ภัยที่เป็นเยาวชน หรือผู้ที่เกิดและเติบโตในค่ายผู้ลี้ภัย พวกเขาไม่มีจินตนาการเกี่ยวกับ “บ้าน” หรือ
“บ้านเกิดเมืองนอน” ของตน พวกเขาเป็นผู้ลี้ภัยที่ได้รับการศึกษา และรับรู้การเปลี่ยนแปลงของโลก ดังนั้น จึงมักจะไม่ประสงค์เดินทาง
กลับไปยังประเทศพม่า/เมียนมาร์ เพราะพวกเขาไม่มีความผูกพันกับประเทศพม่า/เมียนมาร์
อย่างไรก็ดี องค์กรเอกชนระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับผู้ลี้ภัยมองว่า ทัศนะเชิงลบของผู้ลี้ภัยที่มีต่อรัฐบาลพม่า/เมียนมาร์
และการน�าเหตุผลเกี่ยวกับความไม่วางใจต่อรัฐบาลพม่า/เมียนมาร์ นั้นเป็น “การเมืองของการส่งกลับ” ที่ท�าให้แผนการส่งผู้ลี้ภัยมีความ
สลับซับซ้อนเกินความจ�าเป็น
๑. ข้อห่วงกังวลของผู้ลี้ภัยต่อการส่งกลับประเทศพม่า/เมียนมาร์
ตั้งแต่หลังการเลือกตั้งครั้งล่าสุดเป็นต้นมา คือ ประมาณ ๔ ปีที่ผ่านมา ผู้ลี้ภัยได้ยินข่าวลือเกี่ยวกับการปิดค่ายผู้ลี้ภัย
เป็นระยะๆ ภายหลังการมาเยือนของนางออง ซาน ซูจี เมื่อวันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๕ โดยเธอได้เดินทางไปเยี่ยมค่ายผู้ลี้ภัยบ้านแม่หละ
การเดินทางครั้งนี้ท�าให้ชาวพม่าและชนกลุ่มน้อยจากประเทศพม่า/เมียนมาร์ที่อยู่ในประเทศไทยต่างมีความคาดหวังต่อสันติภาพที่
แท้จริงที่จะเกิดขึ้นในบ้านเกิดเมืองนอนของตนเอง เมื่อมีสันติภาพและความปรองดองเกิดขึ้น นั่นย่อมเป็นสัญญาณว่าประเทศพม่า/
เมียนมาร์จะรับประชาชนที่อยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยกลับประเทศ ในช่วงกลางปี พ.ศ. ๒๕๕๖ เริ่มมีโครงการวิจัยหนึ่งได้มีค�าถามเกี่ยวกับ
การส่งกลับไปประเทศต้นทาง ซึ่งแนวค�าถามนี้รวมทั้งการขาดความเข้าใจว่าการตอบค�าถาม โดยเลือกแนวทางใดแนวทางหนึ่ง เช่น
เลือกจะอยู่ที่นี่ หรือกลับประเทศพม่า/เมียนมาร์ หรือไปประเทศที่สาม จะมีผลกระทบต่อตนเองอย่างไร จึงท�าให้ผู้ลี้ภัยกังวลเกี่ยวกับ
ส่งกลับ หลังจากนั้น KRC ได้ชี้แจงกับผู้ลี้ภัยเกี่ยวกับโครงการนี้ ว่ามิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดันพวกเขากลับไปประเทศ และหากจะ
ต้องไปอยู่ที่หนึ่งที่ใดก็ล้วนมาจากการตัดสินใจของพวกเขาเอง
58 59
ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว